วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวคิดของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดเป็นการประเมินแนวใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปตามหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อที่อาจสรุปได้ ดังนี้(บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ ,2545: 21–27)
1. ไม่มีผู้เรียนกลุ่มใดจะใช้เป็นกลุ่มมาตรฐานให้ยึดถือเป็นมาตรฐานได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตน มีความถนัด ความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนและการประเมินจึงต้องสอดคล้องกับแต่ละบุคคลและแตกต่างกันไป
2. การประเมินทางตรงที่อิงการปฏิบัติด้วยเครื่องมือการประเมินที่หลากหลายจะสามารถประเมินความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมบูรณ์กว่า แม่นยำถูกต้องกว่า และได้ภาพพจน์ของความยุติธรรมมากกว่า
3. การให้ผู้เรียนจัดทำและรักษาปรับปรุงแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนซึ่งมีสารสนเทศจากการประเมินและทดสอบที่หลากหลาย จะสะท้อนภาพรวมทั่วไปของผู้เรียนได้ชัดเจน
4. การประเมินเป็นส่วนประกอบที่กลมกลืนกับหลักสูตร ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและตลอดหลักสูตรและการเรียนการสอนประจำวัน
5. การประเมินจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและคนอื่น ดังนั้นการประเมินผู้เรียนจึงต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ พ่อ แม่ เพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญ ทำให้กระบวนการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำ
6. หัวใจหลักของการประเมินคือ การประเมินผลวิธีการเรียนรู้ วิธีการคิดและวิธีการที่จะเป็นผู้มีสติปัญญา เป็นคนดี มีคุณธรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายเท่าที่จะทำได้
7. การประเมินกระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินเนื้อหาสาระหลักสูตร
8. ผู้เรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบและสามารถประเมินตนเองได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมในการวางแผนและการประเมินการเรียนรู้
9. หลักสูตรและเป้าหมายของสถานศึกษาถูกขับเคลื่อนโดยศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
10.การประเมินเพื่อแสดงความเจริญงอกงามของความรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างเชื่อถือได้จะใช้โค้งการแจกแจงคะแนนแบบรูปตัวเจ
11.นักการศึกษาใช้โมเดลพัฒนาการมนุษย์เพื่อความเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียน
12.ผู้เรียนแต่ละคนมีขั้นพัฒนาการที่ต่างกัน ดังนั้นการประเมินและทดสอบต้องเป็นแบบเฉพาะแต่ละบุคคลและมีความเหมาะสมกับพัฒนาการและให้สารสนเทศของวิธีการที่จะนำมาสอนผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีความสำเร็จมากขึ้น
13.การสร้างแบบประเมินและแบบทดสอบนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ประสิทธิภาพของเครื่องมือไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ถ้าการประเมินนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้
14.การประเมินเน้นการใช้เพื่อเพิ่มและเสริมกำลังใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลุ่มลึก และเพื่อขยายความสามารถของผู้เรียนให้ถ่ายโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงนอกระบบโรงเรียน
15.เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุง ดังนั้นงาน/กิจกรรมที่ใช้ประเมินจึงเปิดเผย ไม่เป็นความลับ
16.เป็นการเรียนรู้ที่เน้นที่สติปัญญา ความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของทักษะความคิด และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาหลักสูตรกับชีวิตจริง มีลักษณะเป็นพลวัต
17.ความก้าวหน้าทางวิชาการควรประเมินด้วยการนำการปฏิบัติที่อิงการวิจัยและเป็นปัจจุบันเข้ามาผสมผสานกับองค์ประกอบทางจิตวิทยาและด้านความคิด และความแตกต่าง ความต้องการของแต่ละบุคคล
18.การเรียนรู้เป็นเรื่องของดุลยพินิจของบุคคลที่จะรับรู้เข้าใจตนเองและโลกภายนอกซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ขยาย เจาะลึก และเสริมต่อ
19.การสอนที่ประสบความสำเร็จ คือการตระเตรียมผู้เรียน เพื่อมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นจะเน้นการประเมินเพื่อการเรียนการสอนมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตนอกห้องเรียนเข้าสู่ชีวิตประจำวัน

หลักการพื้นฐานสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้สามารถนำหลักการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นมาใช้ประโยชน์ได้ กล่าวคือ หลักการของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้วัดและประเมินควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินได้ชัดเจน เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสม ใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพ มีข้อมูลที่ดีและครอบคลุม แปลผลได้ถูกต้อง มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และใช้ผลการวัดและประเมินให้คุ้มค่า แต่อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวนี้เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและเครื่องมือของการวัดและประเมินผลมากกว่าตัวบุคคล และกระบวนการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หากพิจารณาถึงการจัดการศึกษาตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว จะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของมาตราที่ 26 ในวรรคหนึ่งระบุว่า ให้สถานศึกษาจัดการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบ การศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ในเรื่องนี้ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2543: 27–38) ได้นำเสนอหลักการของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
1. ต้องการความคิดที่ชัดเจนและสื่อสารเข้าใจ หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนต้องมีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของความสำเร็จทางวิชาการในชั้นเรียน กล่าวคือ การที่จะบอกว่าผู้เรียนคนใดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากน้อยเพียงใดนั้น ผู้สอนไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะแต่เพียงปริมาณของจุดหมายของผลสัมฤทธิ์ที่นิยามการใช้คะแนนบอกผลการประเมินเท่านั้น จำเป็นต้องทราบว่าตัวเลขไม่ใช่วิธีการเพียงวิธีเดียวในการบอกความหมายของผลสัมฤทธิ์ เราสามารถใช้คำ ภาพ การแสดง ตัวอย่างและวิธีการอื่น ๆ ในการสื่อความหมายของผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ตัวผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบได้
2. ต้องเป็นการประเมินในระดับชั้นเรียน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรเป็นการประเมินระดับชั้นเรียนที่สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าเป็นการประเมินมาตรฐานความรู้ระดับกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เนื่องจากการประเมินที่กล่าวมานี้เป็นการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน ผลการดำเนินการของผู้สอนที่ทำการประเมินควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้เรียน ผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบการประเมินเพื่อให้สถานศึกษานั้น ๆ มีประสิทธิภาพ
3. ผู้ใช้ผลการประเมินที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียน หลักการนี้กล่าวว่า สารสนเทศของการประเมินในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นหลักฐานความสำเร็จของผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากผู้สอนได้ทำการประเมินในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นที่เป็นพลังอันสำคัญทำให้ผู้เรียนเห็นความสำเร็จของตนและคาดหวังความสำเร็จที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย
4. จุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมิน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้สอนจะต้องรู้และเข้าใจจุดหมายของการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับผู้เรียน จึงจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการประเมินนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
5. การประเมินเป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนจะต้องมีความคิดรวบยอดว่าการประเมินเป็นกระบวนการเดียวกับการเรียนการสอน การประเมินสามารถเป็นเครื่องมือของการสอนที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์งานที่ส่งผลต่อจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะทำการประเมินตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีมาตรฐาน
6. ต้องเข้าใจความรู้สึกส่วนบุคคล หลักการนี้กล่าวว่า เนื่องจากการประเมินเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดในลักษณะของปุถุชนที่สามารถเกิดความลำเอียงเข้าข้างตนเองและบุคคลที่รักได้ แต่ผู้สอนควรจะมีจุดยืนที่ต้องใช้วิธีการประเมินที่เป็นปรนัยให้มากที่สุด ควบคุมความลำเอียงที่เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวให้น้อยกว่าความคิดเห็นเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์การประเมินต้องมีคุณภาพ หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินที่มีคุณภาพสูงมีเกณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของการประเมินอยู่ 5 ประการ คือ จุดมุ่งหมายของการประเมินต้องชัดเจน จุดหมายของการเรียนการสอนต้องชัดเจน ใช้วิธีการที่เหมาะสม สุ่มตัวอย่างการปฏิบัติได้ดี และการประเมินต้องแม่นยำปลอดจากความลำเอียงและสิ่งที่บิดเบือน ผลของการประเมินที่เกิดจากการใช้มาตรฐานทั้ง 5 ประการนี้จะทำให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ตรงกับธรรมชาติของสิ่งที่มุ่งประเมินซึ่งถือว่าเป็นผลการประเมินที่มีคุณภาพนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

รายงานการวิจัย : ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการวิจัยสถาบัน ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1
ลักษณะผลงาน : การวิจัยการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้วิจัย : นายเสวก วงษ์เจริญผล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 จังหวัดตรัง
ปีพุทธศักราช : 2551

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความสนใจในการทำวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับปัญหาในการวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 3) เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนา การวิจัยสถาบัน ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาตรัง เขต 1 4) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาในการทำวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร ขนาดของสถานศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับสถิติการวิจัยสถาบัน การอบรมการทำวิจัยสถาบัน ประสบการณ์ในการทำวิจัยสถาบัน 5) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาการทำวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร ขนาดของสถานศึกษาการศึกษาเกี่ยวกับสถิติการวิจัยสถาบัน การฝึกอบรมการทำวิจัยสถาบัน ประสบการณ์ในการทำวิจัยสถาบัน 6) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 7) เพื่อศึกษาประโยชน์ของการวิจัยสถาบันตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรังเขต 1 โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 จำนวน 112 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ หาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นการศึกษาตรัง เขต 1 ส่วนใหญ่มีความสนใจในการทำวิจัยสถาบัน โดยมีความสนใจในการทำวิจัยสถาบัน กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มงานบริหารทั่วไป และ กลุ่มบริหารงานงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์นำผลการวิจัยสถาบันไปใช้ เพื่อการบริหารสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน เพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 มีเหตุผลในการทำวิจัยสถาบัน เพื่อแกปัญหาต่างๆในโรงเรียน เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ และเพื่อปรับปรุง การเรียนการสอน
2. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 มีปัญหาการวิจัยสถาบันโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ระดับปัญหาจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือด้านความรู้ ด้านแหล่งวิชาการ และ ด้านการสนับสนุน ด้านที่มีระดับปัญหาน้อยที่สุด ด้านวัสดุอุปกรณ์ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร ขนาดของสถานศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับสถิติการวิจัยสถาบัน การอบรมการทำวิจัยสถาบัน ประสบการณ์ในการทำวิจัยสถาบันส่งผลต่อปัญหาด้านความรู้ ด้านแหล่งวิชาการ ด้านการสนับสนุน ในการทำวิจัยสถาบัน
3. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 มีความต้องการในการพัฒนาการวิจัยสถาบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความต้องการในการพัฒนาจากมากไปคือ ด้านแหล่งวิชาการ ด้านความรู้ และด้านการสนับสนุน ด้านที่มีระดับความต้องการในการพัฒนาน้อยที่สุด คือ ด้านเวลา วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร ขนาดของสถานศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับสถิติการวิจัยสถาบัน การอบรมการทำวิจัยสถาบัน ประสบการณ์ในการทำวิจัยสถาบัน ส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาการวิจัยสถาบันในด้านความรู้ ด้านแหล่งวิชาการ ด้านการสนับสนุน ในการทำวิจัยสถาบัน
4. การเปรียบเทียบระดับปัญหาในการทำวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี โดยรวมและรายด้านส่วนใหญ่ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการบริหาร สถานศึกษา ต่างกัน มีระดับปัญหาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาที่บริหารสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีปัญหาโดยรวมและรายด้านส่วนใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความรู้ และด้านเวลา ไม่แตกต่างกัน
5. การเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาการทำวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี โดยรวมและรายด้านมีความต้องการในการพัฒนาการวิจัยสถาบันไม่แตกต่างกัน 2) ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 ที่บริหารสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีระดับความต้องการในการพัฒนาการวิจัยสถาบันโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านเวลา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. รูปแบบการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจัยสถาบันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการในการพัฒนาและรูปแบบการพัฒนาตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ จัดหาวิทยากรที่มีความรูความสามารถในการพัฒนาและจัดทำนวัตกรรมมาให้ความรูและทดลองปฏิบัติจริง ฝึกการเขียนรายงานการวิจัยสถาบัน ฝึกวางแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน การวิจัยสถาบันในแต่ละขั้นตอน แนะนำวิธีการศึกษาเอกสารและทฤษฎีและงานวิจัยสถาบันที่เกี่ยวข้อง ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ค่าสถิติหลากหลายรูปแบบ ทัศนศึกษาดูงานของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำวิจัยสถาบัน ฝึกวิเคราะห์ปัญหาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป จัดหาเอกสารเสริมความรูและงานวิจัยสถาบันต่างๆมาให้บริการเพื่อสะดวกต่อการค้นคว้า จัดประชุม/สัมมนาเชิงปฏิบัติจริงในระดับกลุ่มสถานศึกษา จัดทำใบงานหรือสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิจัยสถาบันนำมาใช้ฝึกทดลอง/ปฏิบัติจริงตามเงื่อนไขต่างๆ จัดประชุม/สัมมนาเชิงปฏิบัติจริงในระดับสำนักงานเขตพื้นที่ จัดประชุม/สัมมนาเชิงปฏิบัติจริงในระดับสถานศึกษา
7. ประโยชน์ของการวิจัยสถาบัน 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การวิจัยสถาบันมีประโยชน์ต่อการแก้ ปัญหาของสถานศึกษาในหลาย ๆ ประการด้วยกัน โดยความคิดเห็นที่มีความถี่สูงใน 5ลำดับแรก ได้แก่ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสถานศึกษาได้ตรงจุด การพัฒนาสถานศึกษาให้ขับเคลื่อนโดยรูปแบบวิชาการบนพื้นฐานการวิจัย เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา พัฒนาการบริหารสถานศึกษาทั้งระบบ ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ชุมชนมีความภาคภูมิใจในการจัดการเรียนการสอนของครู 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การวิจัยสถาบันมีประโยชน์ต่อตัวผู้บริหารสถานศึกษาในหลาย ๆ ประการ โดยความคิดเห็นที่มีความถี่สูงใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ ได้พัฒนาตนเองในวิชาชีพและวิทยฐานะ ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษา ผู้บริหารได้รับการพัฒนาและพัฒนาตนเองในด้านการบริหาร มีหลักการ ทฤษฎี ในการบริหาร เป็นผู้นำด้านวิชาการและเป็นที่พึ่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถกำหนดทิศทางในการบริหารได้ถูกทางใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะ เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ทำวิจัยเป็นและแก้ปัญหาได้ ใช้เป็นเครื่องมือ ในการบริหารจัดการ 3 ) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การวิจัยสถาบันมีประโยชน์ต่อครู ในหลาย ๆ ประการ โดยความคิดเห็นที่มีความถี่สูงใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ แก้ปัญหาการจัด การเรียนการสอน พัฒนาการเรียนการสอน ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา ใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะ ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นครูมืออาชีพ พัฒนาตนในวิชาชีพครู มีขวัญกำลังใจในการทำงาน 4) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การวิจัยสถาบันมีประโยชน์ต่อนักเรียน ในหลาย ๆ ประการ โดยความคิดเห็นที่มีความถี่สูงใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สูงขึ้น นักเรียนมีความสุขในการเรียน นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน นักเรียนได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษา ได้รับการพัฒนาอย่างถูกทาง 5) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การวิจัยสถาบันมีประโยชน์ต่อวิชาชีพ ในหลาย ๆ ประการ โดยความคิดเห็นที่มีความถี่สูงใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ ครู ผู้บริหารมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและวิทยฐานะ เพิ่มวิทยฐานะของบุคลากรวิชาชีพได้รับการพัฒนาเน้นการพัฒนาวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน เป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของสังคม มีหลักฐานที่จะเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ประโยชน์ในการขอใบประกอบวิชาชีพ

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวคิดของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดเป็นการประเมินแนวใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปตามหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อที่อาจสรุปได้ ดังนี้(บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ ,2545: 21–27)
1. ไม่มีผู้เรียนกลุ่มใดจะใช้เป็นกลุ่มมาตรฐานให้ยึดถือเป็นมาตรฐานได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตน มีความถนัด ความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนและการประเมินจึงต้องสอดคล้องกับแต่ละบุคคลและแตกต่างกันไป
2. การประเมินทางตรงที่อิงการปฏิบัติด้วยเครื่องมือการประเมินที่หลากหลายจะสามารถประเมินความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมบูรณ์กว่า แม่นยำถูกต้องกว่า และได้ภาพพจน์ของความยุติธรรมมากกว่า
3. การให้ผู้เรียนจัดทำและรักษาปรับปรุงแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนซึ่งมีสารสนเทศจากการประเมินและทดสอบที่หลากหลาย จะสะท้อนภาพรวมทั่วไปของผู้เรียนได้ชัดเจน
4. การประเมินเป็นส่วนประกอบที่กลมกลืนกับหลักสูตร ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและตลอดหลักสูตรและการเรียนการสอนประจำวัน
5. การประเมินจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและคนอื่น ดังนั้นการประเมินผู้เรียนจึงต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ พ่อ แม่ เพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญ ทำให้กระบวนการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำ
6. หัวใจหลักของการประเมินคือ การประเมินผลวิธีการเรียนรู้ วิธีการคิดและวิธีการที่จะเป็นผู้มีสติปัญญา เป็นคนดี มีคุณธรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายเท่าที่จะทำได้
7. การประเมินกระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินเนื้อหาสาระหลักสูตร
8. ผู้เรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบและสามารถประเมินตนเองได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมในการวางแผนและการประเมินการเรียนรู้
9. หลักสูตรและเป้าหมายของสถานศึกษาถูกขับเคลื่อนโดยศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
10.การประเมินเพื่อแสดงความเจริญงอกงามของความรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างเชื่อถือได้จะใช้โค้งการแจกแจงคะแนนแบบรูปตัวเจ
11.นักการศึกษาใช้โมเดลพัฒนาการมนุษย์เพื่อความเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียน
12.ผู้เรียนแต่ละคนมีขั้นพัฒนาการที่ต่างกัน ดังนั้นการประเมินและทดสอบต้องเป็นแบบเฉพาะแต่ละบุคคลและมีความเหมาะสมกับพัฒนาการและให้สารสนเทศของวิธีการที่จะนำมาสอนผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีความสำเร็จมากขึ้น
13.การสร้างแบบประเมินและแบบทดสอบนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ประสิทธิภาพของเครื่องมือไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ถ้าการประเมินนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้
14.การประเมินเน้นการใช้เพื่อเพิ่มและเสริมกำลังใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลุ่มลึก และเพื่อขยายความสามารถของผู้เรียนให้ถ่ายโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงนอกระบบโรงเรียน
15.เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุง ดังนั้นงาน/กิจกรรมที่ใช้ประเมินจึงเปิดเผย ไม่เป็นความลับ
16.เป็นการเรียนรู้ที่เน้นที่สติปัญญา ความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของทักษะความคิด และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาหลักสูตรกับชีวิตจริง มีลักษณะเป็นพลวัต
17.ความก้าวหน้าทางวิชาการควรประเมินด้วยการนำการปฏิบัติที่อิงการวิจัยและเป็นปัจจุบันเข้ามาผสมผสานกับองค์ประกอบทางจิตวิทยาและด้านความคิด และความแตกต่าง ความต้องการของแต่ละบุคคล
18.การเรียนรู้เป็นเรื่องของดุลยพินิจของบุคคลที่จะรับรู้เข้าใจตนเองและโลกภายนอกซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ขยาย เจาะลึก และเสริมต่อ
19.การสอนที่ประสบความสำเร็จ คือการตระเตรียมผู้เรียน เพื่อมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นจะเน้นการประเมินเพื่อการเรียนการสอนมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตนอกห้องเรียนเข้าสู่ชีวิตประจำวัน

หลักการพื้นฐานสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้สามารถนำหลักการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นมาใช้ประโยชน์ได้ กล่าวคือ หลักการของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้วัดและประเมินควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินได้ชัดเจน เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสม ใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพ มีข้อมูลที่ดีและครอบคลุม แปลผลได้ถูกต้อง มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และใช้ผลการวัดและประเมินให้คุ้มค่า แต่อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวนี้เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและเครื่องมือของการวัดและประเมินผลมากกว่าตัวบุคคล และกระบวนการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หากพิจารณาถึงการจัดการศึกษาตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว จะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของมาตราที่ 26 ในวรรคหนึ่งระบุว่า ให้สถานศึกษาจัดการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบ การศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ในเรื่องนี้ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2543: 27–38) ได้นำเสนอหลักการของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
1. ต้องการความคิดที่ชัดเจนและสื่อสารเข้าใจ หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนต้องมีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของความสำเร็จทางวิชาการในชั้นเรียน กล่าวคือ การที่จะบอกว่าผู้เรียนคนใดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากน้อยเพียงใดนั้น ผู้สอนไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะแต่เพียงปริมาณของจุดหมายของผลสัมฤทธิ์ที่นิยามการใช้คะแนนบอกผลการประเมินเท่านั้น จำเป็นต้องทราบว่าตัวเลขไม่ใช่วิธีการเพียงวิธีเดียวในการบอกความหมายของผลสัมฤทธิ์ เราสามารถใช้คำ ภาพ การแสดง ตัวอย่างและวิธีการอื่น ๆ ในการสื่อความหมายของผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ตัวผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบได้
2. ต้องเป็นการประเมินในระดับชั้นเรียน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรเป็นการประเมินระดับชั้นเรียนที่สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าเป็นการประเมินมาตรฐานความรู้ระดับกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เนื่องจากการประเมินที่กล่าวมานี้เป็นการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน ผลการดำเนินการของผู้สอนที่ทำการประเมินควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้เรียน ผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบการประเมินเพื่อให้สถานศึกษานั้น ๆ มีประสิทธิภาพ
3. ผู้ใช้ผลการประเมินที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียน หลักการนี้กล่าวว่า สารสนเทศของการประเมินในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นหลักฐานความสำเร็จของผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากผู้สอนได้ทำการประเมินในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นที่เป็นพลังอันสำคัญทำให้ผู้เรียนเห็นความสำเร็จของตนและคาดหวังความสำเร็จที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย
4. จุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมิน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้สอนจะต้องรู้และเข้าใจจุดหมายของการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับผู้เรียน จึงจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการประเมินนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
5. การประเมินเป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนจะต้องมีความคิดรวบยอดว่าการประเมินเป็นกระบวนการเดียวกับการเรียนการสอน การประเมินสามารถเป็นเครื่องมือของการสอนที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์งานที่ส่งผลต่อจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะทำการประเมินตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีมาตรฐาน
6. ต้องเข้าใจความรู้สึกส่วนบุคคล หลักการนี้กล่าวว่า เนื่องจากการประเมินเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดในลักษณะของปุถุชนที่สามารถเกิดความลำเอียงเข้าข้างตนเองและบุคคลที่รักได้ แต่ผู้สอนควรจะมีจุดยืนที่ต้องใช้วิธีการประเมินที่เป็นปรนัยให้มากที่สุด ควบคุมความลำเอียงที่เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวให้น้อยกว่าความคิดเห็นเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์การประเมินต้องมีคุณภาพ หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินที่มีคุณภาพสูงมีเกณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของการประเมินอยู่ 5 ประการ คือ จุดมุ่งหมายของการประเมินต้องชัดเจน จุดหมายของการเรียนการสอนต้องชัดเจน ใช้วิธีการที่เหมาะสม สุ่มตัวอย่างการปฏิบัติได้ดี และการประเมินต้องแม่นยำปลอดจากความลำเอียงและสิ่งที่บิดเบือน ผลของการประเมินที่เกิดจากการใช้มาตรฐานทั้ง 5 ประการนี้จะทำให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ตรงกับธรรมชาติของสิ่งที่มุ่งประเมินซึ่งถือว่าเป็นผลการประเมินที่มีคุณภาพนั่นเอง

การวัดและประเมินผลภาษาอังกฤษ

การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้ระบุไว้ว่า สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน สถานศึกษาต้องมีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการวัดและประเมินทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนการประเมินภายนอก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา (กรมวิชาการ,2544: 24)

ลักษณะของการวัดและประเมินผล
การประเมินผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องระบุสิ่งที่มุ่งประเมินให้ชัดเจน ผู้ประเมินต้องทราบว่าผลการเรียนรู้ที่ต้องการประเมิน ประกอบด้วยคุณลักษณะ (Traits) ที่สำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม
2. เลือกเทคนิคการวัดให้เหมาะสม ผู้ประเมินต้องเลือกเครื่องมือ รูปแบบคำถามที่ใช้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะ หรือสมรรถภาพของผู้เรียน โดยเครื่องมือนั้นต้องให้ผลที่ถูกต้อง มีความเป็นปรนัยและสะดวกต่อการนำไปใช้
3. ควรใช้วิธีการวัดหลายอย่างประกอบกัน เนื่องจากเครื่องมือแต่ละชนิดมีข้อดี/ข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้ประเมินจึงควรเลือกใช้วิธีการวัดหลายอย่างให้ครอบคลุมผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน และต้องทำการวัดหลาย ๆ ครั้ง
4. ควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการวัดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การวัดคุณลักษณะใดก็ตามจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้ประเมินควรศึกษาถึงแหล่งของความคลาดเคลื่อนและพยายามขจัดให้เหลือน้อยที่สุด
5. ใช้สารสนเทศจากการประเมินสำหรับการตัดสินใจ การประเมินเป็นกระบวนการของการปรับปรุงและพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้น การประเมินมิได้สิ้นสุดเมื่อทราบผลการประเมิน แต่การประเมินมีความสำคัญอยู่ที่การนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจที่ดีในการจัดการศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

ประเภทของการวัดและประเมินการเรียนรู้
การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและการประเมิน ทำให้ผู้สอนได้สารสนเทศที่เป็นปรนัยและเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
การวัดและการประเมินในกระบวนการเรียนการสอนสามารถแบ่งเป็นประเภทตามขั้นตอนหรือช่วงเวลาของการดำเนินการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การวัดและประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน
2. การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
3. การวัดและประเมินหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน


การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่ การวัดและประเมินผลประเภทนี้สามารถจำแนกออกเป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้ากับการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้
1. การวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Formative Evaluation) เป็นการวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถหรือทักษะตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการสอนหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้วัดอาจเป็นแบบสอบประจำหน่วย แบบสอบย่อย การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อทำการปรับปรุงการเรียน และเป็นข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอน เพื่อทำการปรับปรุงการสอน ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดสามารถผ่านหรือไม่ผ่านจุดประสงค์ประจำหน่วย ถ้าทุกคนผ่านจะได้ทำการสอนหน่วยต่อไป แต่ถ้าบางคนไม่ผ่านจะได้ทำการสอนซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องให้มีการเรียนรู้ที่เติมเต็มที่ขาดหายไปทันทีหลังการสอน
2. การวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ (Diagnostic Evaluation) หลังจากจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของการเรียนรู้ระหว่างที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่แล้วถ้าหากจุดบกพร่องหรือความล้มเหลวของการเรียนรู้ยังคงมีอยู่ ซึ่งการสอนซ่อมเสริมไม่สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ก็ควรมีการศึกษาถึงอุปสรรคปัญหานั้นอย่างลึกซึ้ง โดยใช้แบบสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) แบบสอบชนิดนี้จะสร้างตามลำดับขั้นของตรรกศาสตร์ สำหรับการคิดที่ถูกต้องในการแก้ปัญหานั้นแล้วให้ผู้เรียนทำเพื่อสืบค้นถึงสาเหตุของปัญหา เพราะในเรื่องนั้นปัญหาอาจมีแหล่งที่เกิดแตกต่างกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนสิ่งแวดล้อม เนื้อหาวิชา ผู้สอน เป็นต้น โดยอาจมีการใช้เทคนิคการสังเกตและสัมภาษณ์ประกอบการสืบค้นปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้จะทำให้ทราบถึงสาเหตุแห่งปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถทำการปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด เช่น การปรับปรุงยุทธวิธีการสอน การหามาตรการสอนเสริม การจัดเรียบลำดับขั้นของเนื้อหาและวิธีการสอนทีเหมาะสม เป็นต้น
การประเมินระหว่างเรียนเป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตามผลการเรียนรู้ผู้คาดหวังในการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูได้วางแผนไว้หรือไม่ ทั้งนี้สารสนเทศที่ได้จากการประเมินไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ การประเมินผลระหว่างเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. วางแผนการเรียนรู้และการประเมินผลระหว่างเรียน ผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้และแนวทางการประเมินผลให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งในแผนการเรียนรู้ควรระบุภาระงานที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. เลือกวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมหลักที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ ทั้งนี้วิธีการประเมินที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการประเมินระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ ทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ตามที่ผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ วิธีการประเมินที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการประเมินระหว่างเรียน มีดังนี้
2.1 การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล ได้แก่
2.1.1 การถามตอบระหว่างทำกิจกรรมการเรียน
2.1.2 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เรียน
2.1.3 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
2.1.4 การสอบปากเปล่าเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติ
2.1.5 การอ่านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน
2.1.6 การตรวจแบบฝึกหัดและการบ้าน พร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ
2.2 การประเมินจากการปฏิบัติ
เป็นวิธีการประเมินที่ผู้สอนมอบหมายงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด การประเมินการปฏิบัติผู้สอนต้องเตรียมการในสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ภาระงานหรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติ (Tasks) 2) เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) วิธีการประเมินการปฏิบัติจะเป็นไปตามลักษณะงาน ดังนี้
2.2.1 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคล/กลุ่ม จะประเมินวิธีการทำงานตามขั้นตอนและผลงานของผู้เรียน
2.2.2 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จะประเมินด้วยวิธีการสังเกต จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้เรียน
2.2.3 การสาธิต ได้แก่ การให้ผู้เรียนแสดงหรือปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด เช่น การใช้เครื่องมือปฏิบัติงาน การทำกายบริหาร การเล่นดนตรี จะประเมินวิธีการและขั้นตอนในการสาธิตของผู้เรียนด้วยวิธีการสังเกต
2.2.4 การทำโครงงาน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้ผู้สอนต้องมอบหมายให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน ในทุกช่วงชั้น ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องกำหนดภาระงานในลักษณะของโครงงานให้ผู้เรียนปฏิบัติในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งใน 4 รูปแบบ ต่อไปนี้ โครงงานสำรวจ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานแก้ปัญหาหรือการทดลองศึกษาค้นคว้า และโครงงานอาชีพ วิธีการประเมินผลโครงงาน ควรประเมิน 3 ระยะ คือ
2.2.4.1 ระยะก่อนทำโครงงาน โดยประเมินความพร้อมการเตรียมการและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
2.2.4.2 ระยะทำโครงงาน โดยประเมินการปฏิบัติจริงตามแผนวิธีการและขั้นตอนกำหนดไว้ และการปรับปรุงงานระหว่างปฏิบัติ
2.2.4.3 ระยะสิ้นสุดการทำโครงงาน โดยประเมินผลงานและวิธีการนำเสนอผลการดำเนินโครงงาน
2.2.4.4 การกำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงาน สามารถทำได้ 3 แบบ คือ
1) โครงงานรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกปฏิบัติงานตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
2) โครงงานกลุ่ม เป็นการทำโครงงานขนาดใหญ่และซับซ้อน ต้องให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันหลายด้านช่วยกันทำ การประเมินโครงงานควรเน้นการประเมินกระบวนการกลุ่ม
3) โครงงานผสมระหว่างรายบุคคลกับกลุ่ม เป็นโครงงานที่ผู้เรียนทำร่วมกันแต่เมื่อเสร็จงานแล้ว ให้แต่ละคนรายงานผลด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่ม
การประเมินการปฏิบัติงานดังกล่าวมาข้างต้น ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติ เช่น
1. แบบวัดภาคปฏิบัติ
2. แบบสังเกตพฤติกรรม
3. แบบตรวจสอบรายการ
4. เกณฑ์การให้คะแนน เป็นต้น
2.3 การประเมินสภาพจริง
การประเมินสภาพจริงเป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน และเป็นองค์รวมมากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
วิธีการประเมินสภาพจริงไม่มีความแตกต่าง จากการประเมินจากการปฏิบัติเพียงแต่อาจมีความยุ่งยากในการประเมินมากกว่า เนื่องจากเป็นสถานการณ์จริง หรือต้องจัดสถานการณ์ให้ใกล้จริง แต่จะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมาก เพราะจะทำให้ทราบความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ว่ามีจุดเด่นและข้อบกพร่องในเรื่องใด อันจะนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงประเด็นที่สุด
2.4 การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน
การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยส่งเสริมให้การประเมินตามสภาพจริง มีความสมบูรณ์สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนมากขึ้น โดยการให้ ผู้เรียนได้เก็บรวบรวมผลงานจากการปฏิบัติจริง ทั้งในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มาจัดแสดงอย่างเป็นระบบโดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็น ความพยายาม เจตคติ แรงจูงใจ พัฒนาการ และสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน การวางแผนดำเนินการประเมินด้วยแฟ้มผลงานที่สมบูรณ์ จะช่วยผู้สอนให้สามารถประเมินจากแฟ้มสะสมงานแทนการประเมินจากการปฏิบัติจริงได้

การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp)

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่จัดขึ้นในเฉพาะห้องเรียนนั้น ไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษาให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดเตรียมประสบการณ์ นอกชั้นเรียนให้เกิดแก่ผู้เรียนด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ และความรู้ให้ม่ๆซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ และทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียน อันจะส่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น กิจกรรมที่จะสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดแก่ผู้เรียนได้กิจกรรมหนึ่งก็คือ กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง และในขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียน โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในบรรยากาศที่สนุกสนาน เช่น การใช้เกมต่าง ๆ เพลง หรือ บทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว

ความหมายของค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้จากเวลาเรียนปกติ

วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
การจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการสื่อสารกับเจ้าของภาษา มีการเรียนรู้จากการสังเกต สำรวจข้อมูล เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากสภาพจริง
2 ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ท้าทาย สนุก น่าสนใจ แปลกใหม่ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการตัดสินใจ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนากระบวนการสืบเสาะความรู้ และกระบวนการทางภาษา ด้วยการทำกิจกรรมหลากหลาย อิสระ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวความคิดหลักการทางการเรียนภาษา
5 ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะการสื่อสาร มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
6. ส่งเสริมความเป็นผู้นำความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสังคม

รูปแบบและช่วงเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษจัดได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการจัดค่ายแต่ละครั้ง อาจจัดค่ายที่บูรณการหลายกลุ่มสาระโดยใช้กิจกรรมภาษาอังกฤษเป็นแกนหลัก เช่น ค่ายเรียนรู้จากธรรมชาติ ค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หรือการจัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดให้มีการสนทนากับเจ้าของภาษาโดยการแบ่งเป็นฐานปฏิบัติการคล้ายกับฐานการเรียนรู้ของกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
การกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงชั้น และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเวลา อาจจัดได้หลากหลาย ในกรณีเด็กเล็ก ช่วงชั้นที่ 1-2 อาจจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 1 วัน ส่วนค่ายภาษาอังกฤษสำหรับช่วงชั้นที่ 3-4 ควรจัดค่ายอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน นักเรียนจะมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันได้ เช่นการสนทนาในยามเช้า การรับประทานอาหาร การทักทาย การกล่าวลา มีโอกาสในการออกกำลังกายตอนเช้า ใช้ชีวิตรวมกันในสังคม และได้มีการเรียนรู้ในกิจกรรมวิชาการและนันทนาการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก

ขั้นตอนสำคัญในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
ในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งมีภารกิจที่ต้องจัดทำเป็นรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างดีและรอบคอบ จะทำให้การจัดกิจกรรมค่ายประสบความสำเร็จ
1. สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจัดค่าย
1.1 ระดมความคิดเพื่อวางแผนจัดค่าย ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมกันหลายฝ่าย ก่อนจัดค่ายจึงควรประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทั้งจากโรงเรียนคือ ผู้บริหาร ครูผู้ สอน บุคลากรทางการศึกษาอื่น เพื่อวางแผน กำหนดรูปแบบ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของ การจัดค่าย ช่วงเวลาและสถานที่จัดค่าย
1.2 การกำหนดหัวข้อของค่าย จำเป็นที่จะต้องวางแผนล่วงหน้า เพื่อเป็น แนวทางในการเลือกสถานที่จัดค่าย เลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับหัวข้อรวมถึงการจัดหาวิทยากรเพิ่มเติม
1.3 สถานที่จัดค่ายภาษาอังกฤษ ควรเลือกสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก มีความปลอดภัย ถ้าเป็นค่ายค้างคืนต้องเลือกสถานที่ที่มีที่พักเพียงพอและสะอาด ที่สำคัญสถานที่จัดค่ายควรสอดคล้องกับหัวข้อเรื่องของค่าย ควรจัดในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ อาจเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชายทะเล อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ อาจจัดค่ายให้ใกล้แหล่งศึกษาดูงานที่จะใช้เป็นแนวคิดในการทำกิจกรรม
1.4 ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดค่าย ต้องสอดคล้องกับหัวข้อกิจกรรมค่ายและจัดให้ถูกฤดูกาล ช่วงที่เหมาะสมคือ ฤดูร้อน และฤดูหนาว ที่ไม่ใช่ในช่วงร้อนจัดหรือหนาวจัด และควรจัดในช่วงวันหยุด หรือระหว่างปิดภาคเรียน
2. เตรียมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมนันทนาการ หรืออาจมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยถ้ามีโอกาสทำได้
2.1 กิจกรรมวิชาการ
จัดได้หลากหลาย แต่ควรเป็นกิจกรรม ที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรปกติ กล่าวคือ กิจกรรมมีความน่าสนใจ สนุก ท้าทาย มีความอิสระทางความคิดพอสมควร เปิด โอกาสให้นักเรียนปฏิบัติมากที่สุด และให้นักเรียนทุกคนได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ กิจกรรมวิชาการที่จัดให้ค่ายภาษาอังกฤษ แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่
2.1.1 กิจกรรมสำรวจภาคสนาม นักเรียนจะมีโอกาสสัมผัสแหล่งเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเจ้าของภาษา
2.1.2 กิจกรรมแก้ปัญหา นักเรียนจะระบุคำถามหรือปัญหาตามความสนใจโดยใช้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ หรือสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากคำถามหรือปัญหาที่เรียนในชั้นเรียน
2.1.3 กิจกรรมคิดสร้างสรรค์ นักเรียนจะแสดงออกอย่างอิสระถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลผลิตของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะออกมาในชิ้นงานที่อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การฝึกใช้ภาษา การแสดงละครเป็นต้น
2.1.4 กิจกรรมการสื่อสาร เป็นกิจกรรมท้าทายที่นักเรียนจะมีโอกาสทำปฏิบัติที่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเรียนปกติเนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง บุคคล สถานการณ์ สถานที่ ฯลฯ
2.1.5 กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ การศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่น การได้พบปะสนทนากับเจ้าของภาษา


2.2 กิจกรรมนันทนาการ
จัดได้หลากหลาย กิจกรรมนันทนาการมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมความสามัคคี สร้างความเป็นกลุ่ม สร้างความเป็นผู้นำเพื่อการผ่อนคลาย กิจกรรมนันทนาการจัดแรกกิจกรรมวิชาการเป็นระยะ ๆ หรือจัดเป็นการนันทนาการโดยเฉพาะในภาคเช้าก่อนกิจกรรมค่ายหรือค่ำ ได้แก่
2.2.1 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2.2.2 เกมส์ต่าง ๆ และการแข่งขันที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาภาษาอังกฤษ เช่น เกมทายคำ walk Rally
2.2.3 การร้องเพลง
2.2.4 เล่นละคร
2.2.5 กิจกรรมชมภาพยนตร์ วีดิทัศน์สารคดีต่าง ๆ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม
2.2.6 กีฬาและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ
2.2.7 การแสดงรอบกองไฟ
2.3 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
นักเรียนอาจทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่สัมพันธ์กับสถานที่จัดค่าย เช่น ในกรณีจัดค่ายใกล้ชายทะเล สวนรุกขชาติ สวนสาธารณะ อาจจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม
3. จัดทำโครงการค่ายภาษาอังกฤษ การจัดกิจกรรมค่ายจะต้องเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โครงการค่ายประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ คือ หลักการเหตุผล และความสำคัญของการจัดค่าย วัตถุประสงค์ สถานที่ กิจกรรมวิชาการและกิจกรรมนันทนาการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย วิทยากร งบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดค่าย และกำหนดการจัดกิจกรรมค่ายที่แสดงรายละเอียดของแต่ละวัน
4. เตรียมบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ การจัดค่ายแต่ละครั้ง ควรระดมความร่วมมือจากครู ผู้บริหารบุคลากรต่าง ๆ ทำงานร่วมกันในค่ายโดยแบ่งความรับผิดชอบงานแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการค่ายภาษาอังกฤษ คณะกรรมการแต่ละฝ่ายอาจมีผู้แทนนักเรียนเป็นผู้ช่วย จำนวนของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายควรพิจารณาตามความเหมาะสมกับงานและจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย กรรมการฝ่ายต่าง ๆในค่ายได้แก่
4.1 ประธานและรองประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดค่ายภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายให้เป็นไปอย่างราบรื่น
4.2 กรรมการฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่เลือกสรรกิจกรรมวิชาการ จัดทำเอกสารกิจกรรมค่าย เอกสารคู่มือที่เสริมการทำกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม สำรวจสถานที่จัดค่าย ประสานกับสถานที่ศึกษาดูงาน จัดเตรียมแบบประเมินผลค่าย จัดหาวิทยากร และจัดหาพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นครูหรือผู้แทนนักเรียน
4.3 กรรมการฝ่ายนันทนาการ มีหน้าที่คิดและเลือกกิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสม จัดหาวิทยาการที่เชี่ยวชาญด้านนันทนาการ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ และของรางวัลสำหรับกิจกรรมนันทนาการ
4.4 กรรมการฝ่ายบริการ มีหน้าที่จัดหารสถานที่พัก (สำหรับค่ายค้างคืน) อาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำ –ห้องส้วม ยา และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยานพาหนะ จัดบุคคลดูแลความปลอดภัยและการเจ็บป่วยของนักเรียนในค่าย เรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องดูแลตั้งแต่เมื่อเดินทางไปเข้าค่าย ช่วงเวลาที่อยู่ค่ายและเดินทางกลับ
4.5 กรรมการฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ทำจดหมายติดต่อขออนุญาตผู้ปกครอง จดหมายประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำประกันอุบัติภัย ประชาสัมพันธ์กิจกรรมค่าย จัดทำเรื่องงบประมาณ จัดเตรียมวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร เตรียมของที่ระลึกสำหรับหน่วยงานหรือวิทยากรพิเศษ จัดบุคคลบันทึกภาพนิ่ง และ/หรือวีดิทัศน์
5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์เมื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายภาษาอังกฤษและกิจกรรมที่จะจัดในระหว่างอยู่ค่ายแล้ว แต่ละฝ่ายต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมตามที่จะต้องใช้ในกิจกรรม และจำนวนของอุปกรณ์ ควรมีเพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมได้แก่
5.1 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมวิชาการ
5.2 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมนันทนาการ
5.3 วัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริการ เช่น น้ำดื่ม ภาชนะบรรลุอาหาร และอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปฐมพยาบาล
6. เตรียมวางแผนเรื่องการแต่งกาย การเข้าค่ายภาษาอังกฤษแตกต่างจากการเรียนในเวลาปกติ เนื่องจากนักเรียนต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดจนถึงเวลาค่ำ ควรแต่งกาย ให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำกิจกรรม ในกรณี ที่เป็นค่ายค้างคืน นักเรียนต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวด้วย สิ่งที่ควรให้นักเรียนเตรียมการก่อนเข้าค่าย เช่น
- หมวก - ผ้าเช็ดตัว
- รองเท้าผ้าใบ - ยาประจำตัว
- เสื้อยืด - ของใช้ส่วนตัว
- กางเกงขายาว - สมุดบันทึก
- ชุดพลศึกษาและชุดนอน - ดินสอ ปากกา

7. ช่วงกิจกรรมค่าย ควรดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
7.1 จัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
7.2 กระตุ้นให้นักเรียนที่เข้าค่ายทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
7.3 ดูแลความเรียบร้อย ความปลอดภัยของนักเรียนในค่าย
7.4 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตัดสินใจในกรณีที่มีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
8. ประชุมกรรมการทุกฝ่ายร่วมกับผู้แทนนักเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขตามความจำเป็นและเหมาะสม
9. การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมค่าย ควรมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมค่ายดังนี้
9.1 ประเมินผลจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน โดยครูและนักเรียน
9.2 ประเมินผลการจัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ นันทนาการ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ จัดให้มีการประชุม และสังเกตขณะนักเรียนทำกิจกรรม
9.3 ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการทุกฝ่าย โดยใช้ข้อมูลจากความเห็นของนักเรียนและกรรมการ เพื่อพิจารณาข้อดี ข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข
9.4 การประเมินการจัดแสดงผลงานรวมของนักเรียนที่เข้าค่ายในวันปิดค่าย ซึ่งประเมินโดยครู นักเรียน และเชิญบุคลากรในชุมชนมาร่วมประเมินด้วย เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ(http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=302)

การจัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู

กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1 – 6) ได้กำหนดแนวทางให้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ (ERIC) ทั่วประเทศ จัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้มีทักษะการฟังและการพูด ให้ครูสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเพื่อให้ครูสอนภาษา อังกฤษสามารถเลือกใช้กิจกรรม เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด ของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ผู้เข้าค่ายทุกคนพักค้างคืน ณ สถานที่สำหรับการจัดค่ายตลอดหลักสูตร ใช้เวลาเข้าค่าย 7 – 10 วัน มีกิจกรรมรวม 80 ชั่วโมง เนื้อหาสาระ (Contents) ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน (Classroom Language) ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English for Everyday Use) และเนื้อหาเสริม (Additional Content) เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หรือความต้องการของครูที่เข้าค่าย

การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ

การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน

การจัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู

กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1 – 6) ได้กำหนดแนวทางให้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ (ERIC) ทั่วประเทศ จัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้มีทักษะการฟังและการพูด ให้ครูสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเพื่อให้ครูสอนภาษา อังกฤษสามารถเลือกใช้กิจกรรม เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด ของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ผู้เข้าค่ายทุกคนพักค้างคืน ณ สถานที่สำหรับการจัดค่ายตลอดหลักสูตร ใช้เวลาเข้าค่าย 7 – 10 วัน มีกิจกรรมรวม 80 ชั่วโมง เนื้อหาสาระ (Contents) ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน (Classroom Language) ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English for Everyday Use) และเนื้อหาเสริม (Additional Content) เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หรือความต้องการของครูที่เข้าค่าย

การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ

การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน