แนวคิดของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดเป็นการประเมินแนวใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปตามหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อที่อาจสรุปได้ ดังนี้(บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ ,2545: 21–27)
1. ไม่มีผู้เรียนกลุ่มใดจะใช้เป็นกลุ่มมาตรฐานให้ยึดถือเป็นมาตรฐานได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตน มีความถนัด ความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนและการประเมินจึงต้องสอดคล้องกับแต่ละบุคคลและแตกต่างกันไป
2. การประเมินทางตรงที่อิงการปฏิบัติด้วยเครื่องมือการประเมินที่หลากหลายจะสามารถประเมินความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมบูรณ์กว่า แม่นยำถูกต้องกว่า และได้ภาพพจน์ของความยุติธรรมมากกว่า
3. การให้ผู้เรียนจัดทำและรักษาปรับปรุงแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนซึ่งมีสารสนเทศจากการประเมินและทดสอบที่หลากหลาย จะสะท้อนภาพรวมทั่วไปของผู้เรียนได้ชัดเจน
4. การประเมินเป็นส่วนประกอบที่กลมกลืนกับหลักสูตร ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและตลอดหลักสูตรและการเรียนการสอนประจำวัน
5. การประเมินจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและคนอื่น ดังนั้นการประเมินผู้เรียนจึงต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ พ่อ แม่ เพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญ ทำให้กระบวนการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำ
6. หัวใจหลักของการประเมินคือ การประเมินผลวิธีการเรียนรู้ วิธีการคิดและวิธีการที่จะเป็นผู้มีสติปัญญา เป็นคนดี มีคุณธรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายเท่าที่จะทำได้
7. การประเมินกระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินเนื้อหาสาระหลักสูตร
8. ผู้เรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบและสามารถประเมินตนเองได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมในการวางแผนและการประเมินการเรียนรู้
9. หลักสูตรและเป้าหมายของสถานศึกษาถูกขับเคลื่อนโดยศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
10.การประเมินเพื่อแสดงความเจริญงอกงามของความรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างเชื่อถือได้จะใช้โค้งการแจกแจงคะแนนแบบรูปตัวเจ
11.นักการศึกษาใช้โมเดลพัฒนาการมนุษย์เพื่อความเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียน
12.ผู้เรียนแต่ละคนมีขั้นพัฒนาการที่ต่างกัน ดังนั้นการประเมินและทดสอบต้องเป็นแบบเฉพาะแต่ละบุคคลและมีความเหมาะสมกับพัฒนาการและให้สารสนเทศของวิธีการที่จะนำมาสอนผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีความสำเร็จมากขึ้น
13.การสร้างแบบประเมินและแบบทดสอบนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ประสิทธิภาพของเครื่องมือไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ถ้าการประเมินนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้
14.การประเมินเน้นการใช้เพื่อเพิ่มและเสริมกำลังใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลุ่มลึก และเพื่อขยายความสามารถของผู้เรียนให้ถ่ายโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงนอกระบบโรงเรียน
15.เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุง ดังนั้นงาน/กิจกรรมที่ใช้ประเมินจึงเปิดเผย ไม่เป็นความลับ
16.เป็นการเรียนรู้ที่เน้นที่สติปัญญา ความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของทักษะความคิด และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาหลักสูตรกับชีวิตจริง มีลักษณะเป็นพลวัต
17.ความก้าวหน้าทางวิชาการควรประเมินด้วยการนำการปฏิบัติที่อิงการวิจัยและเป็นปัจจุบันเข้ามาผสมผสานกับองค์ประกอบทางจิตวิทยาและด้านความคิด และความแตกต่าง ความต้องการของแต่ละบุคคล
18.การเรียนรู้เป็นเรื่องของดุลยพินิจของบุคคลที่จะรับรู้เข้าใจตนเองและโลกภายนอกซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ขยาย เจาะลึก และเสริมต่อ
19.การสอนที่ประสบความสำเร็จ คือการตระเตรียมผู้เรียน เพื่อมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นจะเน้นการประเมินเพื่อการเรียนการสอนมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตนอกห้องเรียนเข้าสู่ชีวิตประจำวัน
หลักการพื้นฐานสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้สามารถนำหลักการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นมาใช้ประโยชน์ได้ กล่าวคือ หลักการของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้วัดและประเมินควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินได้ชัดเจน เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสม ใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพ มีข้อมูลที่ดีและครอบคลุม แปลผลได้ถูกต้อง มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และใช้ผลการวัดและประเมินให้คุ้มค่า แต่อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวนี้เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและเครื่องมือของการวัดและประเมินผลมากกว่าตัวบุคคล และกระบวนการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หากพิจารณาถึงการจัดการศึกษาตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว จะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของมาตราที่ 26 ในวรรคหนึ่งระบุว่า ให้สถานศึกษาจัดการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบ การศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ในเรื่องนี้ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2543: 27–38) ได้นำเสนอหลักการของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
1. ต้องการความคิดที่ชัดเจนและสื่อสารเข้าใจ หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนต้องมีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของความสำเร็จทางวิชาการในชั้นเรียน กล่าวคือ การที่จะบอกว่าผู้เรียนคนใดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากน้อยเพียงใดนั้น ผู้สอนไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะแต่เพียงปริมาณของจุดหมายของผลสัมฤทธิ์ที่นิยามการใช้คะแนนบอกผลการประเมินเท่านั้น จำเป็นต้องทราบว่าตัวเลขไม่ใช่วิธีการเพียงวิธีเดียวในการบอกความหมายของผลสัมฤทธิ์ เราสามารถใช้คำ ภาพ การแสดง ตัวอย่างและวิธีการอื่น ๆ ในการสื่อความหมายของผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ตัวผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบได้
2. ต้องเป็นการประเมินในระดับชั้นเรียน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรเป็นการประเมินระดับชั้นเรียนที่สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าเป็นการประเมินมาตรฐานความรู้ระดับกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เนื่องจากการประเมินที่กล่าวมานี้เป็นการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน ผลการดำเนินการของผู้สอนที่ทำการประเมินควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้เรียน ผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบการประเมินเพื่อให้สถานศึกษานั้น ๆ มีประสิทธิภาพ
3. ผู้ใช้ผลการประเมินที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียน หลักการนี้กล่าวว่า สารสนเทศของการประเมินในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นหลักฐานความสำเร็จของผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากผู้สอนได้ทำการประเมินในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นที่เป็นพลังอันสำคัญทำให้ผู้เรียนเห็นความสำเร็จของตนและคาดหวังความสำเร็จที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย
4. จุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมิน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้สอนจะต้องรู้และเข้าใจจุดหมายของการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับผู้เรียน จึงจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการประเมินนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
5. การประเมินเป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนจะต้องมีความคิดรวบยอดว่าการประเมินเป็นกระบวนการเดียวกับการเรียนการสอน การประเมินสามารถเป็นเครื่องมือของการสอนที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์งานที่ส่งผลต่อจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะทำการประเมินตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีมาตรฐาน
6. ต้องเข้าใจความรู้สึกส่วนบุคคล หลักการนี้กล่าวว่า เนื่องจากการประเมินเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดในลักษณะของปุถุชนที่สามารถเกิดความลำเอียงเข้าข้างตนเองและบุคคลที่รักได้ แต่ผู้สอนควรจะมีจุดยืนที่ต้องใช้วิธีการประเมินที่เป็นปรนัยให้มากที่สุด ควบคุมความลำเอียงที่เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวให้น้อยกว่าความคิดเห็นเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์การประเมินต้องมีคุณภาพ หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินที่มีคุณภาพสูงมีเกณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของการประเมินอยู่ 5 ประการ คือ จุดมุ่งหมายของการประเมินต้องชัดเจน จุดหมายของการเรียนการสอนต้องชัดเจน ใช้วิธีการที่เหมาะสม สุ่มตัวอย่างการปฏิบัติได้ดี และการประเมินต้องแม่นยำปลอดจากความลำเอียงและสิ่งที่บิดเบือน ผลของการประเมินที่เกิดจากการใช้มาตรฐานทั้ง 5 ประการนี้จะทำให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ตรงกับธรรมชาติของสิ่งที่มุ่งประเมินซึ่งถือว่าเป็นผลการประเมินที่มีคุณภาพนั่นเอง
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การวัดและประเมินผลภาษาอังกฤษ
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้ระบุไว้ว่า สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน สถานศึกษาต้องมีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการวัดและประเมินทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนการประเมินภายนอก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา (กรมวิชาการ,2544: 24)
ลักษณะของการวัดและประเมินผล
การประเมินผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องระบุสิ่งที่มุ่งประเมินให้ชัดเจน ผู้ประเมินต้องทราบว่าผลการเรียนรู้ที่ต้องการประเมิน ประกอบด้วยคุณลักษณะ (Traits) ที่สำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม
2. เลือกเทคนิคการวัดให้เหมาะสม ผู้ประเมินต้องเลือกเครื่องมือ รูปแบบคำถามที่ใช้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะ หรือสมรรถภาพของผู้เรียน โดยเครื่องมือนั้นต้องให้ผลที่ถูกต้อง มีความเป็นปรนัยและสะดวกต่อการนำไปใช้
3. ควรใช้วิธีการวัดหลายอย่างประกอบกัน เนื่องจากเครื่องมือแต่ละชนิดมีข้อดี/ข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้ประเมินจึงควรเลือกใช้วิธีการวัดหลายอย่างให้ครอบคลุมผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน และต้องทำการวัดหลาย ๆ ครั้ง
4. ควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการวัดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การวัดคุณลักษณะใดก็ตามจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้ประเมินควรศึกษาถึงแหล่งของความคลาดเคลื่อนและพยายามขจัดให้เหลือน้อยที่สุด
5. ใช้สารสนเทศจากการประเมินสำหรับการตัดสินใจ การประเมินเป็นกระบวนการของการปรับปรุงและพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้น การประเมินมิได้สิ้นสุดเมื่อทราบผลการประเมิน แต่การประเมินมีความสำคัญอยู่ที่การนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจที่ดีในการจัดการศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ประเภทของการวัดและประเมินการเรียนรู้
การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและการประเมิน ทำให้ผู้สอนได้สารสนเทศที่เป็นปรนัยและเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
การวัดและการประเมินในกระบวนการเรียนการสอนสามารถแบ่งเป็นประเภทตามขั้นตอนหรือช่วงเวลาของการดำเนินการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การวัดและประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน
2. การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
3. การวัดและประเมินหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน
การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่ การวัดและประเมินผลประเภทนี้สามารถจำแนกออกเป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้ากับการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้
1. การวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Formative Evaluation) เป็นการวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถหรือทักษะตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการสอนหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้วัดอาจเป็นแบบสอบประจำหน่วย แบบสอบย่อย การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อทำการปรับปรุงการเรียน และเป็นข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอน เพื่อทำการปรับปรุงการสอน ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดสามารถผ่านหรือไม่ผ่านจุดประสงค์ประจำหน่วย ถ้าทุกคนผ่านจะได้ทำการสอนหน่วยต่อไป แต่ถ้าบางคนไม่ผ่านจะได้ทำการสอนซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องให้มีการเรียนรู้ที่เติมเต็มที่ขาดหายไปทันทีหลังการสอน
2. การวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ (Diagnostic Evaluation) หลังจากจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของการเรียนรู้ระหว่างที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่แล้วถ้าหากจุดบกพร่องหรือความล้มเหลวของการเรียนรู้ยังคงมีอยู่ ซึ่งการสอนซ่อมเสริมไม่สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ก็ควรมีการศึกษาถึงอุปสรรคปัญหานั้นอย่างลึกซึ้ง โดยใช้แบบสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) แบบสอบชนิดนี้จะสร้างตามลำดับขั้นของตรรกศาสตร์ สำหรับการคิดที่ถูกต้องในการแก้ปัญหานั้นแล้วให้ผู้เรียนทำเพื่อสืบค้นถึงสาเหตุของปัญหา เพราะในเรื่องนั้นปัญหาอาจมีแหล่งที่เกิดแตกต่างกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนสิ่งแวดล้อม เนื้อหาวิชา ผู้สอน เป็นต้น โดยอาจมีการใช้เทคนิคการสังเกตและสัมภาษณ์ประกอบการสืบค้นปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้จะทำให้ทราบถึงสาเหตุแห่งปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถทำการปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด เช่น การปรับปรุงยุทธวิธีการสอน การหามาตรการสอนเสริม การจัดเรียบลำดับขั้นของเนื้อหาและวิธีการสอนทีเหมาะสม เป็นต้น
การประเมินระหว่างเรียนเป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตามผลการเรียนรู้ผู้คาดหวังในการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูได้วางแผนไว้หรือไม่ ทั้งนี้สารสนเทศที่ได้จากการประเมินไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ การประเมินผลระหว่างเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. วางแผนการเรียนรู้และการประเมินผลระหว่างเรียน ผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้และแนวทางการประเมินผลให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งในแผนการเรียนรู้ควรระบุภาระงานที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. เลือกวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมหลักที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ ทั้งนี้วิธีการประเมินที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการประเมินระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ ทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ตามที่ผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ วิธีการประเมินที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการประเมินระหว่างเรียน มีดังนี้
2.1 การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล ได้แก่
2.1.1 การถามตอบระหว่างทำกิจกรรมการเรียน
2.1.2 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เรียน
2.1.3 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
2.1.4 การสอบปากเปล่าเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติ
2.1.5 การอ่านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน
2.1.6 การตรวจแบบฝึกหัดและการบ้าน พร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ
2.2 การประเมินจากการปฏิบัติ
เป็นวิธีการประเมินที่ผู้สอนมอบหมายงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด การประเมินการปฏิบัติผู้สอนต้องเตรียมการในสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ภาระงานหรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติ (Tasks) 2) เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) วิธีการประเมินการปฏิบัติจะเป็นไปตามลักษณะงาน ดังนี้
2.2.1 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคล/กลุ่ม จะประเมินวิธีการทำงานตามขั้นตอนและผลงานของผู้เรียน
2.2.2 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จะประเมินด้วยวิธีการสังเกต จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้เรียน
2.2.3 การสาธิต ได้แก่ การให้ผู้เรียนแสดงหรือปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด เช่น การใช้เครื่องมือปฏิบัติงาน การทำกายบริหาร การเล่นดนตรี จะประเมินวิธีการและขั้นตอนในการสาธิตของผู้เรียนด้วยวิธีการสังเกต
2.2.4 การทำโครงงาน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้ผู้สอนต้องมอบหมายให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน ในทุกช่วงชั้น ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องกำหนดภาระงานในลักษณะของโครงงานให้ผู้เรียนปฏิบัติในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งใน 4 รูปแบบ ต่อไปนี้ โครงงานสำรวจ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานแก้ปัญหาหรือการทดลองศึกษาค้นคว้า และโครงงานอาชีพ วิธีการประเมินผลโครงงาน ควรประเมิน 3 ระยะ คือ
2.2.4.1 ระยะก่อนทำโครงงาน โดยประเมินความพร้อมการเตรียมการและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
2.2.4.2 ระยะทำโครงงาน โดยประเมินการปฏิบัติจริงตามแผนวิธีการและขั้นตอนกำหนดไว้ และการปรับปรุงงานระหว่างปฏิบัติ
2.2.4.3 ระยะสิ้นสุดการทำโครงงาน โดยประเมินผลงานและวิธีการนำเสนอผลการดำเนินโครงงาน
2.2.4.4 การกำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงาน สามารถทำได้ 3 แบบ คือ
1) โครงงานรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกปฏิบัติงานตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
2) โครงงานกลุ่ม เป็นการทำโครงงานขนาดใหญ่และซับซ้อน ต้องให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันหลายด้านช่วยกันทำ การประเมินโครงงานควรเน้นการประเมินกระบวนการกลุ่ม
3) โครงงานผสมระหว่างรายบุคคลกับกลุ่ม เป็นโครงงานที่ผู้เรียนทำร่วมกันแต่เมื่อเสร็จงานแล้ว ให้แต่ละคนรายงานผลด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่ม
การประเมินการปฏิบัติงานดังกล่าวมาข้างต้น ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติ เช่น
1. แบบวัดภาคปฏิบัติ
2. แบบสังเกตพฤติกรรม
3. แบบตรวจสอบรายการ
4. เกณฑ์การให้คะแนน เป็นต้น
2.3 การประเมินสภาพจริง
การประเมินสภาพจริงเป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน และเป็นองค์รวมมากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
วิธีการประเมินสภาพจริงไม่มีความแตกต่าง จากการประเมินจากการปฏิบัติเพียงแต่อาจมีความยุ่งยากในการประเมินมากกว่า เนื่องจากเป็นสถานการณ์จริง หรือต้องจัดสถานการณ์ให้ใกล้จริง แต่จะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมาก เพราะจะทำให้ทราบความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ว่ามีจุดเด่นและข้อบกพร่องในเรื่องใด อันจะนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงประเด็นที่สุด
2.4 การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน
การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยส่งเสริมให้การประเมินตามสภาพจริง มีความสมบูรณ์สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนมากขึ้น โดยการให้ ผู้เรียนได้เก็บรวบรวมผลงานจากการปฏิบัติจริง ทั้งในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มาจัดแสดงอย่างเป็นระบบโดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็น ความพยายาม เจตคติ แรงจูงใจ พัฒนาการ และสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน การวางแผนดำเนินการประเมินด้วยแฟ้มผลงานที่สมบูรณ์ จะช่วยผู้สอนให้สามารถประเมินจากแฟ้มสะสมงานแทนการประเมินจากการปฏิบัติจริงได้
ลักษณะของการวัดและประเมินผล
การประเมินผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องระบุสิ่งที่มุ่งประเมินให้ชัดเจน ผู้ประเมินต้องทราบว่าผลการเรียนรู้ที่ต้องการประเมิน ประกอบด้วยคุณลักษณะ (Traits) ที่สำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม
2. เลือกเทคนิคการวัดให้เหมาะสม ผู้ประเมินต้องเลือกเครื่องมือ รูปแบบคำถามที่ใช้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะ หรือสมรรถภาพของผู้เรียน โดยเครื่องมือนั้นต้องให้ผลที่ถูกต้อง มีความเป็นปรนัยและสะดวกต่อการนำไปใช้
3. ควรใช้วิธีการวัดหลายอย่างประกอบกัน เนื่องจากเครื่องมือแต่ละชนิดมีข้อดี/ข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้ประเมินจึงควรเลือกใช้วิธีการวัดหลายอย่างให้ครอบคลุมผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน และต้องทำการวัดหลาย ๆ ครั้ง
4. ควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการวัดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การวัดคุณลักษณะใดก็ตามจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้ประเมินควรศึกษาถึงแหล่งของความคลาดเคลื่อนและพยายามขจัดให้เหลือน้อยที่สุด
5. ใช้สารสนเทศจากการประเมินสำหรับการตัดสินใจ การประเมินเป็นกระบวนการของการปรับปรุงและพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้น การประเมินมิได้สิ้นสุดเมื่อทราบผลการประเมิน แต่การประเมินมีความสำคัญอยู่ที่การนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจที่ดีในการจัดการศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ประเภทของการวัดและประเมินการเรียนรู้
การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและการประเมิน ทำให้ผู้สอนได้สารสนเทศที่เป็นปรนัยและเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
การวัดและการประเมินในกระบวนการเรียนการสอนสามารถแบ่งเป็นประเภทตามขั้นตอนหรือช่วงเวลาของการดำเนินการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การวัดและประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน
2. การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
3. การวัดและประเมินหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน
การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอน
การวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่ การวัดและประเมินผลประเภทนี้สามารถจำแนกออกเป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้ากับการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้
1. การวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Formative Evaluation) เป็นการวัดและประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถหรือทักษะตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการสอนหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้วัดอาจเป็นแบบสอบประจำหน่วย แบบสอบย่อย การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้นี้จะช่วยบ่งชี้พัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อทำการปรับปรุงการเรียน และเป็นข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอน เพื่อทำการปรับปรุงการสอน ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดสามารถผ่านหรือไม่ผ่านจุดประสงค์ประจำหน่วย ถ้าทุกคนผ่านจะได้ทำการสอนหน่วยต่อไป แต่ถ้าบางคนไม่ผ่านจะได้ทำการสอนซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องให้มีการเรียนรู้ที่เติมเต็มที่ขาดหายไปทันทีหลังการสอน
2. การวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ (Diagnostic Evaluation) หลังจากจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของการเรียนรู้ระหว่างที่การเรียนการสอนยังคงดำเนินอยู่แล้วถ้าหากจุดบกพร่องหรือความล้มเหลวของการเรียนรู้ยังคงมีอยู่ ซึ่งการสอนซ่อมเสริมไม่สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ก็ควรมีการศึกษาถึงอุปสรรคปัญหานั้นอย่างลึกซึ้ง โดยใช้แบบสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) แบบสอบชนิดนี้จะสร้างตามลำดับขั้นของตรรกศาสตร์ สำหรับการคิดที่ถูกต้องในการแก้ปัญหานั้นแล้วให้ผู้เรียนทำเพื่อสืบค้นถึงสาเหตุของปัญหา เพราะในเรื่องนั้นปัญหาอาจมีแหล่งที่เกิดแตกต่างกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนสิ่งแวดล้อม เนื้อหาวิชา ผู้สอน เป็นต้น โดยอาจมีการใช้เทคนิคการสังเกตและสัมภาษณ์ประกอบการสืบค้นปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้จะทำให้ทราบถึงสาเหตุแห่งปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถทำการปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด เช่น การปรับปรุงยุทธวิธีการสอน การหามาตรการสอนเสริม การจัดเรียบลำดับขั้นของเนื้อหาและวิธีการสอนทีเหมาะสม เป็นต้น
การประเมินระหว่างเรียนเป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตามผลการเรียนรู้ผู้คาดหวังในการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูได้วางแผนไว้หรือไม่ ทั้งนี้สารสนเทศที่ได้จากการประเมินไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ การประเมินผลระหว่างเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. วางแผนการเรียนรู้และการประเมินผลระหว่างเรียน ผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้และแนวทางการประเมินผลให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งในแผนการเรียนรู้ควรระบุภาระงานที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. เลือกวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมหลักที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ ทั้งนี้วิธีการประเมินที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการประเมินระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ ทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ตามที่ผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ วิธีการประเมินที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการประเมินระหว่างเรียน มีดังนี้
2.1 การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล ได้แก่
2.1.1 การถามตอบระหว่างทำกิจกรรมการเรียน
2.1.2 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เรียน
2.1.3 การสนทนาพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
2.1.4 การสอบปากเปล่าเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติ
2.1.5 การอ่านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน
2.1.6 การตรวจแบบฝึกหัดและการบ้าน พร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ
2.2 การประเมินจากการปฏิบัติ
เป็นวิธีการประเมินที่ผู้สอนมอบหมายงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด การประเมินการปฏิบัติผู้สอนต้องเตรียมการในสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ภาระงานหรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติ (Tasks) 2) เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) วิธีการประเมินการปฏิบัติจะเป็นไปตามลักษณะงาน ดังนี้
2.2.1 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคล/กลุ่ม จะประเมินวิธีการทำงานตามขั้นตอนและผลงานของผู้เรียน
2.2.2 ภาระงานหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จะประเมินด้วยวิธีการสังเกต จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้เรียน
2.2.3 การสาธิต ได้แก่ การให้ผู้เรียนแสดงหรือปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด เช่น การใช้เครื่องมือปฏิบัติงาน การทำกายบริหาร การเล่นดนตรี จะประเมินวิธีการและขั้นตอนในการสาธิตของผู้เรียนด้วยวิธีการสังเกต
2.2.4 การทำโครงงาน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้ผู้สอนต้องมอบหมายให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน ในทุกช่วงชั้น ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องกำหนดภาระงานในลักษณะของโครงงานให้ผู้เรียนปฏิบัติในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งใน 4 รูปแบบ ต่อไปนี้ โครงงานสำรวจ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานแก้ปัญหาหรือการทดลองศึกษาค้นคว้า และโครงงานอาชีพ วิธีการประเมินผลโครงงาน ควรประเมิน 3 ระยะ คือ
2.2.4.1 ระยะก่อนทำโครงงาน โดยประเมินความพร้อมการเตรียมการและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
2.2.4.2 ระยะทำโครงงาน โดยประเมินการปฏิบัติจริงตามแผนวิธีการและขั้นตอนกำหนดไว้ และการปรับปรุงงานระหว่างปฏิบัติ
2.2.4.3 ระยะสิ้นสุดการทำโครงงาน โดยประเมินผลงานและวิธีการนำเสนอผลการดำเนินโครงงาน
2.2.4.4 การกำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงาน สามารถทำได้ 3 แบบ คือ
1) โครงงานรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกปฏิบัติงานตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
2) โครงงานกลุ่ม เป็นการทำโครงงานขนาดใหญ่และซับซ้อน ต้องให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันหลายด้านช่วยกันทำ การประเมินโครงงานควรเน้นการประเมินกระบวนการกลุ่ม
3) โครงงานผสมระหว่างรายบุคคลกับกลุ่ม เป็นโครงงานที่ผู้เรียนทำร่วมกันแต่เมื่อเสร็จงานแล้ว ให้แต่ละคนรายงานผลด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่ม
การประเมินการปฏิบัติงานดังกล่าวมาข้างต้น ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติ เช่น
1. แบบวัดภาคปฏิบัติ
2. แบบสังเกตพฤติกรรม
3. แบบตรวจสอบรายการ
4. เกณฑ์การให้คะแนน เป็นต้น
2.3 การประเมินสภาพจริง
การประเมินสภาพจริงเป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน และเป็นองค์รวมมากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
วิธีการประเมินสภาพจริงไม่มีความแตกต่าง จากการประเมินจากการปฏิบัติเพียงแต่อาจมีความยุ่งยากในการประเมินมากกว่า เนื่องจากเป็นสถานการณ์จริง หรือต้องจัดสถานการณ์ให้ใกล้จริง แต่จะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมาก เพราะจะทำให้ทราบความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ว่ามีจุดเด่นและข้อบกพร่องในเรื่องใด อันจะนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงประเด็นที่สุด
2.4 การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน
การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยส่งเสริมให้การประเมินตามสภาพจริง มีความสมบูรณ์สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนมากขึ้น โดยการให้ ผู้เรียนได้เก็บรวบรวมผลงานจากการปฏิบัติจริง ทั้งในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มาจัดแสดงอย่างเป็นระบบโดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็น ความพยายาม เจตคติ แรงจูงใจ พัฒนาการ และสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน การวางแผนดำเนินการประเมินด้วยแฟ้มผลงานที่สมบูรณ์ จะช่วยผู้สอนให้สามารถประเมินจากแฟ้มสะสมงานแทนการประเมินจากการปฏิบัติจริงได้
การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp)
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่จัดขึ้นในเฉพาะห้องเรียนนั้น ไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษาให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดเตรียมประสบการณ์ นอกชั้นเรียนให้เกิดแก่ผู้เรียนด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ และความรู้ให้ม่ๆซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ และทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียน อันจะส่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น กิจกรรมที่จะสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดแก่ผู้เรียนได้กิจกรรมหนึ่งก็คือ กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง และในขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียน โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในบรรยากาศที่สนุกสนาน เช่น การใช้เกมต่าง ๆ เพลง หรือ บทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว
ความหมายของค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้จากเวลาเรียนปกติ
วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
การจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการสื่อสารกับเจ้าของภาษา มีการเรียนรู้จากการสังเกต สำรวจข้อมูล เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากสภาพจริง
2 ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ท้าทาย สนุก น่าสนใจ แปลกใหม่ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการตัดสินใจ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนากระบวนการสืบเสาะความรู้ และกระบวนการทางภาษา ด้วยการทำกิจกรรมหลากหลาย อิสระ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวความคิดหลักการทางการเรียนภาษา
5 ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะการสื่อสาร มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
6. ส่งเสริมความเป็นผู้นำความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสังคม
รูปแบบและช่วงเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษจัดได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการจัดค่ายแต่ละครั้ง อาจจัดค่ายที่บูรณการหลายกลุ่มสาระโดยใช้กิจกรรมภาษาอังกฤษเป็นแกนหลัก เช่น ค่ายเรียนรู้จากธรรมชาติ ค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หรือการจัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดให้มีการสนทนากับเจ้าของภาษาโดยการแบ่งเป็นฐานปฏิบัติการคล้ายกับฐานการเรียนรู้ของกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
การกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงชั้น และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเวลา อาจจัดได้หลากหลาย ในกรณีเด็กเล็ก ช่วงชั้นที่ 1-2 อาจจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 1 วัน ส่วนค่ายภาษาอังกฤษสำหรับช่วงชั้นที่ 3-4 ควรจัดค่ายอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน นักเรียนจะมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันได้ เช่นการสนทนาในยามเช้า การรับประทานอาหาร การทักทาย การกล่าวลา มีโอกาสในการออกกำลังกายตอนเช้า ใช้ชีวิตรวมกันในสังคม และได้มีการเรียนรู้ในกิจกรรมวิชาการและนันทนาการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก
ขั้นตอนสำคัญในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
ในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งมีภารกิจที่ต้องจัดทำเป็นรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างดีและรอบคอบ จะทำให้การจัดกิจกรรมค่ายประสบความสำเร็จ
1. สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจัดค่าย
1.1 ระดมความคิดเพื่อวางแผนจัดค่าย ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมกันหลายฝ่าย ก่อนจัดค่ายจึงควรประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทั้งจากโรงเรียนคือ ผู้บริหาร ครูผู้ สอน บุคลากรทางการศึกษาอื่น เพื่อวางแผน กำหนดรูปแบบ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของ การจัดค่าย ช่วงเวลาและสถานที่จัดค่าย
1.2 การกำหนดหัวข้อของค่าย จำเป็นที่จะต้องวางแผนล่วงหน้า เพื่อเป็น แนวทางในการเลือกสถานที่จัดค่าย เลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับหัวข้อรวมถึงการจัดหาวิทยากรเพิ่มเติม
1.3 สถานที่จัดค่ายภาษาอังกฤษ ควรเลือกสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก มีความปลอดภัย ถ้าเป็นค่ายค้างคืนต้องเลือกสถานที่ที่มีที่พักเพียงพอและสะอาด ที่สำคัญสถานที่จัดค่ายควรสอดคล้องกับหัวข้อเรื่องของค่าย ควรจัดในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ อาจเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชายทะเล อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ อาจจัดค่ายให้ใกล้แหล่งศึกษาดูงานที่จะใช้เป็นแนวคิดในการทำกิจกรรม
1.4 ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดค่าย ต้องสอดคล้องกับหัวข้อกิจกรรมค่ายและจัดให้ถูกฤดูกาล ช่วงที่เหมาะสมคือ ฤดูร้อน และฤดูหนาว ที่ไม่ใช่ในช่วงร้อนจัดหรือหนาวจัด และควรจัดในช่วงวันหยุด หรือระหว่างปิดภาคเรียน
2. เตรียมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมนันทนาการ หรืออาจมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยถ้ามีโอกาสทำได้
2.1 กิจกรรมวิชาการ
จัดได้หลากหลาย แต่ควรเป็นกิจกรรม ที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรปกติ กล่าวคือ กิจกรรมมีความน่าสนใจ สนุก ท้าทาย มีความอิสระทางความคิดพอสมควร เปิด โอกาสให้นักเรียนปฏิบัติมากที่สุด และให้นักเรียนทุกคนได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ กิจกรรมวิชาการที่จัดให้ค่ายภาษาอังกฤษ แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่
2.1.1 กิจกรรมสำรวจภาคสนาม นักเรียนจะมีโอกาสสัมผัสแหล่งเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเจ้าของภาษา
2.1.2 กิจกรรมแก้ปัญหา นักเรียนจะระบุคำถามหรือปัญหาตามความสนใจโดยใช้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ หรือสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากคำถามหรือปัญหาที่เรียนในชั้นเรียน
2.1.3 กิจกรรมคิดสร้างสรรค์ นักเรียนจะแสดงออกอย่างอิสระถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลผลิตของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะออกมาในชิ้นงานที่อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การฝึกใช้ภาษา การแสดงละครเป็นต้น
2.1.4 กิจกรรมการสื่อสาร เป็นกิจกรรมท้าทายที่นักเรียนจะมีโอกาสทำปฏิบัติที่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเรียนปกติเนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง บุคคล สถานการณ์ สถานที่ ฯลฯ
2.1.5 กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ การศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่น การได้พบปะสนทนากับเจ้าของภาษา
2.2 กิจกรรมนันทนาการ
จัดได้หลากหลาย กิจกรรมนันทนาการมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมความสามัคคี สร้างความเป็นกลุ่ม สร้างความเป็นผู้นำเพื่อการผ่อนคลาย กิจกรรมนันทนาการจัดแรกกิจกรรมวิชาการเป็นระยะ ๆ หรือจัดเป็นการนันทนาการโดยเฉพาะในภาคเช้าก่อนกิจกรรมค่ายหรือค่ำ ได้แก่
2.2.1 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2.2.2 เกมส์ต่าง ๆ และการแข่งขันที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาภาษาอังกฤษ เช่น เกมทายคำ walk Rally
2.2.3 การร้องเพลง
2.2.4 เล่นละคร
2.2.5 กิจกรรมชมภาพยนตร์ วีดิทัศน์สารคดีต่าง ๆ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม
2.2.6 กีฬาและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ
2.2.7 การแสดงรอบกองไฟ
2.3 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
นักเรียนอาจทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่สัมพันธ์กับสถานที่จัดค่าย เช่น ในกรณีจัดค่ายใกล้ชายทะเล สวนรุกขชาติ สวนสาธารณะ อาจจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม
3. จัดทำโครงการค่ายภาษาอังกฤษ การจัดกิจกรรมค่ายจะต้องเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โครงการค่ายประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ คือ หลักการเหตุผล และความสำคัญของการจัดค่าย วัตถุประสงค์ สถานที่ กิจกรรมวิชาการและกิจกรรมนันทนาการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย วิทยากร งบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดค่าย และกำหนดการจัดกิจกรรมค่ายที่แสดงรายละเอียดของแต่ละวัน
4. เตรียมบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ การจัดค่ายแต่ละครั้ง ควรระดมความร่วมมือจากครู ผู้บริหารบุคลากรต่าง ๆ ทำงานร่วมกันในค่ายโดยแบ่งความรับผิดชอบงานแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการค่ายภาษาอังกฤษ คณะกรรมการแต่ละฝ่ายอาจมีผู้แทนนักเรียนเป็นผู้ช่วย จำนวนของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายควรพิจารณาตามความเหมาะสมกับงานและจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย กรรมการฝ่ายต่าง ๆในค่ายได้แก่
4.1 ประธานและรองประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดค่ายภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายให้เป็นไปอย่างราบรื่น
4.2 กรรมการฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่เลือกสรรกิจกรรมวิชาการ จัดทำเอกสารกิจกรรมค่าย เอกสารคู่มือที่เสริมการทำกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม สำรวจสถานที่จัดค่าย ประสานกับสถานที่ศึกษาดูงาน จัดเตรียมแบบประเมินผลค่าย จัดหาวิทยากร และจัดหาพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นครูหรือผู้แทนนักเรียน
4.3 กรรมการฝ่ายนันทนาการ มีหน้าที่คิดและเลือกกิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสม จัดหาวิทยาการที่เชี่ยวชาญด้านนันทนาการ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ และของรางวัลสำหรับกิจกรรมนันทนาการ
4.4 กรรมการฝ่ายบริการ มีหน้าที่จัดหารสถานที่พัก (สำหรับค่ายค้างคืน) อาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำ –ห้องส้วม ยา และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยานพาหนะ จัดบุคคลดูแลความปลอดภัยและการเจ็บป่วยของนักเรียนในค่าย เรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องดูแลตั้งแต่เมื่อเดินทางไปเข้าค่าย ช่วงเวลาที่อยู่ค่ายและเดินทางกลับ
4.5 กรรมการฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ทำจดหมายติดต่อขออนุญาตผู้ปกครอง จดหมายประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำประกันอุบัติภัย ประชาสัมพันธ์กิจกรรมค่าย จัดทำเรื่องงบประมาณ จัดเตรียมวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร เตรียมของที่ระลึกสำหรับหน่วยงานหรือวิทยากรพิเศษ จัดบุคคลบันทึกภาพนิ่ง และ/หรือวีดิทัศน์
5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์เมื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายภาษาอังกฤษและกิจกรรมที่จะจัดในระหว่างอยู่ค่ายแล้ว แต่ละฝ่ายต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมตามที่จะต้องใช้ในกิจกรรม และจำนวนของอุปกรณ์ ควรมีเพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมได้แก่
5.1 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมวิชาการ
5.2 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมนันทนาการ
5.3 วัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริการ เช่น น้ำดื่ม ภาชนะบรรลุอาหาร และอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปฐมพยาบาล
6. เตรียมวางแผนเรื่องการแต่งกาย การเข้าค่ายภาษาอังกฤษแตกต่างจากการเรียนในเวลาปกติ เนื่องจากนักเรียนต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดจนถึงเวลาค่ำ ควรแต่งกาย ให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำกิจกรรม ในกรณี ที่เป็นค่ายค้างคืน นักเรียนต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวด้วย สิ่งที่ควรให้นักเรียนเตรียมการก่อนเข้าค่าย เช่น
- หมวก - ผ้าเช็ดตัว
- รองเท้าผ้าใบ - ยาประจำตัว
- เสื้อยืด - ของใช้ส่วนตัว
- กางเกงขายาว - สมุดบันทึก
- ชุดพลศึกษาและชุดนอน - ดินสอ ปากกา
7. ช่วงกิจกรรมค่าย ควรดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
7.1 จัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
7.2 กระตุ้นให้นักเรียนที่เข้าค่ายทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
7.3 ดูแลความเรียบร้อย ความปลอดภัยของนักเรียนในค่าย
7.4 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตัดสินใจในกรณีที่มีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
8. ประชุมกรรมการทุกฝ่ายร่วมกับผู้แทนนักเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขตามความจำเป็นและเหมาะสม
9. การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมค่าย ควรมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมค่ายดังนี้
9.1 ประเมินผลจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน โดยครูและนักเรียน
9.2 ประเมินผลการจัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ นันทนาการ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ จัดให้มีการประชุม และสังเกตขณะนักเรียนทำกิจกรรม
9.3 ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการทุกฝ่าย โดยใช้ข้อมูลจากความเห็นของนักเรียนและกรรมการ เพื่อพิจารณาข้อดี ข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข
9.4 การประเมินการจัดแสดงผลงานรวมของนักเรียนที่เข้าค่ายในวันปิดค่าย ซึ่งประเมินโดยครู นักเรียน และเชิญบุคลากรในชุมชนมาร่วมประเมินด้วย เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ(http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=302)
การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง และในขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียน โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในบรรยากาศที่สนุกสนาน เช่น การใช้เกมต่าง ๆ เพลง หรือ บทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว
ความหมายของค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้จากเวลาเรียนปกติ
วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
การจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการสื่อสารกับเจ้าของภาษา มีการเรียนรู้จากการสังเกต สำรวจข้อมูล เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากสภาพจริง
2 ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ท้าทาย สนุก น่าสนใจ แปลกใหม่ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการตัดสินใจ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนากระบวนการสืบเสาะความรู้ และกระบวนการทางภาษา ด้วยการทำกิจกรรมหลากหลาย อิสระ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวความคิดหลักการทางการเรียนภาษา
5 ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะการสื่อสาร มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
6. ส่งเสริมความเป็นผู้นำความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสังคม
รูปแบบและช่วงเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
ค่ายภาษาอังกฤษจัดได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการจัดค่ายแต่ละครั้ง อาจจัดค่ายที่บูรณการหลายกลุ่มสาระโดยใช้กิจกรรมภาษาอังกฤษเป็นแกนหลัก เช่น ค่ายเรียนรู้จากธรรมชาติ ค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หรือการจัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดให้มีการสนทนากับเจ้าของภาษาโดยการแบ่งเป็นฐานปฏิบัติการคล้ายกับฐานการเรียนรู้ของกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
การกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงชั้น และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเวลา อาจจัดได้หลากหลาย ในกรณีเด็กเล็ก ช่วงชั้นที่ 1-2 อาจจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 1 วัน ส่วนค่ายภาษาอังกฤษสำหรับช่วงชั้นที่ 3-4 ควรจัดค่ายอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน นักเรียนจะมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันได้ เช่นการสนทนาในยามเช้า การรับประทานอาหาร การทักทาย การกล่าวลา มีโอกาสในการออกกำลังกายตอนเช้า ใช้ชีวิตรวมกันในสังคม และได้มีการเรียนรู้ในกิจกรรมวิชาการและนันทนาการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก
ขั้นตอนสำคัญในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ
ในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งมีภารกิจที่ต้องจัดทำเป็นรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างดีและรอบคอบ จะทำให้การจัดกิจกรรมค่ายประสบความสำเร็จ
1. สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจัดค่าย
1.1 ระดมความคิดเพื่อวางแผนจัดค่าย ค่ายภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมกันหลายฝ่าย ก่อนจัดค่ายจึงควรประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทั้งจากโรงเรียนคือ ผู้บริหาร ครูผู้ สอน บุคลากรทางการศึกษาอื่น เพื่อวางแผน กำหนดรูปแบบ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของ การจัดค่าย ช่วงเวลาและสถานที่จัดค่าย
1.2 การกำหนดหัวข้อของค่าย จำเป็นที่จะต้องวางแผนล่วงหน้า เพื่อเป็น แนวทางในการเลือกสถานที่จัดค่าย เลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับหัวข้อรวมถึงการจัดหาวิทยากรเพิ่มเติม
1.3 สถานที่จัดค่ายภาษาอังกฤษ ควรเลือกสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก มีความปลอดภัย ถ้าเป็นค่ายค้างคืนต้องเลือกสถานที่ที่มีที่พักเพียงพอและสะอาด ที่สำคัญสถานที่จัดค่ายควรสอดคล้องกับหัวข้อเรื่องของค่าย ควรจัดในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ อาจเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชายทะเล อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ อาจจัดค่ายให้ใกล้แหล่งศึกษาดูงานที่จะใช้เป็นแนวคิดในการทำกิจกรรม
1.4 ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดค่าย ต้องสอดคล้องกับหัวข้อกิจกรรมค่ายและจัดให้ถูกฤดูกาล ช่วงที่เหมาะสมคือ ฤดูร้อน และฤดูหนาว ที่ไม่ใช่ในช่วงร้อนจัดหรือหนาวจัด และควรจัดในช่วงวันหยุด หรือระหว่างปิดภาคเรียน
2. เตรียมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมนันทนาการ หรืออาจมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยถ้ามีโอกาสทำได้
2.1 กิจกรรมวิชาการ
จัดได้หลากหลาย แต่ควรเป็นกิจกรรม ที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรปกติ กล่าวคือ กิจกรรมมีความน่าสนใจ สนุก ท้าทาย มีความอิสระทางความคิดพอสมควร เปิด โอกาสให้นักเรียนปฏิบัติมากที่สุด และให้นักเรียนทุกคนได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ กิจกรรมวิชาการที่จัดให้ค่ายภาษาอังกฤษ แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่
2.1.1 กิจกรรมสำรวจภาคสนาม นักเรียนจะมีโอกาสสัมผัสแหล่งเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเจ้าของภาษา
2.1.2 กิจกรรมแก้ปัญหา นักเรียนจะระบุคำถามหรือปัญหาตามความสนใจโดยใช้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ หรือสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากคำถามหรือปัญหาที่เรียนในชั้นเรียน
2.1.3 กิจกรรมคิดสร้างสรรค์ นักเรียนจะแสดงออกอย่างอิสระถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลผลิตของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะออกมาในชิ้นงานที่อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การฝึกใช้ภาษา การแสดงละครเป็นต้น
2.1.4 กิจกรรมการสื่อสาร เป็นกิจกรรมท้าทายที่นักเรียนจะมีโอกาสทำปฏิบัติที่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเรียนปกติเนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง บุคคล สถานการณ์ สถานที่ ฯลฯ
2.1.5 กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ การศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่น การได้พบปะสนทนากับเจ้าของภาษา
2.2 กิจกรรมนันทนาการ
จัดได้หลากหลาย กิจกรรมนันทนาการมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมความสามัคคี สร้างความเป็นกลุ่ม สร้างความเป็นผู้นำเพื่อการผ่อนคลาย กิจกรรมนันทนาการจัดแรกกิจกรรมวิชาการเป็นระยะ ๆ หรือจัดเป็นการนันทนาการโดยเฉพาะในภาคเช้าก่อนกิจกรรมค่ายหรือค่ำ ได้แก่
2.2.1 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2.2.2 เกมส์ต่าง ๆ และการแข่งขันที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาภาษาอังกฤษ เช่น เกมทายคำ walk Rally
2.2.3 การร้องเพลง
2.2.4 เล่นละคร
2.2.5 กิจกรรมชมภาพยนตร์ วีดิทัศน์สารคดีต่าง ๆ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม
2.2.6 กีฬาและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ
2.2.7 การแสดงรอบกองไฟ
2.3 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
นักเรียนอาจทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่สัมพันธ์กับสถานที่จัดค่าย เช่น ในกรณีจัดค่ายใกล้ชายทะเล สวนรุกขชาติ สวนสาธารณะ อาจจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม
3. จัดทำโครงการค่ายภาษาอังกฤษ การจัดกิจกรรมค่ายจะต้องเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โครงการค่ายประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ คือ หลักการเหตุผล และความสำคัญของการจัดค่าย วัตถุประสงค์ สถานที่ กิจกรรมวิชาการและกิจกรรมนันทนาการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย วิทยากร งบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดค่าย และกำหนดการจัดกิจกรรมค่ายที่แสดงรายละเอียดของแต่ละวัน
4. เตรียมบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ การจัดค่ายแต่ละครั้ง ควรระดมความร่วมมือจากครู ผู้บริหารบุคลากรต่าง ๆ ทำงานร่วมกันในค่ายโดยแบ่งความรับผิดชอบงานแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการค่ายภาษาอังกฤษ คณะกรรมการแต่ละฝ่ายอาจมีผู้แทนนักเรียนเป็นผู้ช่วย จำนวนของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายควรพิจารณาตามความเหมาะสมกับงานและจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย กรรมการฝ่ายต่าง ๆในค่ายได้แก่
4.1 ประธานและรองประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดค่ายภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายให้เป็นไปอย่างราบรื่น
4.2 กรรมการฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่เลือกสรรกิจกรรมวิชาการ จัดทำเอกสารกิจกรรมค่าย เอกสารคู่มือที่เสริมการทำกิจกรรม จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม สำรวจสถานที่จัดค่าย ประสานกับสถานที่ศึกษาดูงาน จัดเตรียมแบบประเมินผลค่าย จัดหาวิทยากร และจัดหาพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นครูหรือผู้แทนนักเรียน
4.3 กรรมการฝ่ายนันทนาการ มีหน้าที่คิดและเลือกกิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสม จัดหาวิทยาการที่เชี่ยวชาญด้านนันทนาการ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ และของรางวัลสำหรับกิจกรรมนันทนาการ
4.4 กรรมการฝ่ายบริการ มีหน้าที่จัดหารสถานที่พัก (สำหรับค่ายค้างคืน) อาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำ –ห้องส้วม ยา และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยานพาหนะ จัดบุคคลดูแลความปลอดภัยและการเจ็บป่วยของนักเรียนในค่าย เรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องดูแลตั้งแต่เมื่อเดินทางไปเข้าค่าย ช่วงเวลาที่อยู่ค่ายและเดินทางกลับ
4.5 กรรมการฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ทำจดหมายติดต่อขออนุญาตผู้ปกครอง จดหมายประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำประกันอุบัติภัย ประชาสัมพันธ์กิจกรรมค่าย จัดทำเรื่องงบประมาณ จัดเตรียมวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร เตรียมของที่ระลึกสำหรับหน่วยงานหรือวิทยากรพิเศษ จัดบุคคลบันทึกภาพนิ่ง และ/หรือวีดิทัศน์
5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์เมื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายภาษาอังกฤษและกิจกรรมที่จะจัดในระหว่างอยู่ค่ายแล้ว แต่ละฝ่ายต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมตามที่จะต้องใช้ในกิจกรรม และจำนวนของอุปกรณ์ ควรมีเพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เข้าค่าย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมได้แก่
5.1 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมวิชาการ
5.2 วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมนันทนาการ
5.3 วัสดุอุปกรณ์สำหรับการบริการ เช่น น้ำดื่ม ภาชนะบรรลุอาหาร และอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปฐมพยาบาล
6. เตรียมวางแผนเรื่องการแต่งกาย การเข้าค่ายภาษาอังกฤษแตกต่างจากการเรียนในเวลาปกติ เนื่องจากนักเรียนต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดจนถึงเวลาค่ำ ควรแต่งกาย ให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำกิจกรรม ในกรณี ที่เป็นค่ายค้างคืน นักเรียนต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวด้วย สิ่งที่ควรให้นักเรียนเตรียมการก่อนเข้าค่าย เช่น
- หมวก - ผ้าเช็ดตัว
- รองเท้าผ้าใบ - ยาประจำตัว
- เสื้อยืด - ของใช้ส่วนตัว
- กางเกงขายาว - สมุดบันทึก
- ชุดพลศึกษาและชุดนอน - ดินสอ ปากกา
7. ช่วงกิจกรรมค่าย ควรดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
7.1 จัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
7.2 กระตุ้นให้นักเรียนที่เข้าค่ายทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
7.3 ดูแลความเรียบร้อย ความปลอดภัยของนักเรียนในค่าย
7.4 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตัดสินใจในกรณีที่มีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
8. ประชุมกรรมการทุกฝ่ายร่วมกับผู้แทนนักเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขตามความจำเป็นและเหมาะสม
9. การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมค่าย ควรมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมค่ายดังนี้
9.1 ประเมินผลจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน โดยครูและนักเรียน
9.2 ประเมินผลการจัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ นันทนาการ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ จัดให้มีการประชุม และสังเกตขณะนักเรียนทำกิจกรรม
9.3 ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการทุกฝ่าย โดยใช้ข้อมูลจากความเห็นของนักเรียนและกรรมการ เพื่อพิจารณาข้อดี ข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข
9.4 การประเมินการจัดแสดงผลงานรวมของนักเรียนที่เข้าค่ายในวันปิดค่าย ซึ่งประเมินโดยครู นักเรียน และเชิญบุคลากรในชุมชนมาร่วมประเมินด้วย เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ(http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=302)
การจัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู
กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1 – 6) ได้กำหนดแนวทางให้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ (ERIC) ทั่วประเทศ จัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้มีทักษะการฟังและการพูด ให้ครูสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเพื่อให้ครูสอนภาษา อังกฤษสามารถเลือกใช้กิจกรรม เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด ของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ผู้เข้าค่ายทุกคนพักค้างคืน ณ สถานที่สำหรับการจัดค่ายตลอดหลักสูตร ใช้เวลาเข้าค่าย 7 – 10 วัน มีกิจกรรมรวม 80 ชั่วโมง เนื้อหาสาระ (Contents) ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน (Classroom Language) ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English for Everyday Use) และเนื้อหาเสริม (Additional Content) เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หรือความต้องการของครูที่เข้าค่าย
การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ
การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน
การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ
การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน
การจัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู
กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1 – 6) ได้กำหนดแนวทางให้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ (ERIC) ทั่วประเทศ จัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้มีทักษะการฟังและการพูด ให้ครูสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และเพื่อให้ครูสอนภาษา อังกฤษสามารถเลือกใช้กิจกรรม เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด ของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ผู้เข้าค่ายทุกคนพักค้างคืน ณ สถานที่สำหรับการจัดค่ายตลอดหลักสูตร ใช้เวลาเข้าค่าย 7 – 10 วัน มีกิจกรรมรวม 80 ชั่วโมง เนื้อหาสาระ (Contents) ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน (Classroom Language) ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English for Everyday Use) และเนื้อหาเสริม (Additional Content) เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น หรือความต้องการของครูที่เข้าค่าย
การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ
การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน
การดำเนินการจัดค่ายภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เลขานุการศูนย์ ERIC / หัวหน้าวิทยากร ควรจัดประชุมวงแผนกับคณะวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดแสดงผลงาน เตรียมที่พัก อาหาร สถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น แฟ้มเอกสารของแต่ละกิจกรรม เตรียมรวบรวมผลสรุปของการจัดกิจกรรมและผลงานของครู สำหรับการประเมินผลและการนิเทศติดตาม เตรียมเอกสาร วุฒิบัตร ฟอร์มต่าง ๆ เช่น แบบกรอกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน และเอกสารอื่นตามความจำเป็น
2. ขั้นดำเนินการ จัดให้มีการลงทะเบียนและเวลามาปฏิบัติราชการเป็นประจำตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย มีผู้อำนวยการจัดค่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลความเรียบร้อยโดยภาพรวม กำหนดให้มีวิทยากรที่ปรึกษาประจำทุกวัน โดยผลัดเปลี่ยนกันในกลุ่มวิทยากร จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินรายการ / พิธีกร ดูแลความเรียบร้อย ช่วยเหลือสนับสนุนวิทยากรในแต่ละวัน โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษา ปฏิบัติกิจกรรมตามตารางที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะวิทยากร จัดกิจกรรม Camp โดยเน้นความสนุกสนาน การมีส่วนร่วม กล้าแสดงออก และรวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความประทับใจ และมีประโยชน์ในการปรับใช้กิจกรรมให้ผู้เข้าค่ายทุกคนทำแผนปฏิบัติ (Action plan) เพื่อวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน รวมทั้งการขยายผลให้ครูคนอื่น
3. ขั้นประเมินผล ควรมีการประเมินผลก่อนการดำเนินการจัดค่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมของความสามารถทางภาษา และความต้องการจำเป็นของผู้เข้าค่าย ประเมินผลระหว่างการดำเนินการจัดค่าย เพื่อนำไปปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และประเมินผลในตอนท้ายของการดำเนินการจัดค่าย เพื่อประมวลข้อมูลสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
4. ขั้นสรุปรายงานผลการจัดค่าย ให้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการจัดค่าย และการประเมินผล ทำสรุปรายงานเสนอต้นสังกัดเพื่อทราบ
การสอนแบบฐาน
วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีหลายแนวคิด มีทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตร แนวคิดเกี่ยวกับแนวการสอน และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ แนวคิดทั้ง 3 นี้ มีส่วนช่วยครูผู้สอนในการตัดสินใจวางแผนจัดการเรียนการสอน การคัดเลือกกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนเลือกสื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูผู้สอนที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเพื่อช่วยให้การสอนของตนเองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แนวคิดสำคัญที่ครูควรศึกษาทำความเข้าใจมีดังต่อไปนี้ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ก : 101 – 128)
1. หลักสูตรภาษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Lerner – Centered Language Curriculum)
2. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)
3. การสอนภาษาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Language for Specific Purposes)
4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)
5. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
6. การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content-Based Instruction)
7. การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)
8. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning)
9. การเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (Task-Based Language)
10. การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
11. วิธีการสอนด้วยการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response)
12. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไฟร์แม็ทซิสเต็ม (4 MATS Language System)
กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
การที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ มีความสามารถ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้นั้น ครูต้องมีเทคนิค วิธีการ ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปว่า ปัญหาที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ประสบในการจัดห้องเรียนมี 3 ประการ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 1 – 3)
1. การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากใช้ภาษาอังกฤษในห้อง
2. การไม่สามารถจัดบรรยากาศในห้องเรียนได้ตามที่คาดหวัง เพราะวัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะ ไม่เพียงพอ ผู้เรียนมีระดับความรู้ต่างกัน
3. การแสดงบทบาทของครูในการสอนห้องเรียนเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เพราะมีการเน้นการสอนเนื้อหามากเกินไป
เทคนิควิธีการที่สำคัญที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรรู้และนำไปใช้มีดังนี้
การสอนทักษะการฟัง (Listening)
คนมักเข้าใจว่าการฟังเกิดขึ้นเองเมื่อผู้เรียนต้องเผชิญกับภาษานั้นโดยไม่ต้องมีการเรียนการสอน แต่ความจริงแล้วการฟังเพื่อความเข้าใจในการเรียนการสอนภาษาที่สองเป็นทักษะอันดับแรกที่ต้องได้รับการฝึกฝน การสอนฟังอาจใช้การสอนแบบ Bottom up คือ สอนเป็นลำดับขั้นตอน ค่อยเรียนรู้ทีละน้อย จนเกิดความเข้าใจในที่สุด หรืออาจสอนแบบ Top down คือ การให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ต่อเนื่องจากพื้นฐานหรือประสบการณ์ของตน
การสอนฟังผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้ฟังสามารถแยกเสียงที่ได้รับฟัง รับรู้ และเข้าใจความหมายเรื่องที่ฟัง วิธีสอนที่ใช้กันทั่วไปในการสอนฟังมีกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมก่อนฟัง กิจกรรมขณะฟัง และกิจกรรมหลังฟัง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 12 – 13)
การสอนออกเสียง (Pronunciation)
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะสอนคำศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammy) และฝึกผู้เรียนเรื่องการสนทนา ให้ทำกิจกรรมฝึกต่าง ๆ เพื่อให้มีความสามารถในการฟังและอ่านได้ แต่จะสอนเรื่องการออกเสียงอย่างจริงจังน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรู้สึกอึดอัดที่จะสอนเรื่องการออกเสียง หรืออาจรู้สึกว่าการสอนออกเสียงเป็นการสร้างปัญหาระหว่างการเรียนการสอน จึงมักปล่อยให้นักเรียนฝึกออกเสียงกันเอง ในขณะที่เรียนเรื่องอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วการเน้นสอนออกเสียงไม่เพียงแต่ทำให้ผู้เรียนตระหนักในเรื่องความแตกต่างของเสียง ลักษณะของเสียง และความหมายของเสียงเท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้อย่างมาก การให้ความสนใจในเรื่องเสียงที่เปล่งออกมาจากส่วนต่าง ๆ ภายในปาก ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าควรลงเสียงหนักเบาในตำแหน่งใดของคำ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจภาษาพูด (Spoken – English) และพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาได้ (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 14)
การสอนออกเสียงมักพบปัญหาที่ครูผู้สอนต้องแก้ไข 3 เรื่อง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 15 – 16)
1. สิ่งที่ผู้เรียนได้ยิน เพราะผู้เรียนบางคนไม่สามารถแยกความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจเป็นเพราะเสียงนั้นไม่มีในภาษาเดิมของเขา ทำให้ฟังเสียงที่แตกต่างเป็นเสียงเดียวกัน ผู้สอนต้องพยายามให้เขารับรู้ความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจทำโดยการแสดงแผนภาพ แผนภูมิ การสาธิตและการอธิบาย เพื่อฝึกหูของผู้ฟังทีละน้อย จนกระทั่งเขาสามารถแยกเสียงที่แตกต่างกันได้
2. การออกเสียงสูง – ต่ำ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนรู้จักการจำแนกอารมณ์ (Moods) และความตั้งใจ (Intention) โดยใช้แถบเสียง (Tape) หรือพูดให้ฟัง เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตว่าคนพูดภาษาอังกฤษกันอย่างไรในอารมณ์ ความรู้สึก และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
3. ตัวอักษรแทนเสียง (The Phonetics Alphabet) ผู้เรียนภาษาอังกฤษจำนวนมากมีปัญหาในการออกเสียงตัวสะกด จึงจำเป็นต้องรู้จักหน่วยเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการรับรู้เหล่านี้คือ การนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ (Phonetics Symbol) ซึ่งเมื่อผู้เรียนสามารถอ่านสัญลักษณ์ได้ก็จะสามารถรับรู้ว่าคำถามเหล่านั้นออกเสียงอย่างไร การสอนออกเสียงอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
Whole Lessons คือ การที่ครูสอนเน้นเรื่อง Stress และ Intonation ขณะดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนฝึกจำรูปแบบการออกเสียงสูง – ต่ำ ออกเสียงวลีที่จำเป็น แล้วพัฒนาต่อไปจนสามารถแสดงละครสั้น ๆ ได้
Discrete Slots คือ การแทรกกิจกรรมการออกเสียงสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องกันลงในบทเรียน ทั้งในรูปแบบฝึกเสียงเดี่ยว และฝึกเสียงคู่ที่แตกต่างกัน ในช่วงสั้น ๆ ขณะสอนภาษาอังกฤษ
Integrated Phases คือ การที่กำหนดให้การออกเสียงเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน โดยให้ฟังเทปแล้วฝึกออกเสียงตามให้ถูกต้อง
Opportunistic Phases เป็นการสอนออกเสียงคำบางคำที่น่าสนใจขณะสอนไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ โดยไม่ต้องใช้เวลามาก
การสอนไวยากรณ์ (Grammar)
ไวยากรณ์ (Grammar) เป็นกระบวนการทางภาษาที่จะควบคุม และรวบรวมคำเพื่อก่อให้เกิดหน่วยของความหมายที่ยาวขึ้น ไวยากรณ์จึงเป็นตัวกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของกิจกรรมในห้องเรียนที่มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้ชั่วคราว เพื่อให้มองเห็นผลได้ในระยะยาว เพราะการใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วควรเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้เรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลายในระยะยาว (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 19 – 20)
การสอนไวยากรณ์ผู้สอนต้องนำเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ในขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การนำเสนอ (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและความหมายทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน
2. การสอนเป็นตอน ๆ และการอธิบาย (Isolation and Explanation) เป็นการเน้นเรื่องส่วนประกอบของไวยากรณ์ ทั้งด้านการออกเสียง รูปแบบ ความหมาย และหน้าที่ หรือกฎเกณฑ์ ในบางชั้นเรียนครูอาจจำเป็นต้องอธิบาย แปล หรือทำให้เห็นภาพรวมโดยใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน
3. การฝึกฝน (Practice) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างภาษาได้อย่างลึกซึ้ง ครูควรจัดให้มีแบบฝึกหัดทั้งที่ให้ทำในชั้นเรียน และที่ให้ทำเป็นการบ้าน ให้มีความหลากหลายครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน
4. การทดสอบ (Test) เป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับในสิ่งที่เรียนไปแล้ว เพื่อทราบว่าผู้เรียนพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด ครูควรปรับปรุงการสอนอย่างไรต่อไป
การสอนเกมทางภาษา (Language games)
เกมทางภาษา หมายถึง กิจกรรมทางภาษาที่จัดขึ้นเพื่อทดสอบ และเสริมสมรรถภาพในการเรียนภาษา โดยเน้นหนักในการผ่อนคลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ทั้งในรายบุคคลและสมาชิกในกลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เรื่องศักดิ์ อำไพพันธ์ (2535 : 1 – 12) กล่าวถึงประโยชน์ และประเภทของเกมทางภาษาว่า เกมทางภาษามีประโยชน์ในการเรียนการสอนมาก เพราะ
1. ทำให้เนื้อหากระจ่าง ง่ายต่อการเข้าใจ
2. ช่วยเสริมสมรรถภาพในการสอนของครู
3. ใช้ทดสอบความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
4. ช่วยเร้าให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน
5. ช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม คนเก่งได้ช่วยเหลือคนอ่อน
6. ปรับใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย
7. ใช้ได้ทั้งรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
8. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน กล้าแสดงออก อยากร่วมกิจกรม
9. ช่วยเสริมทักษะทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถใช้ในทุกลำดับขั้นของการสอน
10. ใช้ได้หลายสถานการณ์ ทั้งในห้องเรียน กิจกรรมชมรม งานสร้างสรรค์ การทัศนาจร
เกมทางภาษาแบ่งได้เป็น
1. Number Games เกมที่เสริมความรู้ ฝึกความจำ ตลอดจนปฏิภาณและความเร็วในการคิดเกี่ยวกับตัวเลข
2. Vocabulary Games เกมที่ใช้ทดสอบความจำและความรู้เดิมด้านภาษา ทั้งการออกเสียง การสะกดคำ ความหมาย และ part of speech
3. Structure Games เกมที่ฝึกเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของภาษา
4. Spelling Games เกมที่ช่วยเสริมความสามารถในการจำคำศัพท์และเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้อง
5. Conversation Games เกมที่ช่วยสรุปเนื้อหาระหว่างผู้พูดและผู้ฟังให้สามารถเก็บใจความและสื่อความหมาย
6. Writing Games เกมที่ช่วยเสริมทักษะในการเขียนMiscellaneous Games เกมที่แยกออกมาเป็นกลุ่มพิเศษ ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นละคร การโต้วาที กิจกรรมในงานสังสรรค์ เป็นต้น
1. หลักสูตรภาษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Lerner – Centered Language Curriculum)
2. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)
3. การสอนภาษาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Language for Specific Purposes)
4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)
5. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
6. การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content-Based Instruction)
7. การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)
8. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning)
9. การเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (Task-Based Language)
10. การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
11. วิธีการสอนด้วยการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response)
12. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไฟร์แม็ทซิสเต็ม (4 MATS Language System)
กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
การที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ มีความสามารถ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้นั้น ครูต้องมีเทคนิค วิธีการ ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปว่า ปัญหาที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ประสบในการจัดห้องเรียนมี 3 ประการ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 1 – 3)
1. การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากใช้ภาษาอังกฤษในห้อง
2. การไม่สามารถจัดบรรยากาศในห้องเรียนได้ตามที่คาดหวัง เพราะวัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะ ไม่เพียงพอ ผู้เรียนมีระดับความรู้ต่างกัน
3. การแสดงบทบาทของครูในการสอนห้องเรียนเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เพราะมีการเน้นการสอนเนื้อหามากเกินไป
เทคนิควิธีการที่สำคัญที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรรู้และนำไปใช้มีดังนี้
การสอนทักษะการฟัง (Listening)
คนมักเข้าใจว่าการฟังเกิดขึ้นเองเมื่อผู้เรียนต้องเผชิญกับภาษานั้นโดยไม่ต้องมีการเรียนการสอน แต่ความจริงแล้วการฟังเพื่อความเข้าใจในการเรียนการสอนภาษาที่สองเป็นทักษะอันดับแรกที่ต้องได้รับการฝึกฝน การสอนฟังอาจใช้การสอนแบบ Bottom up คือ สอนเป็นลำดับขั้นตอน ค่อยเรียนรู้ทีละน้อย จนเกิดความเข้าใจในที่สุด หรืออาจสอนแบบ Top down คือ การให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ต่อเนื่องจากพื้นฐานหรือประสบการณ์ของตน
การสอนฟังผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้ฟังสามารถแยกเสียงที่ได้รับฟัง รับรู้ และเข้าใจความหมายเรื่องที่ฟัง วิธีสอนที่ใช้กันทั่วไปในการสอนฟังมีกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมก่อนฟัง กิจกรรมขณะฟัง และกิจกรรมหลังฟัง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 12 – 13)
การสอนออกเสียง (Pronunciation)
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะสอนคำศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammy) และฝึกผู้เรียนเรื่องการสนทนา ให้ทำกิจกรรมฝึกต่าง ๆ เพื่อให้มีความสามารถในการฟังและอ่านได้ แต่จะสอนเรื่องการออกเสียงอย่างจริงจังน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรู้สึกอึดอัดที่จะสอนเรื่องการออกเสียง หรืออาจรู้สึกว่าการสอนออกเสียงเป็นการสร้างปัญหาระหว่างการเรียนการสอน จึงมักปล่อยให้นักเรียนฝึกออกเสียงกันเอง ในขณะที่เรียนเรื่องอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วการเน้นสอนออกเสียงไม่เพียงแต่ทำให้ผู้เรียนตระหนักในเรื่องความแตกต่างของเสียง ลักษณะของเสียง และความหมายของเสียงเท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้อย่างมาก การให้ความสนใจในเรื่องเสียงที่เปล่งออกมาจากส่วนต่าง ๆ ภายในปาก ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าควรลงเสียงหนักเบาในตำแหน่งใดของคำ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจภาษาพูด (Spoken – English) และพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาได้ (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 14)
การสอนออกเสียงมักพบปัญหาที่ครูผู้สอนต้องแก้ไข 3 เรื่อง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 15 – 16)
1. สิ่งที่ผู้เรียนได้ยิน เพราะผู้เรียนบางคนไม่สามารถแยกความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจเป็นเพราะเสียงนั้นไม่มีในภาษาเดิมของเขา ทำให้ฟังเสียงที่แตกต่างเป็นเสียงเดียวกัน ผู้สอนต้องพยายามให้เขารับรู้ความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจทำโดยการแสดงแผนภาพ แผนภูมิ การสาธิตและการอธิบาย เพื่อฝึกหูของผู้ฟังทีละน้อย จนกระทั่งเขาสามารถแยกเสียงที่แตกต่างกันได้
2. การออกเสียงสูง – ต่ำ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนรู้จักการจำแนกอารมณ์ (Moods) และความตั้งใจ (Intention) โดยใช้แถบเสียง (Tape) หรือพูดให้ฟัง เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตว่าคนพูดภาษาอังกฤษกันอย่างไรในอารมณ์ ความรู้สึก และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
3. ตัวอักษรแทนเสียง (The Phonetics Alphabet) ผู้เรียนภาษาอังกฤษจำนวนมากมีปัญหาในการออกเสียงตัวสะกด จึงจำเป็นต้องรู้จักหน่วยเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการรับรู้เหล่านี้คือ การนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ (Phonetics Symbol) ซึ่งเมื่อผู้เรียนสามารถอ่านสัญลักษณ์ได้ก็จะสามารถรับรู้ว่าคำถามเหล่านั้นออกเสียงอย่างไร การสอนออกเสียงอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
Whole Lessons คือ การที่ครูสอนเน้นเรื่อง Stress และ Intonation ขณะดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนฝึกจำรูปแบบการออกเสียงสูง – ต่ำ ออกเสียงวลีที่จำเป็น แล้วพัฒนาต่อไปจนสามารถแสดงละครสั้น ๆ ได้
Discrete Slots คือ การแทรกกิจกรรมการออกเสียงสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องกันลงในบทเรียน ทั้งในรูปแบบฝึกเสียงเดี่ยว และฝึกเสียงคู่ที่แตกต่างกัน ในช่วงสั้น ๆ ขณะสอนภาษาอังกฤษ
Integrated Phases คือ การที่กำหนดให้การออกเสียงเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน โดยให้ฟังเทปแล้วฝึกออกเสียงตามให้ถูกต้อง
Opportunistic Phases เป็นการสอนออกเสียงคำบางคำที่น่าสนใจขณะสอนไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ โดยไม่ต้องใช้เวลามาก
การสอนไวยากรณ์ (Grammar)
ไวยากรณ์ (Grammar) เป็นกระบวนการทางภาษาที่จะควบคุม และรวบรวมคำเพื่อก่อให้เกิดหน่วยของความหมายที่ยาวขึ้น ไวยากรณ์จึงเป็นตัวกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของกิจกรรมในห้องเรียนที่มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้ชั่วคราว เพื่อให้มองเห็นผลได้ในระยะยาว เพราะการใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วควรเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้เรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลายในระยะยาว (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 19 – 20)
การสอนไวยากรณ์ผู้สอนต้องนำเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ในขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การนำเสนอ (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและความหมายทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน
2. การสอนเป็นตอน ๆ และการอธิบาย (Isolation and Explanation) เป็นการเน้นเรื่องส่วนประกอบของไวยากรณ์ ทั้งด้านการออกเสียง รูปแบบ ความหมาย และหน้าที่ หรือกฎเกณฑ์ ในบางชั้นเรียนครูอาจจำเป็นต้องอธิบาย แปล หรือทำให้เห็นภาพรวมโดยใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน
3. การฝึกฝน (Practice) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างภาษาได้อย่างลึกซึ้ง ครูควรจัดให้มีแบบฝึกหัดทั้งที่ให้ทำในชั้นเรียน และที่ให้ทำเป็นการบ้าน ให้มีความหลากหลายครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน
4. การทดสอบ (Test) เป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับในสิ่งที่เรียนไปแล้ว เพื่อทราบว่าผู้เรียนพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด ครูควรปรับปรุงการสอนอย่างไรต่อไป
การสอนเกมทางภาษา (Language games)
เกมทางภาษา หมายถึง กิจกรรมทางภาษาที่จัดขึ้นเพื่อทดสอบ และเสริมสมรรถภาพในการเรียนภาษา โดยเน้นหนักในการผ่อนคลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ทั้งในรายบุคคลและสมาชิกในกลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เรื่องศักดิ์ อำไพพันธ์ (2535 : 1 – 12) กล่าวถึงประโยชน์ และประเภทของเกมทางภาษาว่า เกมทางภาษามีประโยชน์ในการเรียนการสอนมาก เพราะ
1. ทำให้เนื้อหากระจ่าง ง่ายต่อการเข้าใจ
2. ช่วยเสริมสมรรถภาพในการสอนของครู
3. ใช้ทดสอบความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
4. ช่วยเร้าให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน
5. ช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม คนเก่งได้ช่วยเหลือคนอ่อน
6. ปรับใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย
7. ใช้ได้ทั้งรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
8. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน กล้าแสดงออก อยากร่วมกิจกรม
9. ช่วยเสริมทักษะทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถใช้ในทุกลำดับขั้นของการสอน
10. ใช้ได้หลายสถานการณ์ ทั้งในห้องเรียน กิจกรรมชมรม งานสร้างสรรค์ การทัศนาจร
เกมทางภาษาแบ่งได้เป็น
1. Number Games เกมที่เสริมความรู้ ฝึกความจำ ตลอดจนปฏิภาณและความเร็วในการคิดเกี่ยวกับตัวเลข
2. Vocabulary Games เกมที่ใช้ทดสอบความจำและความรู้เดิมด้านภาษา ทั้งการออกเสียง การสะกดคำ ความหมาย และ part of speech
3. Structure Games เกมที่ฝึกเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของภาษา
4. Spelling Games เกมที่ช่วยเสริมความสามารถในการจำคำศัพท์และเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้อง
5. Conversation Games เกมที่ช่วยสรุปเนื้อหาระหว่างผู้พูดและผู้ฟังให้สามารถเก็บใจความและสื่อความหมาย
6. Writing Games เกมที่ช่วยเสริมทักษะในการเขียนMiscellaneous Games เกมที่แยกออกมาเป็นกลุ่มพิเศษ ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นละคร การโต้วาที กิจกรรมในงานสังสรรค์ เป็นต้น
การสร้างแบบฝึก
จิตวิทยาการเรียนรู้กับแบบฝึก
การสร้างแบบฝึกจำเป็นต้องใช้หลักจิตวิทยาเพื่อให้ได้แบบฝึกที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับนักเรียน หลักจิตวิทยาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกมีหลายประการ ดังที่ กรรณิการ์ พวงเกษมได้แนะนำหลักจิตวิทยาที่ควรนำมาสร้างแบบฝึกไว้ในเรื่อง ปัญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษาดังนี้
1) ความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องสังเกตความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะแต่ละบุคคลมีความถนัดแตกต่างกัน การฝึกทักษะควรมีหลายรูปแบบไม่ยากหรือง่ายเกินไป
2) การเรียนรู้โดยการฝึกฝนของธอร์นไดค์ (Thorn dike) การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น วิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ การฝึกบ่อย ๆ ความชำนาญจะเกิดขึ้น เขียนคำผิดน้อยลง
3) กฎแห่งการนำไปใช้ การเรียนรู้จะเกิดผลดีเมื่อนำความรู้นั้นไปใช้ วิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ ในการจัดการเรียนการสอนควรฝึกบ่อย ๆ นักเรียนจะเกิดความคล่องแคล่วหรือเกิดทักษะ
ลักษณะของแบบฝึก
1) ความสำคัญของแบบฝึก
การเขียนสะกดคำเป็นวิชาทักษะ จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและทำกิจกรรมเพื่อฝึกฝนความรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องจัดทำแบบฝึกให้แก่นักเรียนเพื่อให้ได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่และเปการส่งเสริมความสามารถในการเขียนให้ดียิ่งขึ้น การสร้างแบบฝึกครูควรคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามความต้องการ เชาวนี เกิดเพทางค์ (2524 : 17) ได้สรุปคุณประโยชน์ของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึกเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและช่วยให้ครูทราบผลการเรียนของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และวีระ ไทยพานิชย์ (2528 : 11) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกพอสรุปได้ว่าแบบฝึกเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการกระทำจริง เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายแน่นอน ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน สามารถเรียนรู้แจดจำสิ่งที่เรียนได้ดีและทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี และนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้ และ ไพรัตน์ อนุพันธ์ (2535 : 26) กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกว่า ความสำคัญของแบบฝึกต่อการเขียนสะกดคำเป็นสิ่งจำเป็นมาก ครูผู้สอนต้องพยายามหาแบบฝึกหรือสร้างแบบฝึกทีมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสนใจยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า แบบฝึกเป็นสื่อการเรียนที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทักษะ นอกจากจะช่วยให้ครูผู้สอนสอนง่ายขึ้น ยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
2) หลักในการสร้างแบบฝึก
ดังที่ได้กล่าวว่าวิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสร้างแบบฝึกจะต้องสร้างให้เหมาะสมตามกระบวนการในการฝึก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ฝึก ซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการสร้างดังนี้
มานะ สกุลภักดี (2521 : 241 – 242 ) กล่าวถึงแบบฝึกตามรูปแบบของโครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน(reduced instructional time RIT) ว่ามี 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 คือแบบฝึกทักษะ เป็นวิธีการที่นำไปใช้ในการสอนวิชาทักษะเช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เป็นต้น
แบบที่ 2 เป็นแบบที่ใช้ฝึกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดเป็นวิธีการสอนที่จะนำไปใช้ในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา เป็นต้น
ศรีประภา ปาลสิทธิ์ (2522 : 22) ได้เสนอแนวทางในการสร้างแบบฝึกไว้ดังนี้
(1) สร้างแบบฝึกให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียนคือไม่ง่ายและยากจนเกินไป
(2) เรียงลำดับแบบฝึกจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากการฝึกการออกเสียงเป็นพยางค์ คำ วลี ประโยค และคำประพันธ์
(3) แบบฝึกใช้ภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กประสบผลสำเร็จในการฝึก และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
(4) แบบฝึกที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ
(5) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย แบบฝึกจะต้องมีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ประสบคำจากภาพ เล่นกับบัตรภาพ ฝึกร้องเพลง และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ เป็นต้น
เพียงจิต อึ้งโพธิ์ (2529 : 29) ได้เสนอแนวทางและหลักการในการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำพ้องเสียงเพื่อให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดความสนใจว่า
(1) สร้างแบบฝึกให้มีหลายรูปแบบ เช่น การให้เติมคำ การให้จับคู่ ต่อเติมตารางอักษร เลือกผลไม้ การใช้เพลง และเกมประกอบการเรียนการสอน
(2) คำนึงถึงความยากง่ายของคำที่นำมาฝึก ควรเริ่มต้นจากคำที่ง่ายก่อน คำที่นักเรียนเขียนผิดกันมาก จะนำมาฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้งโดยเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมไม่ให้ซ้ำกันจนนักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย
(3) การฝึกทักษะแม้ว่าจะเน้นทักษะการเขียนสะกดคำ ก็ควรจะเน้นทักษะการฟัง พูด และอ่านไปพร้อม ๆ กัน
(4) เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างแบบฝึกทักษะ เช่น การหาคำพ้องเสียงจากหนังสือแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบในกลุ่มวิชาต่าง ๆ ให้นักเรียนช่วยกันค้นหาความหมายของคำพ้องเสียงจากพจนานุกรม
นอกจากนี้ครูผู้สอนพยายามหากิจกรรมในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งเกม และเพลงประกอบการเรียน ตลอดจนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่น่าสนใจ เพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนสะกดคำพ้องเสียงทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเขียนสะกดคำพ้องเสียงและการเรียนยิ่งขึ้น
คิง(King1979 : 237) ได้กล่าวเสนอแนะการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ คือ
(1) ตรวจสอบ ได้แก่ การตรวจสอบคำที่จะนำมาให้นักเรียนเขียนว่ามีความเหมาะสมและถูกต้อง
(2) ออกเสียง ได้แก่ การให้นักเรียนได้ฝึกออกเสียงของคำที่จะนำมาเขียน ควรฝึกหลาย ๆ ครั้ง ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
(3) สะกดคำ ได้แก่ การฝึกให้นักเรียนสะกดคำที่จะนำมาเขียนด้วยปากเปล่า หัดออกเสียงดัง ๆ ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
(4) เขียน ได้แก่ การนำคำที่นักเรียนสะกดปากเปล่านั้นมาให้นักเรียนเขียนหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญและถูกต้อง
(5) ใช้ ได้แก่ การนำคำนั้นมาฝึกเขียนเป็นประโยค เป็นข้อความ
(6) ทบทวน ได้แก่ การทบทวนตามที่ได้ปฏิบัติมาในทุกขั้นตอน
3) ลักษณะแบบฝึกที่ดี
รัชนีศรี ไพรวรรณ (2520 : 30 – 31 ) ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดีไว้ดังนี้
(1) สร้างแบบฝึกให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของผู้เรียนตามลำดับขั้นการเรียนรู้ แบบฝึกหัดเสริมทักษะนั้นต้องอาศัยรูปภาพจูงใจนักเรียน และควรจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับจากง่ายไปยาก นักเรียนจะมีกำลังใจทำแบบฝึกหัด
(2) มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึกทักษะในด้านใด แล้วจัดเนื้อหาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(3) ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนถ้าสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยตามความสามารถแล้วจึงจัดทำแบบฝึกทักษะ
(4) แบบฝึกที่ดีต้องมีคำชี้แจงง่าย ๆ สั้น ๆ ที่นักเรียนอ่านเข้าใจและทำแบบฝึกได้ด้วยตนเอง
(5) แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง ครูต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทดลองทำด้วยตนเองเสียก่อน อย่าให้มีข้อผิดพลาด
(6) ให้นักเรียนทำแบบฝึกแต่ละครั้งต้องเหมาะสมกับเวลาช่วงความสนใจ
(7) ควรมีหลายรูปแบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ก่อ สวัสดิพานิชย์(2524 : 20) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะแบบฝึกทักษะที่ดีไว้ดังนี้
(1) ครูต้องเตรียมแบบฝึกให้รอบคอบว่าจะใช้แบบฝึกแบบใด และแบบฝึกนั้น ๆ จะช่วยฝึกทักษะทางภาษาจนเด็กสามารถนำทักษะที่ฝึกนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่เพียงไร
(2) ให้แบบฝึกนั้น ๆ แต่หลาย ๆ แบบเพื่อฝึกทักษะในเรื่องเดียวกันเด็กจะไม่เบื่อ แต่เกิดความสนุกสนานและมีความแม่นยำในเรื่องที่ฝึกนั้น
(3) ฝึกในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น จับคู่หัวใจ เก้บผลไม้ ช้อนเป็ดลอยน้ำ
(4) การประเมินปลนั้นต้องประเมินผลเพื่อดูความก้าวหน้าของเด็กและเพื่อประเมินค่าแบบฝึกว่าช่วยให้เด็กก้าวหน้าเพียงไร ถ้าเด็กไม่มีความก้าวหน้าครูต้องสนใจที่จะค้นหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร
(5) การประเมินผลนั้นไม่ควรนำเด็กไปเทียบกับกลุ่ม แต่ควรให้เด็กเปรียบเทียบกับตนเอง
การที่จะสร้างแบบฝึกให้ดีมีประสิทธิภาพครูจะต้องคำนึงถึงตัวนักเรียนเป็นสำคัญ โดยดูความพร้อมระดับสติปัญญา ความสามารถ และความเหมาะสมในการใช้สำนวนภาษา ตลอดจนเนื้อหาและระยะเวลาในการทำแบบฝึก ซึ่งจะทำให้นักเรียนสนใจที่จะนำเอาแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นมาแก้ไขข้อบกพร่อหรือส่งเสริมทักษะทางภาให้ดียิ่งขึ้น ธูปทอง ปราบพล (252 : 15) ได้ชี้แนวทางในการสร้างแบบฝึกที่ดีว่า ควรสร้างแบบฝึกหลาย ๆ แบบ โดยคำนึงถึงเนื้อหา ความยากง่ายและระยะเวลาในการฝึก นอกจากนั้นต้องฝึกทักษะการออกเสียง อ่านก่อนฝึกทักษะการเขียนและจึงฝึกรวมกันทั้งทักษะการอ่านและการเขียนในภายหลัง ต่อมา ประชุมพร สุวรรณตรา(2528 : 61) ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับลักษณะแบบฝึกที่ดีว่า มีคำสั่งและคำอธิบายอย่างชัดเจนมีตัวอย่างที่ให้ความคิดหลายแนว มีภาพประกอบ เส้นบรรทัดที่เว้นให้เติมมีขนาดพอเหมาะ และการวางฟอร์มเป็นระเบียบสวยงาม และโรจนา แสงรุ่งรวี (2531 : 22) กล่าวว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดีจะต้องมีคำอธิบายชัดเจนเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาฝึกไม่นานจนเกินไป มีหลายรูปแบบและฝึกเพียงเรื่องเดียวในแบบฝึกหนึ่ง คำศัพท์ที่ใช้ฝึกสามารถนำไปชในชีวิตประจำวันได้และสามารเรียนได้ด้วยตนเอง
1.3.3 ลักษณะของแบบทดสอบสำหรับแบบฝึก
วิเชียร เกตุสิงห์ ได้เสนอแนะเกี่ยวกับแบบทดสอบการเขียนสะกดคำไว้ในเรื่อง หลักการสร้างและวิเคราะห์ข้อสอบว่า
การทดสอบสะกดคำ(spelling) แทนที่จะให้นักเรียนเขียน ก็เปลี่ยนมาใช้วิธีเขียนให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนตัดสินใจว่าคำเขียนผิดคำใดเขียนถูกดีกว่าการเขียนตามคำบอก เพราะว่าการเขียนตามคำบอกนั้นเกี่ยวกับเรื่องการฟังด้วย ส่วนการเขียนสะกดคำไม่เกี่ยวกับการฟังเลย การเขียนตามคำบอก (dictation) นั้นนักเรียนมีประสาทหูไม่ดีก็จะผิดพลาดได้ง่าย ทั้ง ๆ ที่คำที่เขียนผิดนั้นนักเรียนอาจจะรู้ดี แต่เผอิญฟังผิดไปเลยทำให้เขียนผิดก็อาจเป็นได้ การทดสอบการสะกดคำอาจทำได้โดยใช้ข้อสอบแบบเลือกหาคำตอบที่เขียนผิดจากข้อสอบแต่ละข้อซึ่งมีตัวเลือกล้วน สายยศและอังคณา สายยศ ได้กล่าวถึงการกำหนดตัวเลือกในแบบทดสอบแต่ละข้อในเรื่องเทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ว่าการกำหนดตัวเลือก ตามธรรมดาตัวเลือกมาจากทำให้โอกาสการเดาน้อยลงการใช้ความคิดมากขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นระดับเด็ก ๆ อาจใช้เพียง 3 ตัว เลือก ชั้นประถมศึกษากำหนด 4 ตัวเลือก แต่แบบทดสอบมาตรฐานทั่ว ๆ ไปจะใช้ 4 – 5 ตัวเลือกมากที่สุด จากงานวิจัยถ้ากรณีตัวเลือกวิเคราะห์ แล้วเห็นว่ามีคุณภาพสูง จะใช้ 3 ตัวเลือก 4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก ก็ได้ ไม่ทำให้คุณภาพของแบบทดสอบแตกต่างกันมาก
การสร้างแบบฝึกจำเป็นต้องใช้หลักจิตวิทยาเพื่อให้ได้แบบฝึกที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับนักเรียน หลักจิตวิทยาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกมีหลายประการ ดังที่ กรรณิการ์ พวงเกษมได้แนะนำหลักจิตวิทยาที่ควรนำมาสร้างแบบฝึกไว้ในเรื่อง ปัญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษาดังนี้
1) ความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องสังเกตความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะแต่ละบุคคลมีความถนัดแตกต่างกัน การฝึกทักษะควรมีหลายรูปแบบไม่ยากหรือง่ายเกินไป
2) การเรียนรู้โดยการฝึกฝนของธอร์นไดค์ (Thorn dike) การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น วิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ การฝึกบ่อย ๆ ความชำนาญจะเกิดขึ้น เขียนคำผิดน้อยลง
3) กฎแห่งการนำไปใช้ การเรียนรู้จะเกิดผลดีเมื่อนำความรู้นั้นไปใช้ วิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ ในการจัดการเรียนการสอนควรฝึกบ่อย ๆ นักเรียนจะเกิดความคล่องแคล่วหรือเกิดทักษะ
ลักษณะของแบบฝึก
1) ความสำคัญของแบบฝึก
การเขียนสะกดคำเป็นวิชาทักษะ จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและทำกิจกรรมเพื่อฝึกฝนความรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องจัดทำแบบฝึกให้แก่นักเรียนเพื่อให้ได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่และเปการส่งเสริมความสามารถในการเขียนให้ดียิ่งขึ้น การสร้างแบบฝึกครูควรคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามความต้องการ เชาวนี เกิดเพทางค์ (2524 : 17) ได้สรุปคุณประโยชน์ของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึกเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและช่วยให้ครูทราบผลการเรียนของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และวีระ ไทยพานิชย์ (2528 : 11) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกพอสรุปได้ว่าแบบฝึกเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการกระทำจริง เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายแน่นอน ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน สามารถเรียนรู้แจดจำสิ่งที่เรียนได้ดีและทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี และนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้ และ ไพรัตน์ อนุพันธ์ (2535 : 26) กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกว่า ความสำคัญของแบบฝึกต่อการเขียนสะกดคำเป็นสิ่งจำเป็นมาก ครูผู้สอนต้องพยายามหาแบบฝึกหรือสร้างแบบฝึกทีมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสนใจยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า แบบฝึกเป็นสื่อการเรียนที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทักษะ นอกจากจะช่วยให้ครูผู้สอนสอนง่ายขึ้น ยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
2) หลักในการสร้างแบบฝึก
ดังที่ได้กล่าวว่าวิชาภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสร้างแบบฝึกจะต้องสร้างให้เหมาะสมตามกระบวนการในการฝึก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ฝึก ซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการสร้างดังนี้
มานะ สกุลภักดี (2521 : 241 – 242 ) กล่าวถึงแบบฝึกตามรูปแบบของโครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน(reduced instructional time RIT) ว่ามี 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 คือแบบฝึกทักษะ เป็นวิธีการที่นำไปใช้ในการสอนวิชาทักษะเช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เป็นต้น
แบบที่ 2 เป็นแบบที่ใช้ฝึกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดเป็นวิธีการสอนที่จะนำไปใช้ในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา เป็นต้น
ศรีประภา ปาลสิทธิ์ (2522 : 22) ได้เสนอแนวทางในการสร้างแบบฝึกไว้ดังนี้
(1) สร้างแบบฝึกให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียนคือไม่ง่ายและยากจนเกินไป
(2) เรียงลำดับแบบฝึกจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากการฝึกการออกเสียงเป็นพยางค์ คำ วลี ประโยค และคำประพันธ์
(3) แบบฝึกใช้ภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กประสบผลสำเร็จในการฝึก และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
(4) แบบฝึกที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ
(5) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย แบบฝึกจะต้องมีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ประสบคำจากภาพ เล่นกับบัตรภาพ ฝึกร้องเพลง และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ เป็นต้น
เพียงจิต อึ้งโพธิ์ (2529 : 29) ได้เสนอแนวทางและหลักการในการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำพ้องเสียงเพื่อให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดความสนใจว่า
(1) สร้างแบบฝึกให้มีหลายรูปแบบ เช่น การให้เติมคำ การให้จับคู่ ต่อเติมตารางอักษร เลือกผลไม้ การใช้เพลง และเกมประกอบการเรียนการสอน
(2) คำนึงถึงความยากง่ายของคำที่นำมาฝึก ควรเริ่มต้นจากคำที่ง่ายก่อน คำที่นักเรียนเขียนผิดกันมาก จะนำมาฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้งโดยเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมไม่ให้ซ้ำกันจนนักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย
(3) การฝึกทักษะแม้ว่าจะเน้นทักษะการเขียนสะกดคำ ก็ควรจะเน้นทักษะการฟัง พูด และอ่านไปพร้อม ๆ กัน
(4) เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างแบบฝึกทักษะ เช่น การหาคำพ้องเสียงจากหนังสือแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบในกลุ่มวิชาต่าง ๆ ให้นักเรียนช่วยกันค้นหาความหมายของคำพ้องเสียงจากพจนานุกรม
นอกจากนี้ครูผู้สอนพยายามหากิจกรรมในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งเกม และเพลงประกอบการเรียน ตลอดจนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่น่าสนใจ เพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนสะกดคำพ้องเสียงทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเขียนสะกดคำพ้องเสียงและการเรียนยิ่งขึ้น
คิง(King1979 : 237) ได้กล่าวเสนอแนะการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ คือ
(1) ตรวจสอบ ได้แก่ การตรวจสอบคำที่จะนำมาให้นักเรียนเขียนว่ามีความเหมาะสมและถูกต้อง
(2) ออกเสียง ได้แก่ การให้นักเรียนได้ฝึกออกเสียงของคำที่จะนำมาเขียน ควรฝึกหลาย ๆ ครั้ง ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
(3) สะกดคำ ได้แก่ การฝึกให้นักเรียนสะกดคำที่จะนำมาเขียนด้วยปากเปล่า หัดออกเสียงดัง ๆ ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
(4) เขียน ได้แก่ การนำคำที่นักเรียนสะกดปากเปล่านั้นมาให้นักเรียนเขียนหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญและถูกต้อง
(5) ใช้ ได้แก่ การนำคำนั้นมาฝึกเขียนเป็นประโยค เป็นข้อความ
(6) ทบทวน ได้แก่ การทบทวนตามที่ได้ปฏิบัติมาในทุกขั้นตอน
3) ลักษณะแบบฝึกที่ดี
รัชนีศรี ไพรวรรณ (2520 : 30 – 31 ) ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดีไว้ดังนี้
(1) สร้างแบบฝึกให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของผู้เรียนตามลำดับขั้นการเรียนรู้ แบบฝึกหัดเสริมทักษะนั้นต้องอาศัยรูปภาพจูงใจนักเรียน และควรจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับจากง่ายไปยาก นักเรียนจะมีกำลังใจทำแบบฝึกหัด
(2) มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึกทักษะในด้านใด แล้วจัดเนื้อหาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(3) ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนถ้าสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยตามความสามารถแล้วจึงจัดทำแบบฝึกทักษะ
(4) แบบฝึกที่ดีต้องมีคำชี้แจงง่าย ๆ สั้น ๆ ที่นักเรียนอ่านเข้าใจและทำแบบฝึกได้ด้วยตนเอง
(5) แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง ครูต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทดลองทำด้วยตนเองเสียก่อน อย่าให้มีข้อผิดพลาด
(6) ให้นักเรียนทำแบบฝึกแต่ละครั้งต้องเหมาะสมกับเวลาช่วงความสนใจ
(7) ควรมีหลายรูปแบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ก่อ สวัสดิพานิชย์(2524 : 20) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะแบบฝึกทักษะที่ดีไว้ดังนี้
(1) ครูต้องเตรียมแบบฝึกให้รอบคอบว่าจะใช้แบบฝึกแบบใด และแบบฝึกนั้น ๆ จะช่วยฝึกทักษะทางภาษาจนเด็กสามารถนำทักษะที่ฝึกนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่เพียงไร
(2) ให้แบบฝึกนั้น ๆ แต่หลาย ๆ แบบเพื่อฝึกทักษะในเรื่องเดียวกันเด็กจะไม่เบื่อ แต่เกิดความสนุกสนานและมีความแม่นยำในเรื่องที่ฝึกนั้น
(3) ฝึกในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น จับคู่หัวใจ เก้บผลไม้ ช้อนเป็ดลอยน้ำ
(4) การประเมินปลนั้นต้องประเมินผลเพื่อดูความก้าวหน้าของเด็กและเพื่อประเมินค่าแบบฝึกว่าช่วยให้เด็กก้าวหน้าเพียงไร ถ้าเด็กไม่มีความก้าวหน้าครูต้องสนใจที่จะค้นหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร
(5) การประเมินผลนั้นไม่ควรนำเด็กไปเทียบกับกลุ่ม แต่ควรให้เด็กเปรียบเทียบกับตนเอง
การที่จะสร้างแบบฝึกให้ดีมีประสิทธิภาพครูจะต้องคำนึงถึงตัวนักเรียนเป็นสำคัญ โดยดูความพร้อมระดับสติปัญญา ความสามารถ และความเหมาะสมในการใช้สำนวนภาษา ตลอดจนเนื้อหาและระยะเวลาในการทำแบบฝึก ซึ่งจะทำให้นักเรียนสนใจที่จะนำเอาแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นมาแก้ไขข้อบกพร่อหรือส่งเสริมทักษะทางภาให้ดียิ่งขึ้น ธูปทอง ปราบพล (252 : 15) ได้ชี้แนวทางในการสร้างแบบฝึกที่ดีว่า ควรสร้างแบบฝึกหลาย ๆ แบบ โดยคำนึงถึงเนื้อหา ความยากง่ายและระยะเวลาในการฝึก นอกจากนั้นต้องฝึกทักษะการออกเสียง อ่านก่อนฝึกทักษะการเขียนและจึงฝึกรวมกันทั้งทักษะการอ่านและการเขียนในภายหลัง ต่อมา ประชุมพร สุวรรณตรา(2528 : 61) ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับลักษณะแบบฝึกที่ดีว่า มีคำสั่งและคำอธิบายอย่างชัดเจนมีตัวอย่างที่ให้ความคิดหลายแนว มีภาพประกอบ เส้นบรรทัดที่เว้นให้เติมมีขนาดพอเหมาะ และการวางฟอร์มเป็นระเบียบสวยงาม และโรจนา แสงรุ่งรวี (2531 : 22) กล่าวว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดีจะต้องมีคำอธิบายชัดเจนเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาฝึกไม่นานจนเกินไป มีหลายรูปแบบและฝึกเพียงเรื่องเดียวในแบบฝึกหนึ่ง คำศัพท์ที่ใช้ฝึกสามารถนำไปชในชีวิตประจำวันได้และสามารเรียนได้ด้วยตนเอง
1.3.3 ลักษณะของแบบทดสอบสำหรับแบบฝึก
วิเชียร เกตุสิงห์ ได้เสนอแนะเกี่ยวกับแบบทดสอบการเขียนสะกดคำไว้ในเรื่อง หลักการสร้างและวิเคราะห์ข้อสอบว่า
การทดสอบสะกดคำ(spelling) แทนที่จะให้นักเรียนเขียน ก็เปลี่ยนมาใช้วิธีเขียนให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนตัดสินใจว่าคำเขียนผิดคำใดเขียนถูกดีกว่าการเขียนตามคำบอก เพราะว่าการเขียนตามคำบอกนั้นเกี่ยวกับเรื่องการฟังด้วย ส่วนการเขียนสะกดคำไม่เกี่ยวกับการฟังเลย การเขียนตามคำบอก (dictation) นั้นนักเรียนมีประสาทหูไม่ดีก็จะผิดพลาดได้ง่าย ทั้ง ๆ ที่คำที่เขียนผิดนั้นนักเรียนอาจจะรู้ดี แต่เผอิญฟังผิดไปเลยทำให้เขียนผิดก็อาจเป็นได้ การทดสอบการสะกดคำอาจทำได้โดยใช้ข้อสอบแบบเลือกหาคำตอบที่เขียนผิดจากข้อสอบแต่ละข้อซึ่งมีตัวเลือกล้วน สายยศและอังคณา สายยศ ได้กล่าวถึงการกำหนดตัวเลือกในแบบทดสอบแต่ละข้อในเรื่องเทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ว่าการกำหนดตัวเลือก ตามธรรมดาตัวเลือกมาจากทำให้โอกาสการเดาน้อยลงการใช้ความคิดมากขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นระดับเด็ก ๆ อาจใช้เพียง 3 ตัว เลือก ชั้นประถมศึกษากำหนด 4 ตัวเลือก แต่แบบทดสอบมาตรฐานทั่ว ๆ ไปจะใช้ 4 – 5 ตัวเลือกมากที่สุด จากงานวิจัยถ้ากรณีตัวเลือกวิเคราะห์ แล้วเห็นว่ามีคุณภาพสูง จะใช้ 3 ตัวเลือก 4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก ก็ได้ ไม่ทำให้คุณภาพของแบบทดสอบแตกต่างกันมาก
การเขียนสะกดคำ
ความหมายของการเขียนสะกดคำ
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเขียนสะกดคำไว้ดังนี้
เว็บสเตอร์(Webster) กล่าวว่า การเขียนสะกดคำคือศิลปะหรือเทคนิคในการสร้างคำโดยใช้อักษรตามแบบที่สังคมยอมรับ
อดุลย์ ไทรเล็กพิม (2528 : 63) ได้ให้ความหมายของการสะกดคำว่า เป้นการเขียนโดยเรียงลำดับ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รวมทั้งตัวสะกดการันต์ ภายในคำหนึ่ง ๆ ได้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
อรพรรณ ภิญโญภาพ (2529 : 14) ได้อธิบายว่า การเขียนสะกดคำ เป้นการฝึกทักษะการเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแก่ผู้เรียน และจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจขบวนการประสมคำ รู้หลักเกณฑ์ที่จะเรียบเรียงลำดับตัวอักษรในคำหนึ่ง ๆ ให้ได้ความหมายที่ต้องการ เพื่อจะนำประโยชน์ไปใช้ในการสื่อสาร
จากความหมายของการเขียนสะกดคำที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การเขียนสะกดคำ หมายถึง การเขียนโดยเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดเป็นคำได้อย่างถูกหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง
ความสำคัญของการเขียนสะกดคำ
การเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง มีความสำคัญในเรื่องการสื่อความหมายหากเขียนสะกดผิดพลาด จำทำให้การสื่อความหมายผิดเพี้ยนไป เข้าใจไม่ตรงกัน ความสำคัญของการสะกดคำได้มีนักการศึกษาให้ความหมายสำคัญดังต่อไปนี้
วัฒนา บุรกสิกร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสะกดคำไว้ในเอกสารประกอบคำบรรยายการใช้ภาษาไทยเรื่อง วิธีใช้ภาษาไทยว่า “เรื่องของการเขียน ตัวสะกด เป็นเรื่องสำคัญมากต้องระมัดระวังเป็นที่สุด เพราะการเขียนสะกดผิด นอกจากจะผิดหลักอักขรวิธีแล้ว ยังทำให้สื่อความหมายที่เข้าใจกันไม่ได้อีกด้วย”
บุปผา บุญทิพย์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการเรียนการสอนสะกดคำในเรื่องความรู้ทั่วไปทางภาษาไทยตอน 2 การใช้ภาษาไทยว่า “การเขียนสะกดคำถือว่าเป็นการสื่อสารด้วยการเขียน ถ้าเขียนสะกดคำผิดพลาด การสื่อสารจะไม่ชัดเจน ผู้รับสารจะไม่เข้าใจ หรือทำให้เข้าใจผิด การเขียนคำให้ถูกต้องตามอักขรวิธีจึงต้องฝึกฝนและระมัดระวังอย่าละเลย”
นิตยา กาญจนะวรรณ, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์และ ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร กล่าวถึงความสำคัญของการเขียนสะกดคำในเรื่องลักษณะและการใช้ภาษาไทยว่า “การเขีนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญในการสื่อภาษาเขียน ถ้าเขียนผิดย่อมทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
การเขียนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญ ดังที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนเขียนสะกดคำให้ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเขียน
สาเหตุที่ทำให้เขียนสะกดคำผิด
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเขียนสะกดคำผิดไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า เขียนสะกดคำผิดเป็นเพราะดังนี้
1) ใช้แนวเทียบผิด
2) ไม่สนใจในการเขียนว่าจะผิดหรือถูก
3) ไม่ได้ศึกษาว่าคำใดเขียนอย่างไรจึงถูก เวลาสงสัยก็ไม่เคยใช้พจนานุกรม จึงไม่มีโอกาส ได้จดจำคำที่ถูกตามพจนานุกรมไว้ใช้
4) มีการแก้ไขภาษาและพจนานุกรมที่ทำให้นักเรียนกำหนดแบบอย่างที่ถูกต้องได้ยาก
5) ขาดการฝึกโดยเฉพาะในการเขียนตามคำบอก
6) เห็นแต่แบบแผนที่ไม่ถูกต้องตลอดเวลา
7) ขาดความรู้ในเรื่องรูปศัพท์เดิม
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเขียนสะกดคำไว้ในหลักภาษาไทยว่า
1) เขียนผิดเพราะไม่ทราบความหมายของคำ เช่น ครุภัณฑ์ เขียนเป็น ครุพัน บิณฑบาต เขียนเป็นบิณฑบาตร์ เป็นต้น
2) เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น จำนง เขียนเป็นจำนงค์ เพราะเทียบกับคำว่า องค์ ดอกจัน เขียนเป็นดอกจันทร์ เพราะเทียบกับคำว่าดวงจันทร์
3) เขียนผิดเพราะออกเสียงผิด เช่น กรวดน้ำ เป็นตรวจน้ำ เพราะออกเสียงอย่างนั้น หยิบหย่ง เป็น หยิบโหย่ง
4) เขียนผิดเราะมีประสบการณ์มาผิด เช่น คำว่าประณีต เขียนเป็นปราณีต เพราะจำมาจากหนังสือพิมพ์
5) เขียนผิดเพราะไม่รู้หลักภาษา เช่น เขียนคำสมาสคำว่าธุรกิจ เป็นธุระกิจ
วิธีสอนการเขียนสะกดคำ
การเขียนสะกดคำ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการสังเกต การจดจำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการสอนให้กับนักเรียนในลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจพยายามฝึกฝนทักษะการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ในการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก จึงต้องอาศัยแนวทางวิธีสอนมาจากเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
อัจฉรา ชีวพันธ์ ได้เสนอแนะวีสอนการเขียนสะกดคำในระดับประถมศึกษา ในเรื่อง ศาสตร์ของการสอนภาษาไทยว่า
1) ต้องจัดอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเพราะภาษาไทยเป็นทักษะที่จะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว ดังนั้นกิจกรรมที่จัดขึ้น จัดให้นักเรียนได้ฝึกทักษะจากสิ่งง่ายไปหายาก
2) ควรจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความต้องการของนักเรียน นักเรียนในระดับประถมศึกษามีความต้องการความสำเร็จครูผู้สอนควรคำนึงถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว เช่น การจัดแข่งขันเขียนคำศัพท์ ควรจัดกิจกรรมแข่งขันเขียนเป็นหมู่ รู้จักให้ความช่วยเหลือกัน
3) การจัดกิจกรรมการสอนจะต้องให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างทั่วถึง เช่นให้นักเรียนออกมาแข่งขันเขียนคำศัพท์ในกระดาน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกมาร่วมกิจกรรม การได้รับโอกาสโดยเท่าเทียมกันจะทำให้เขาได้เสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า
(1) แก้ที่ตัวเด็ก
ก. ให้มีโอกาสฝึกทักษะให้มากขึ้น และสม่ำเสมอทั้งในการเขียนตัวสะกด และครูควรจะได้ตรวจตรวจแก้ให้ทุกครั้ง
ข. ให้นักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ส่วนเด็กที่มีความสามารถก็ควรได้รับการส่งเสริม
(2) แก้ที่สิ่งแวดล้อม
ก. ครูภาษาไทยซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรง ควรมีทัสนคติที่ดีต่อภาษาไทย และเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และมีวิธีส่งเสริมให้นักเรียนสนใจ
ข. ครูทุกวิชาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้ข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับภาษาไทยของนักเรียนผ่านไปโดยไม่ทักท้วง
ค. ครูทุกคนควรเป็นตัวอย่างในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
ง. การใช้หลักสูตร ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชาภาษาไทยกับวิชาอื่น ทั้งนี้เพื่อให้ใช้ภาษาเป็นประโยชน์ในการเรียนทุกวิชา
บันลือ พฤกษะวัน ได้เสนอแนะกิจกรรมในการสอนเขียนสะกดคำในเรื่องอุปเทศการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา แนวบูรณาการทางการสอน สรุปได้ดังนี้
การสอนเขียนแบบให้เห็นรูปคำก่อน การสอนเขียนแบบนี้มุ่งให้เด็กฝึกเขียนคำใหม่ในบทเรียนให้แม่นยำยิ่งขึ้น และยังมุ่งให้เข้าใจความหมายของคำในรูปประโยค ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ที่ผู้เรียนได้เห็นรูปแบบของประโยค โดยครูเขียนข้อความที่ต้องการจะฝึกโดยมีคำใหม่ในบทเรียนที่เด็กอ่าน หรืออาจใช้วิธีจัดทำเป็นแผนภูมิประสบการณ์ ประมาร 5 – 6 ประโยค แล้วแต่จะเห็นสมควร เช่น ครูเขียนข้อความดังต่อไปนี้
นายอำเภอเป็น(ข้าราชการ)ในอำเภอ
นายอำเภอเป็นคนของรัฐบาล
เขามีหน้าที่ดูแล(ทุกข์สุข)ของ(ประชาชน)
นายอำเภอขอ(ความร่วมมือ)กับข้าราชการทุกฝ่าย
ข้าราชการควร (สนับสนุน)ให้ประชาชน(สามัคคี)กันทุกคนต้องช่วยกันทำความดีเพื่อ(ชาติ) (ศาสนา)และ(พระมหากษัตริย์)ของเรา
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเขียนสะกดคำไว้ดังนี้
เว็บสเตอร์(Webster) กล่าวว่า การเขียนสะกดคำคือศิลปะหรือเทคนิคในการสร้างคำโดยใช้อักษรตามแบบที่สังคมยอมรับ
อดุลย์ ไทรเล็กพิม (2528 : 63) ได้ให้ความหมายของการสะกดคำว่า เป้นการเขียนโดยเรียงลำดับ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รวมทั้งตัวสะกดการันต์ ภายในคำหนึ่ง ๆ ได้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
อรพรรณ ภิญโญภาพ (2529 : 14) ได้อธิบายว่า การเขียนสะกดคำ เป้นการฝึกทักษะการเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแก่ผู้เรียน และจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจขบวนการประสมคำ รู้หลักเกณฑ์ที่จะเรียบเรียงลำดับตัวอักษรในคำหนึ่ง ๆ ให้ได้ความหมายที่ต้องการ เพื่อจะนำประโยชน์ไปใช้ในการสื่อสาร
จากความหมายของการเขียนสะกดคำที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การเขียนสะกดคำ หมายถึง การเขียนโดยเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดเป็นคำได้อย่างถูกหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง
ความสำคัญของการเขียนสะกดคำ
การเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง มีความสำคัญในเรื่องการสื่อความหมายหากเขียนสะกดผิดพลาด จำทำให้การสื่อความหมายผิดเพี้ยนไป เข้าใจไม่ตรงกัน ความสำคัญของการสะกดคำได้มีนักการศึกษาให้ความหมายสำคัญดังต่อไปนี้
วัฒนา บุรกสิกร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสะกดคำไว้ในเอกสารประกอบคำบรรยายการใช้ภาษาไทยเรื่อง วิธีใช้ภาษาไทยว่า “เรื่องของการเขียน ตัวสะกด เป็นเรื่องสำคัญมากต้องระมัดระวังเป็นที่สุด เพราะการเขียนสะกดผิด นอกจากจะผิดหลักอักขรวิธีแล้ว ยังทำให้สื่อความหมายที่เข้าใจกันไม่ได้อีกด้วย”
บุปผา บุญทิพย์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการเรียนการสอนสะกดคำในเรื่องความรู้ทั่วไปทางภาษาไทยตอน 2 การใช้ภาษาไทยว่า “การเขียนสะกดคำถือว่าเป็นการสื่อสารด้วยการเขียน ถ้าเขียนสะกดคำผิดพลาด การสื่อสารจะไม่ชัดเจน ผู้รับสารจะไม่เข้าใจ หรือทำให้เข้าใจผิด การเขียนคำให้ถูกต้องตามอักขรวิธีจึงต้องฝึกฝนและระมัดระวังอย่าละเลย”
นิตยา กาญจนะวรรณ, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์และ ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร กล่าวถึงความสำคัญของการเขียนสะกดคำในเรื่องลักษณะและการใช้ภาษาไทยว่า “การเขีนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญในการสื่อภาษาเขียน ถ้าเขียนผิดย่อมทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
การเขียนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญ ดังที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนเขียนสะกดคำให้ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเขียน
สาเหตุที่ทำให้เขียนสะกดคำผิด
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเขียนสะกดคำผิดไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า เขียนสะกดคำผิดเป็นเพราะดังนี้
1) ใช้แนวเทียบผิด
2) ไม่สนใจในการเขียนว่าจะผิดหรือถูก
3) ไม่ได้ศึกษาว่าคำใดเขียนอย่างไรจึงถูก เวลาสงสัยก็ไม่เคยใช้พจนานุกรม จึงไม่มีโอกาส ได้จดจำคำที่ถูกตามพจนานุกรมไว้ใช้
4) มีการแก้ไขภาษาและพจนานุกรมที่ทำให้นักเรียนกำหนดแบบอย่างที่ถูกต้องได้ยาก
5) ขาดการฝึกโดยเฉพาะในการเขียนตามคำบอก
6) เห็นแต่แบบแผนที่ไม่ถูกต้องตลอดเวลา
7) ขาดความรู้ในเรื่องรูปศัพท์เดิม
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเขียนสะกดคำไว้ในหลักภาษาไทยว่า
1) เขียนผิดเพราะไม่ทราบความหมายของคำ เช่น ครุภัณฑ์ เขียนเป็น ครุพัน บิณฑบาต เขียนเป็นบิณฑบาตร์ เป็นต้น
2) เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น จำนง เขียนเป็นจำนงค์ เพราะเทียบกับคำว่า องค์ ดอกจัน เขียนเป็นดอกจันทร์ เพราะเทียบกับคำว่าดวงจันทร์
3) เขียนผิดเพราะออกเสียงผิด เช่น กรวดน้ำ เป็นตรวจน้ำ เพราะออกเสียงอย่างนั้น หยิบหย่ง เป็น หยิบโหย่ง
4) เขียนผิดเราะมีประสบการณ์มาผิด เช่น คำว่าประณีต เขียนเป็นปราณีต เพราะจำมาจากหนังสือพิมพ์
5) เขียนผิดเพราะไม่รู้หลักภาษา เช่น เขียนคำสมาสคำว่าธุรกิจ เป็นธุระกิจ
วิธีสอนการเขียนสะกดคำ
การเขียนสะกดคำ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการสังเกต การจดจำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการสอนให้กับนักเรียนในลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจพยายามฝึกฝนทักษะการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ในการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก จึงต้องอาศัยแนวทางวิธีสอนมาจากเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
อัจฉรา ชีวพันธ์ ได้เสนอแนะวีสอนการเขียนสะกดคำในระดับประถมศึกษา ในเรื่อง ศาสตร์ของการสอนภาษาไทยว่า
1) ต้องจัดอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเพราะภาษาไทยเป็นทักษะที่จะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว ดังนั้นกิจกรรมที่จัดขึ้น จัดให้นักเรียนได้ฝึกทักษะจากสิ่งง่ายไปหายาก
2) ควรจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความต้องการของนักเรียน นักเรียนในระดับประถมศึกษามีความต้องการความสำเร็จครูผู้สอนควรคำนึงถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว เช่น การจัดแข่งขันเขียนคำศัพท์ ควรจัดกิจกรรมแข่งขันเขียนเป็นหมู่ รู้จักให้ความช่วยเหลือกัน
3) การจัดกิจกรรมการสอนจะต้องให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างทั่วถึง เช่นให้นักเรียนออกมาแข่งขันเขียนคำศัพท์ในกระดาน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกมาร่วมกิจกรรม การได้รับโอกาสโดยเท่าเทียมกันจะทำให้เขาได้เสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า
(1) แก้ที่ตัวเด็ก
ก. ให้มีโอกาสฝึกทักษะให้มากขึ้น และสม่ำเสมอทั้งในการเขียนตัวสะกด และครูควรจะได้ตรวจตรวจแก้ให้ทุกครั้ง
ข. ให้นักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ส่วนเด็กที่มีความสามารถก็ควรได้รับการส่งเสริม
(2) แก้ที่สิ่งแวดล้อม
ก. ครูภาษาไทยซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรง ควรมีทัสนคติที่ดีต่อภาษาไทย และเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และมีวิธีส่งเสริมให้นักเรียนสนใจ
ข. ครูทุกวิชาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้ข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับภาษาไทยของนักเรียนผ่านไปโดยไม่ทักท้วง
ค. ครูทุกคนควรเป็นตัวอย่างในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
ง. การใช้หลักสูตร ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชาภาษาไทยกับวิชาอื่น ทั้งนี้เพื่อให้ใช้ภาษาเป็นประโยชน์ในการเรียนทุกวิชา
บันลือ พฤกษะวัน ได้เสนอแนะกิจกรรมในการสอนเขียนสะกดคำในเรื่องอุปเทศการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา แนวบูรณาการทางการสอน สรุปได้ดังนี้
การสอนเขียนแบบให้เห็นรูปคำก่อน การสอนเขียนแบบนี้มุ่งให้เด็กฝึกเขียนคำใหม่ในบทเรียนให้แม่นยำยิ่งขึ้น และยังมุ่งให้เข้าใจความหมายของคำในรูปประโยค ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ที่ผู้เรียนได้เห็นรูปแบบของประโยค โดยครูเขียนข้อความที่ต้องการจะฝึกโดยมีคำใหม่ในบทเรียนที่เด็กอ่าน หรืออาจใช้วิธีจัดทำเป็นแผนภูมิประสบการณ์ ประมาร 5 – 6 ประโยค แล้วแต่จะเห็นสมควร เช่น ครูเขียนข้อความดังต่อไปนี้
นายอำเภอเป็น(ข้าราชการ)ในอำเภอ
นายอำเภอเป็นคนของรัฐบาล
เขามีหน้าที่ดูแล(ทุกข์สุข)ของ(ประชาชน)
นายอำเภอขอ(ความร่วมมือ)กับข้าราชการทุกฝ่าย
ข้าราชการควร (สนับสนุน)ให้ประชาชน(สามัคคี)กันทุกคนต้องช่วยกันทำความดีเพื่อ(ชาติ) (ศาสนา)และ(พระมหากษัตริย์)ของเรา
การสอนภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่มีความสำคัญต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า “...ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเอง ซึ่งต้องหวงแหน...เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้” (2505 : 201)
ภาษาไทยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมประจำชาติและยังเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างเอกภาพของชาติทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาคนในชาติ เพราะการศึกษาเล่าเรียนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการถ่ายทอดความคิดศิลปวิทยาการล้วนต้องใช้ภาษาทั้งสิ้น ดังนั้น ภารกิจของการศึกษาประการหนึ่งก็คือการสอนภาษาไทยให้คนในชาติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และสามารถสืบทอดมรดกทางภาษาซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาติ มีความชื่นชมที่จะใช้ภาษษไทยได้อย่างูกต้องและมีเจตนคติที่ดีต่อภาษาไทย(ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ. 2532 : 76) ดังนั้นการศึกษาวิชาภาษาไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนในชาติของเรา ซึ่งวรรณี โสมประยูร (2534 : 28) ได้สรุปความสำคัญของการสอนภาษาไทยไว้ตอนหนึ่งว่า มนุษย์ได้ใช้ทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน เป็นเครื่องมือในการศึกษาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพ พัฒนาบุคลิกภาพและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ เพราะคนเราได้รับความรู้ ความคิดต่าง ๆ จากการฟัง การอ่าน แล้วการเขียนบันทึกไว้เพื่อพูดหรือเขียนถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจอีกทอดหนึ่ง การเขียนของนักเรียนที่อ่อนภาษาจึงทำให้อ่อนวิชาอื่น ๆ ด้วย
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ได้บรรจุวิชาภาษาไทยให้อยู่ในกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้และได้กำหนดจุดประสงค์ของการสอนภาษาไทยไว้ดังนี้
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา
2. สามารถใช้ภาษาติดต่อทั้งการรับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาและสัมฤทธิผล
3. สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลตลอดจนสามารถใช้ภาษาในเชิงสร้างสรรค์ได้
4. มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักเลือกหนังสืออ่านและใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ สื่อมวลชน และแหล่งความรู้อื่น ๆ
5. สามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนภาษาไทยมาช่วยในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา และวินิจฉัยเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
6. มีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนภาษาไทยและวรรณคดี ทั้งในด้านวัฒนธรรมประจำชาติและการเสริมสร้างความงดงามในชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ. 2535 : 7)
จากจุดประสงค์ของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยมีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาการทางภาษาในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน สำหรับด้านการเขียนนั้น การเรียนภาษาไทยจึงควรเน้นสัมฤทธิ์ผลของทักษะการเข้าใจทางภาษา คือ การฟังการอ่านและทักษะการใช้ภาษาคือการ พูดและการเขียน จนสามารถใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความเข้าใจแสวงหาความรู้และมีเหตุผลเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่ผาสุกในสังคม ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่โดยตรงในการสอนภาษาไทยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายคือ ครูซึ่งควรตระหนักถึงความมุ่งหมายดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับวิธีการสอนภาษาไทยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายคือครูซึ่งควรตระหนักถึงความมุ่งหมายดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยขึ้น ทรง จิตปราสาท (2526 : 23 ) ได้กล่าวไว้ว่า มีวิธีการสอนหลายวิธี ครูควรเลือกใช้วิธีใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมและตรงตามความถนัดของครู โดยให้การดำเนินการสอนนั้นทำให้เด็กเรียน ฟัง พูด อ่าน และเขียน ได้ถูกต้องรวดเร็วและสัมพันธ์กัน เรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน การสอนจะต้องจัดให้มีการสอนครบ 6 ประการดังต่อไปนี้
1. สอนสระ พยัญชนะ ให้บอกชื่อ ออกเสียง และเขียน ให้ถูกต้องจะสอนครบทุกตัวทันทีหรือจะสอนบางตัวโดยเริ่มจากพยัญชนะที่เด็กได้พบก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้นจนครบทุกตัวแล้วนำมาเรียงลำดับให้ถูกต้องในภายหลังก็ได้
2. สอนคำ ให้อ่าน – เขียน ให้ถูกต้องรู้ความหมาย
3. สอนประโยค ให้อ่าน เขียน ให้ถูกต้องรู้ความหมายและใช้คำเรียงประโยคได้ถูกต้องทั้งในการพูดและการเขียน
4. สอนแจกลูก ให้สามารถจับหลักเกณฑ์วิธีออกเสียงผสมพยัญชนะกับสระ เพื่อนำไปใช้ในการอ่านและเขียนคำที่ต้องการได้
5. สอนฝันให้สามารถจับหลักเกณฑ์วิธีออกเสียง ผันวรรณยุกต์ เพื่อนำไปใช้ในการอ่านและการเขียนคำที่ต้องการได้
6. สอนการใช้ภาษาไทย ให้สามารถใช้ภาษาไทยสื่อความหมายแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกทั้งการพูด และการเขียนได้ถูกต้องทั้งสะกดตัวและความหมายได้ดี ตามวัยและระดับชั้นเช่น ในการอภิปราย เล่าเรื่อง แต่งความ จดหมาย เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมิได้มุ่งเพียงการอ่านออกเขียนได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของทักษะความเข้าใจภาษา คือการฟังและการอ่าน ทักษะการใช้ภาษาคือการพูดและการเขียน จนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ การหาเหตุผล แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ จึงควรยึดแนวการสอนดังนี้
1. การสอนภาษาไทยให้สอดคล้องกับการใช้ภาษาในชีวิตนำภาษาที่ผู้เรียนพบเห็นและใช้อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านที่โรงเรียน ตลาด ชุมชน ภาษาจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์เป็นต้น มาเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อที่ผู้เรียนจำนำความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้รับๆปใช้ให้เกิดผลสำเร็จในชีวิต
2. สอนทักษะทั้งสี่ ให้สัมพันธ์กันทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเป็นกระบวนการการใช้ภาษาที่ถูกต้อง แต่อาจจะแยกย่อยออกฝึกฝนแต่ละทักษะในกรณีการสอนซ่อมเสริมได้
3. ฝึกฝนให้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ เน้นการฝึกฝนจนเกิดความคิดรวบยอดสามารถสรุปหลักเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
4. ฝึกฝนให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้และเรียนด้วยตนเองให้มากโดยมีครูคอยแนะนำ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังนิสัยใคร่รู้ ใคร่เรียน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สนุกสนาน น่าสนใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกฝนบ่อย ๆ และซ้ำ ๆทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรักในการเรียนภาษาไทยอีกด้วย
6. ฝึกให้เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต การใช้ภาษาที่พบเห็นในที่ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดและมีประสบการณ์กว้างขวางยิ่งขึ้น
7. ในการฝึกทักษะ ถ้าครูพบข้อบกพร่องควรหาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกจุดและทันเวลา การสอนซ่อมเสริมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อ่อนในทางทักษะ
8. เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมหลาย ๆ วิธีตลอดจนการใช้สื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อมิให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย(สุชาดา วัยวุฒิ. 2529:64-65)
ประดินันท์ อุปรนัย (2529 :25) ได้กล่าวถึงการสอนภาษาไทยว่า การสอนภาษาไทยจะไม่มุ่งสอนทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงทักษะเดียว แต่จะสอนให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กันโดยอาจเน้นทักษะใดทักษะหนึ่งในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ มากกว่าทักษะอื่น ๆ ได้นอกจากนี้กรมวิชาการ,กระทรวงศึกษาธิการ(2535: ก-จ) ยังได้แนะนำแนวทางการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาไว้หลายวิธีดังนี้
1. การสอนภาษาไทยโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษา การสอนวิธีนี้เป็นลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก ให้เด็กได้คิด ฟัง พูด อ่านและเขียน เป็นหลัก มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ร่วม โดยครูอาจใช้รูปภาพให้นักเรียนดู สนทนาเกี่ยวกับภาพ อ่านหรือเล่าเรื่องให้ฟัง
ขั้นที่ 2 กระตุ้นให้คิด หลังจากฟังเรื่องและดูภาพแล้วครูซักถามโดยใช้คำถามนำให้นักเรียนคิดและอภิปรายร่วมกัน
ขั้นที่ 3 บันทึกข้อความ เมื่อนักเรียนเข้าใจและคิดเรื่องที่ฟังตรงกันแล้วให้นักเรียนเล่าเรื่องที่ฟัง ครูบันทึกข้อความบนกระดานดำ ถ้านักเรียนใช้คำพูดหรือภาผิด ครูแก้ไขให้
ขั้นที่ 4 อ่านข้อความที่บันทึกครูให้นักเรียนฝึกอ่านข้อความที่บันทึกเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มจนคล่อง
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียน เช่น ฝึกอ่านบัตรคำ หรือแถบประโยคเขียนเรื่องราวจากประสบการณ์หรือจากการอ่านหนังสือร่วมกัน
2. การสอนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเรียน วิธีสอนนี้ฝึกหนังสือรัยนเป็นหลัก มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน และทบทวนประสบการณ์พื้นฐานการเรียนแก่ผู้เรียนด้วย เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่ในบทเรียน
ขั้นที่ 2 สอนคำใหม่ทบทวนคำเก่า
ขั้นที่ 3 บอกจุดประสงค์ของการอ่านให้นักเรียนทราบ เช่น อ่านเพื่อเขียนเล่าเรื่อง
ขั้นที่ 4 อ่านในใจและอ่านออกเสียงโดยครูแนะนำวิธีการอ่าน และให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงเป็นกลุ่มและรายบุคคล ครูแก้ไขข้อบกพร่องในการอ่าน
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะทางภาษา เช่น เกมทางภาษา ทำแบบฝึกหัด และกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ครูกำหนดในคู่มือครู
3. การสอนภาษาไทยโดยใช้วิธีการทางหลักภาษา เป็นการสอนสะกดคำ แจกลูก ผันอักษร โดยเริ่มจากให้เด็กรู้จักเสียงพยัญชนะ สระ และจำรูปพยัญชนะ สระให้ได้เสียก่อนจึงนำมาสะกดคำและแจกลูก มีขั้นตอนการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ฝึกสะกดคำให้คล่อง
ขั้นที่ 2 สังเกตการวางพยัญชนะ สระขงคำ แล้วฝึกสะกด
ขั้นที่ 3 สอนความหมายของคำโดยใช้ภาพ หรือทำท่าทางประกอบ
ขั้นที่ 4 นำคำที่สะกดแล้วมาอ่านเป็นคำโดยไม่ต้องสะกดคำใดอ่านไม่ได้ให้ใช้การสะกดช่วย โดยให้นักเรียนเขียนตามคำบอกจนจำได้
ขั้นที่ 5 นำคำที่อ่านได้แล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ฟัง พูด อ่านและเขียน โดยเน้นการอ่านและเขียน บ่อย ๆ
4. การสอนภาษาไทยโดยการอ่านหนังสือเป็นรายบุคคล มีขั้นตอนการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกหนังสือ โดยให้นักเรียนเลือกหนังสือตามความสนใจและความสามารถของแต่ละคน
ขั้นที่ 2 ตั้งจุดมุ่งหมายและวางแผน คือให้นักเรียนตั้งจุดมุ่งหมายในหารอ่าน เช่นอ่านแล้วทำกิจกรรมอะไร จะใช้เวลาอ่านเท่าไร เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และนำเสนอผลการอ่านให้ครูฟัง
ขั้นที่ 4 ทำกิจกรรมหลังการอ่าน เช่นเขียนเรื่องย่อ เขียนข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน วาดภาพในเรื่อง เขียนคำบรรยายประกอบภาพ
ขั้นที่ 5 เสนอผลงานและประเมินผลงาน
เพื่อให้การสอนภาษาไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ประสบประสานการสอนทั้ง 4 วิธีเข้าด้วยกัน เป็นการสอนภาษาไทยแบบประสมประสาน โดยจัดลำดับการสอนไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การสอนโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษาจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 2 การสอนอ่านในใจจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 3 การสอนสะกดคำจากแบบฝึกในหนังสือเรียน
ขั้นที่ 4 การสอนออกเสียงจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 5 การฝึกการใช้ภาษา
ขั้นที่ 6 การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาและการอ่านเป็นรายบุคคล
ขั้นที่ 7 การสอนซ่อมเสริมจะเห็นได้ว่า การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษานั้นไม่ว่าจะใช้วิธีการสอน หรือกิจกรรมใดก็ตาม ครูจำเป็นจะต้องฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้สัมพันธ์กันไม่ควรแยกเป็นทักษะใดทักษะนึ่งโดยเฉพาะ เพราะการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของนักเรียนจำเป็นต้องใช้ทักษะทั้ง 4 อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นในการเรียนการสอนครูจึงต้องให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ดีที่สุดเพราะนอกจากทักษะทั้ง 4 จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแล้วยังเป็นนพื้นฐานสำคัญของการเรียนวิชาต่าง ๆ และสามารถนำทักษะการใช้ภาษาดังกล่าวไปใช้ในการติดต่อสื่อสารในสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ภาษาไทยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมประจำชาติและยังเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างเอกภาพของชาติทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาคนในชาติ เพราะการศึกษาเล่าเรียนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการถ่ายทอดความคิดศิลปวิทยาการล้วนต้องใช้ภาษาทั้งสิ้น ดังนั้น ภารกิจของการศึกษาประการหนึ่งก็คือการสอนภาษาไทยให้คนในชาติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และสามารถสืบทอดมรดกทางภาษาซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาติ มีความชื่นชมที่จะใช้ภาษษไทยได้อย่างูกต้องและมีเจตนคติที่ดีต่อภาษาไทย(ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ. 2532 : 76) ดังนั้นการศึกษาวิชาภาษาไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนในชาติของเรา ซึ่งวรรณี โสมประยูร (2534 : 28) ได้สรุปความสำคัญของการสอนภาษาไทยไว้ตอนหนึ่งว่า มนุษย์ได้ใช้ทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน เป็นเครื่องมือในการศึกษาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพ พัฒนาบุคลิกภาพและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ เพราะคนเราได้รับความรู้ ความคิดต่าง ๆ จากการฟัง การอ่าน แล้วการเขียนบันทึกไว้เพื่อพูดหรือเขียนถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจอีกทอดหนึ่ง การเขียนของนักเรียนที่อ่อนภาษาจึงทำให้อ่อนวิชาอื่น ๆ ด้วย
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ได้บรรจุวิชาภาษาไทยให้อยู่ในกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้และได้กำหนดจุดประสงค์ของการสอนภาษาไทยไว้ดังนี้
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา
2. สามารถใช้ภาษาติดต่อทั้งการรับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาและสัมฤทธิผล
3. สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลตลอดจนสามารถใช้ภาษาในเชิงสร้างสรรค์ได้
4. มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักเลือกหนังสืออ่านและใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ สื่อมวลชน และแหล่งความรู้อื่น ๆ
5. สามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนภาษาไทยมาช่วยในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา และวินิจฉัยเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
6. มีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนภาษาไทยและวรรณคดี ทั้งในด้านวัฒนธรรมประจำชาติและการเสริมสร้างความงดงามในชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ. 2535 : 7)
จากจุดประสงค์ของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยมีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาการทางภาษาในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน สำหรับด้านการเขียนนั้น การเรียนภาษาไทยจึงควรเน้นสัมฤทธิ์ผลของทักษะการเข้าใจทางภาษา คือ การฟังการอ่านและทักษะการใช้ภาษาคือการ พูดและการเขียน จนสามารถใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความเข้าใจแสวงหาความรู้และมีเหตุผลเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่ผาสุกในสังคม ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่โดยตรงในการสอนภาษาไทยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายคือ ครูซึ่งควรตระหนักถึงความมุ่งหมายดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับวิธีการสอนภาษาไทยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายคือครูซึ่งควรตระหนักถึงความมุ่งหมายดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยขึ้น ทรง จิตปราสาท (2526 : 23 ) ได้กล่าวไว้ว่า มีวิธีการสอนหลายวิธี ครูควรเลือกใช้วิธีใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมและตรงตามความถนัดของครู โดยให้การดำเนินการสอนนั้นทำให้เด็กเรียน ฟัง พูด อ่าน และเขียน ได้ถูกต้องรวดเร็วและสัมพันธ์กัน เรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน การสอนจะต้องจัดให้มีการสอนครบ 6 ประการดังต่อไปนี้
1. สอนสระ พยัญชนะ ให้บอกชื่อ ออกเสียง และเขียน ให้ถูกต้องจะสอนครบทุกตัวทันทีหรือจะสอนบางตัวโดยเริ่มจากพยัญชนะที่เด็กได้พบก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้นจนครบทุกตัวแล้วนำมาเรียงลำดับให้ถูกต้องในภายหลังก็ได้
2. สอนคำ ให้อ่าน – เขียน ให้ถูกต้องรู้ความหมาย
3. สอนประโยค ให้อ่าน เขียน ให้ถูกต้องรู้ความหมายและใช้คำเรียงประโยคได้ถูกต้องทั้งในการพูดและการเขียน
4. สอนแจกลูก ให้สามารถจับหลักเกณฑ์วิธีออกเสียงผสมพยัญชนะกับสระ เพื่อนำไปใช้ในการอ่านและเขียนคำที่ต้องการได้
5. สอนฝันให้สามารถจับหลักเกณฑ์วิธีออกเสียง ผันวรรณยุกต์ เพื่อนำไปใช้ในการอ่านและการเขียนคำที่ต้องการได้
6. สอนการใช้ภาษาไทย ให้สามารถใช้ภาษาไทยสื่อความหมายแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกทั้งการพูด และการเขียนได้ถูกต้องทั้งสะกดตัวและความหมายได้ดี ตามวัยและระดับชั้นเช่น ในการอภิปราย เล่าเรื่อง แต่งความ จดหมาย เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมิได้มุ่งเพียงการอ่านออกเขียนได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของทักษะความเข้าใจภาษา คือการฟังและการอ่าน ทักษะการใช้ภาษาคือการพูดและการเขียน จนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ การหาเหตุผล แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ จึงควรยึดแนวการสอนดังนี้
1. การสอนภาษาไทยให้สอดคล้องกับการใช้ภาษาในชีวิตนำภาษาที่ผู้เรียนพบเห็นและใช้อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านที่โรงเรียน ตลาด ชุมชน ภาษาจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์เป็นต้น มาเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อที่ผู้เรียนจำนำความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้รับๆปใช้ให้เกิดผลสำเร็จในชีวิต
2. สอนทักษะทั้งสี่ ให้สัมพันธ์กันทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเป็นกระบวนการการใช้ภาษาที่ถูกต้อง แต่อาจจะแยกย่อยออกฝึกฝนแต่ละทักษะในกรณีการสอนซ่อมเสริมได้
3. ฝึกฝนให้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ เน้นการฝึกฝนจนเกิดความคิดรวบยอดสามารถสรุปหลักเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
4. ฝึกฝนให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้และเรียนด้วยตนเองให้มากโดยมีครูคอยแนะนำ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังนิสัยใคร่รู้ ใคร่เรียน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สนุกสนาน น่าสนใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกฝนบ่อย ๆ และซ้ำ ๆทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรักในการเรียนภาษาไทยอีกด้วย
6. ฝึกให้เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต การใช้ภาษาที่พบเห็นในที่ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดและมีประสบการณ์กว้างขวางยิ่งขึ้น
7. ในการฝึกทักษะ ถ้าครูพบข้อบกพร่องควรหาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกจุดและทันเวลา การสอนซ่อมเสริมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อ่อนในทางทักษะ
8. เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมหลาย ๆ วิธีตลอดจนการใช้สื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อมิให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย(สุชาดา วัยวุฒิ. 2529:64-65)
ประดินันท์ อุปรนัย (2529 :25) ได้กล่าวถึงการสอนภาษาไทยว่า การสอนภาษาไทยจะไม่มุ่งสอนทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงทักษะเดียว แต่จะสอนให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กันโดยอาจเน้นทักษะใดทักษะหนึ่งในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ มากกว่าทักษะอื่น ๆ ได้นอกจากนี้กรมวิชาการ,กระทรวงศึกษาธิการ(2535: ก-จ) ยังได้แนะนำแนวทางการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาไว้หลายวิธีดังนี้
1. การสอนภาษาไทยโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษา การสอนวิธีนี้เป็นลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก ให้เด็กได้คิด ฟัง พูด อ่านและเขียน เป็นหลัก มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ร่วม โดยครูอาจใช้รูปภาพให้นักเรียนดู สนทนาเกี่ยวกับภาพ อ่านหรือเล่าเรื่องให้ฟัง
ขั้นที่ 2 กระตุ้นให้คิด หลังจากฟังเรื่องและดูภาพแล้วครูซักถามโดยใช้คำถามนำให้นักเรียนคิดและอภิปรายร่วมกัน
ขั้นที่ 3 บันทึกข้อความ เมื่อนักเรียนเข้าใจและคิดเรื่องที่ฟังตรงกันแล้วให้นักเรียนเล่าเรื่องที่ฟัง ครูบันทึกข้อความบนกระดานดำ ถ้านักเรียนใช้คำพูดหรือภาผิด ครูแก้ไขให้
ขั้นที่ 4 อ่านข้อความที่บันทึกครูให้นักเรียนฝึกอ่านข้อความที่บันทึกเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มจนคล่อง
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียน เช่น ฝึกอ่านบัตรคำ หรือแถบประโยคเขียนเรื่องราวจากประสบการณ์หรือจากการอ่านหนังสือร่วมกัน
2. การสอนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเรียน วิธีสอนนี้ฝึกหนังสือรัยนเป็นหลัก มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน และทบทวนประสบการณ์พื้นฐานการเรียนแก่ผู้เรียนด้วย เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่ในบทเรียน
ขั้นที่ 2 สอนคำใหม่ทบทวนคำเก่า
ขั้นที่ 3 บอกจุดประสงค์ของการอ่านให้นักเรียนทราบ เช่น อ่านเพื่อเขียนเล่าเรื่อง
ขั้นที่ 4 อ่านในใจและอ่านออกเสียงโดยครูแนะนำวิธีการอ่าน และให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงเป็นกลุ่มและรายบุคคล ครูแก้ไขข้อบกพร่องในการอ่าน
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะทางภาษา เช่น เกมทางภาษา ทำแบบฝึกหัด และกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ครูกำหนดในคู่มือครู
3. การสอนภาษาไทยโดยใช้วิธีการทางหลักภาษา เป็นการสอนสะกดคำ แจกลูก ผันอักษร โดยเริ่มจากให้เด็กรู้จักเสียงพยัญชนะ สระ และจำรูปพยัญชนะ สระให้ได้เสียก่อนจึงนำมาสะกดคำและแจกลูก มีขั้นตอนการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ฝึกสะกดคำให้คล่อง
ขั้นที่ 2 สังเกตการวางพยัญชนะ สระขงคำ แล้วฝึกสะกด
ขั้นที่ 3 สอนความหมายของคำโดยใช้ภาพ หรือทำท่าทางประกอบ
ขั้นที่ 4 นำคำที่สะกดแล้วมาอ่านเป็นคำโดยไม่ต้องสะกดคำใดอ่านไม่ได้ให้ใช้การสะกดช่วย โดยให้นักเรียนเขียนตามคำบอกจนจำได้
ขั้นที่ 5 นำคำที่อ่านได้แล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ฟัง พูด อ่านและเขียน โดยเน้นการอ่านและเขียน บ่อย ๆ
4. การสอนภาษาไทยโดยการอ่านหนังสือเป็นรายบุคคล มีขั้นตอนการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกหนังสือ โดยให้นักเรียนเลือกหนังสือตามความสนใจและความสามารถของแต่ละคน
ขั้นที่ 2 ตั้งจุดมุ่งหมายและวางแผน คือให้นักเรียนตั้งจุดมุ่งหมายในหารอ่าน เช่นอ่านแล้วทำกิจกรรมอะไร จะใช้เวลาอ่านเท่าไร เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และนำเสนอผลการอ่านให้ครูฟัง
ขั้นที่ 4 ทำกิจกรรมหลังการอ่าน เช่นเขียนเรื่องย่อ เขียนข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน วาดภาพในเรื่อง เขียนคำบรรยายประกอบภาพ
ขั้นที่ 5 เสนอผลงานและประเมินผลงาน
เพื่อให้การสอนภาษาไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ประสบประสานการสอนทั้ง 4 วิธีเข้าด้วยกัน เป็นการสอนภาษาไทยแบบประสมประสาน โดยจัดลำดับการสอนไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การสอนโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษาจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 2 การสอนอ่านในใจจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 3 การสอนสะกดคำจากแบบฝึกในหนังสือเรียน
ขั้นที่ 4 การสอนออกเสียงจากหนังสือเรียน
ขั้นที่ 5 การฝึกการใช้ภาษา
ขั้นที่ 6 การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาและการอ่านเป็นรายบุคคล
ขั้นที่ 7 การสอนซ่อมเสริมจะเห็นได้ว่า การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษานั้นไม่ว่าจะใช้วิธีการสอน หรือกิจกรรมใดก็ตาม ครูจำเป็นจะต้องฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้สัมพันธ์กันไม่ควรแยกเป็นทักษะใดทักษะนึ่งโดยเฉพาะ เพราะการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของนักเรียนจำเป็นต้องใช้ทักษะทั้ง 4 อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นในการเรียนการสอนครูจึงต้องให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ดีที่สุดเพราะนอกจากทักษะทั้ง 4 จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแล้วยังเป็นนพื้นฐานสำคัญของการเรียนวิชาต่าง ๆ และสามารถนำทักษะการใช้ภาษาดังกล่าวไปใช้ในการติดต่อสื่อสารในสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
การนำบุคลากรเข้าสู่งาน
ความหมายของการปฐมนิเทศบุคลากร
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2531 : 53 ) ได้อธิบายความหมายของการปฐมนิเทศบุคลากรว่า การปฐมนิเทศบุคลากร หมายถึง กิจกรรมการนำบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกแล้วบรรจุเข้าประจำการในองค์การอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่การช่วยให้บุคลากรปรับตนถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังขององค์การ มีความรู้เรื่องงานที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตลอดจนวิธีปฏิบัติงานภายใต้กฎเกณฑ์ที่องค์การกำหนดขึ้น ทั้งทำความเข้าใจนโยบายขององค์การและเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งรู้จักคุ้นเคยกับบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมงานและเกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติต่อกันให้ถูกต้องตลอดเวลาในการทำงาน
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 180 ) ให้ความหมายของการปฐมนิเทศว่า การปฐมนิเทศ หมายถึง กิจกรรมทางด้านการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพยายามแนะนำพนักงานใหม่ให้รู้จักหน่วยงานและให้รู้จักงานในหน้าที่ที่ต้องทำ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน
ความสำคัญของการปฐมนิเทศ
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2539 : 49 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการปฐมนิเทศเนื่องจากบุคลากรหรือสมาชิกใหม่ขององค์การนั้นมีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ความชำนาญ วิธีการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ องค์การ หน่วยงานโรงเรียนจึงต้องให้ความสำคัญของการนำบุคลากรเข้าสู่หน่วยงาน ซึ่งความสำคัญของการนำบุคลากรเข้าสู่หน่วยงานโดยการปฐมนิเทศนั้นสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้บุคลากรปรับตนเข้ากับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วัฒนธรรม ประเพณี รู้เป้าหมายหลัก และนโยบายขององค์การและสภาพท้องถิ่น
2. ช่วยให้บุคลากรปรับตนเข้ากับคนอื่น ๆ ได้ในเวลาที่ไม่ช้า ทำให้มีแนวโน้มในการปฏิบัติงาน ร่วมงาน และปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 181 ) ได้อธิบายความสำคัญของการนิเทศไว้ดังนี้
เหตุที่ถือว่าการปฐมนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นนั้นสาเหตุก็เพราะโดยปกติแล้วองค์การทุกแห่งย่อมเป็นสภาพที่ทำงานแห่งใหม่ของบุคลากร และมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามสภาพเงื่อนไข วิธีการทำงาน นโยบายและระเบียบปฏิบัติ รวมตลอดถึงโครงสร้างและเนื้อหาของงาน สิ่งเหล่านั้นมักจะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในทุกองค์การตามเวลา ดังนั้นเพื่อที่จะไม่เป็นปัญหาหลักในเรื่องความไม่เข้าใจจึงจำเป็นต้องให้บุคลากรได้มีโอกาสติดตามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเรื่องที่จะเห็นว่าหาใช่แต่เฉพาะบุคลากรใหม่เท่านั้น แม้บุคลากรเก่าที่เคยทำงานอยู่ก่อน เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ การปฐมนิเทศก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำใหม่เช่นเดียวกัน ยิ่งในกรณีของบุคลากรใหม่ย่อมมีทัศนคติและมีลักษณะของตัวเองมาก่อน ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ โดยเฉพาะพื้นฐานที่ไม่ตรงกับสภาพที่เป็นอยู่ในหน่วยงานใหม่ของเขา จึงมักจะปรากฏอยู่เสมอว่า บุคลากรใหม่ไม่ได้รับการชี้แจงหรือปฐมนิเทศให้เข้าใจเรื่องที่ควรทราบนั้น เมื่ออยู่ไปอีกระยะหนึ่งในแรก ๆ นั้น ก็จะขัดแย้งทางจิตวิทยาขึ้นจนกลายเป็นการตื่นตระหนก ประหม่าหรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผิดไป การปรับตัวจึงเป็นไปไม่ได้ราบรื่น จึงต้องใช้เวลานานในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องจัดโครงการปฐมนิเทศขึ้นมาเพื่อให้บุคลากรปรับตัวให้เข้ากันได้อย่างดีในระยะแรกนั่นเอง การปฐมนิเทศจึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และถึงแม้จะเป็นกิจกรรมส่วนย่อยขั้นตอนหนึ่งก็ตาม แต่โดยข้อเท็จจริง หากพิจารณาในแง่ของจิตวิทยาหรือความนึกคิดแล้ว ผลกระทบของการมิได้มีการปฐมนิเทศนับได้ว่าเป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายได้มากมายเช่นกัน
ความมุ่งหมายของการปฐมนิเทศ
เนชั่นแนล อินดัสเทรียล คอนเฟอร์เรนท์ บอร์ด ( ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. 2531 : 53 : อ้างอิงมาจาก National Industrial Conference Board . 1953 ) ศึกษากระบวนการและโปรแกรมการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นในองค์การต่าง ๆ และพบว่ากระบวนการ
และกำหนดการปฐมนิเทศกระทำไปภายใต้จุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
1. เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การให้กับบุคคล
2. เพื่อพัฒนาด้านเจตคติที่ดีให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงานในองค์การ และจะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการทำงานได้
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2531 : 54 ) ได้ให้ความเห็นต่อไปอีกว่า การจัดกระบวนการและการกำหนดการปฐมนิเทศควรกระทำไปตามวัตถุประสงค์หลัก 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในองค์การได้ดี ภายในเวลาที่ไม่ชักช้า การแนะนำให้รู้จักบุคลากรทุกคนและทุกฝ่าย ที่บุคลากรทำงานเกี่ยวข้องด้วย ทั้งด้านส่วนตัวและหน้าที่รับผิดชอบ มีแนวโน้มจะช่วยได้มาก
2. เพื่อช่วยให้บุคลากรปรับตัวให้เข้ากับสิ่งอื่น เป็นต้นว่า เงื่อนไข กฏหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่มุ่งให้บุคลากรปฏิบัติงาน รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณี ขององค์การที่เคยปฏิบัติและกำลังปฏิบัติอยู่ การแนะนำให้บุคลากรรู้เป้าหมายหลักและนโยบายขององค์การ การให้บุคลากรได้ศึกษาแฟ้มรวบรวมคำสั่งต่าง ๆ สามารถช่วยให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของคำสั่งและข้อตกลงของที่ประชุมและหาทางนำไปสู่การปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( 2533 : 156 - 157 ) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการปฐมนิเทศไว้ 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและหน้าที่ของหน่วยงานในองค์การที่ตนทำ
2. เพื่อให้บุคลากรใหม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักเบื้องต้นที่เกี่ยวกับระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การ รวมทั้งสิทธิประโยชน์และบริการต่าง ๆ ที่องค์การจัดให้
3. เพื่อสร้างขวัญและสร้างความคุ้นเคยต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานในอันที่
จะทำให้บุคลากรใหม่เกิดความสบายใจเป็นการช่วยให้เขาเริ่มต้นที่ดีในการทำงานตามที่ได้รับ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 182 - 184 ) ได้สรุปวัตถุประสงค์ของการจัด
การปฐมนิเทศไว้ 5 ประการ คือ
1. เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวกับงบประมาณอันเนื่องจากบุคลากรที่เข้าใหม่ กล่าวคือ ถ้าหากบุคลากรใหม่มิได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับงาน ตลอดจนหน่วยงานและสมาชิกเพื่อนร่วมงานแล้วก็ย่อมเป็นปัญหา ทำให้เสียเวลาแก่บุคลากรที่จะต้องค่อย ๆ เรียนรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็ย่อมหมายถึงการเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น สำหรับระยะแรกของบุคลากรใหม่ในช่วงการเริ่มต้นฝึกงาน การจัดการปฐมนิเทศที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดงบประมาณได้ในแง่นี้และช่วยให้บุคลากรใหม่ สามารถทำงานเข้าสู่มาตรฐานเทียบเท่ากับคนอื่น ๆได้รวดเร็วขึ้น
2. ช่วยลดปัญหาความกังวลและขจัดการแซวของบุคลากรเก่า ๆ ถ้าหากบุคลากรใหม่มีความกังวลแล้ว ส่วนใหญ่ผลของการกังวลในสิ่งต่าง ๆ มักจะทำให้การปฏิบัติงานล้มเหลวไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากบุคลากรเก่ามิได้มีความช่วยเหลืออย่างจริงใจ หรือมีมิตรที่ดีแต่กลับคอยแหย่หรือก่อกวนหยอกล้อบุคลากรใหม่แล้ว ก็ยิ่งจะมีผลทำให้เกิดความกลัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลเสียย่อมเกิดสำหรับผู้ที่ต้องไปเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่และเพื่อนร่วมงานใหม่ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาจึงควรถือเป็นหน้าที่นอกจากจะช่วยลดความกังวลเพื่อให้เข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับงานและเพื่อนร่วมงานแล้ว ยังจะต้องคอยดูแลส่งมอบบุคลากรใหม่ ให้มีการรับเพื่อนใหม่เข้าไปในกลุ่มในลักษณะที่ช่วยดูแลระหว่างกันการปฐมนิเทศบุคลากรจึงเท่ากับการช่วยเหลือขจัดปัญหาเหล่านี้ ตลอดจนสามารถช่วยลดความกังวลที่มีอยู่ได้
3. ช่วยลดอัตราบุคลากรลาออก ถ้าบุคลากรมีความเข้าใจว่าตนเองทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก หรือเป็นที่ไม่พึงปรารถนาแก่เพื่อนร่วมงานหรือหน่วยงาน หรือกลายเป็นส่วนเกิน ซึ่งหากมีความรู้สึกขึ้นในทำนองเช่นนี้เมื่อใดแล้ว วิธีการแก้ไขของเขาก็คือ มักจะคิดลาออก จากการวิเคราะห์ ได้พบสถิติที่แจ้งชัดว่าอัตราลาออกมักสูงในระหว่างระยะแรกของการทำงานและได้จัดการแก้ไขโดยมีการปฐมนิเทศที่มีประสิทธิภาพแล้ว การลาออกในส่วนนี้ก็จะสามารถลดลงได้ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการช่วยประหยัดต้นทุนในตัวด้วย ทั้งนี้ เพราะการที่จะรับบุคลากรหนึ่ง ๆ ได้นั้น ทางราชการมักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสรรหาและคัดเลือกมาแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว อีกทั้งยังเสียเวลาเพื่อการนั้นด้วย
4. ช่วยประหยัดเวลาให้กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากบุคลากรที่เข้ามาใหม่และที่ได้รับเข้ามาแล้วจะต้องทำงานที่มอบหมายให้เสร็จสิ้น จึงย่อมเป็นเหตุผลโดยตรงที่การดำเนินการช่วยเหลือเขาเป็นสิ่งที่พึงต้องให้อย่างยิ่ง ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเขาได้อย่างดีคือ เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานซึ่งควรได้ใช้เวลาในการที่จะได้เข้าถึงตัวและช่วยเหลือบุคลากรให้สามารถทำงานได้ตั้งแต่ระยะแรก ในที่นี้การจัดปฐมนิเทศที่ถูกต้องและดีพอ ย่อมจะเท่ากับเป็นส่วนช่วยให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ที่ไม่ต้องไปเสียเวลาระหว่างกันอีกในภายหลัง
5. ช่วยให้บุคลากรใหม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความคาดหมายต่าง ๆ ต่องาน ตลอดจนมีทัศนคติในทางบวกหรือทางที่ดีต่อองค์การหรือหัวหน้างาน และเพื่อให้มีความเข้าใจในงานที่ทำด้วย บุคลากรใหม่มักจะเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ทันที แต่ระยะแรกเริ่มของการทำงานและเวลาไม่สู้จะนานนัก จะครุ่นคิดในสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลาว่างเขาได้ทำให้กับองค์การมากไปหรือน้อยไปอย่างไร บุคลากรแต่ละคนมักจะนำเอาเรื่องต่าง ๆ และงานที่ทำมาเป็นความคิดในทัศนคติของตนเสมอ
จากการวิจัยค้นคว้าที่ทำการศึกษาของ Texas Instrument ได้ชี้ให้เห็นว่า
1. ในไม่กี่วันแรกของการทำงาน ความกังวลและความไม่แน่ใจมักจะปรากฏขึ้นเสมอในระยะดังกล่าว
2. บุคลากรใหม่ส่วนใหญ่มักจะทำงานไปตามขนาดของการชักนำของกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ทำอยู่แล้ว และจะมีความกังวลมากยิ่งขึ้นจากอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนร่วมงาน
3. ความกังวลดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบการฝึกอบรมที่จะดำเนินการต่อไปด้วย
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ย่อมจะเห็นว่า การปฐมนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นและ
สำคัญที่เป็นเครื่องช่วยให้บุคลากรผู้นั้นมีอิสระที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานทั้งใน
แง่ความคาดหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ตลอดจนเพื่อให้มีทัศนคติและมีความพอใจในงานที่ทำด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อิทธิพลของกลุ่มมามีส่วนกำหนดความหมายที่เกี่ยวกับงานอย่างผิด ๆ
สรุปได้ว่า ในการนำบุคลากรเข้าสู่องค์การนั้น องค์การจัดการปฐมนิเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตนใน 3 ลักษณะ คือ ปรับตนเข้ากับระเบียบ กฏ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่มี ปรับตนให้เข้ากับคนหรือสมาชิกอื่น ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตน และให้ปรับตนเข้ากับท้องถิ่น
ความรับผิดชอบในการจัดปฐมนิเทศ
การปฐมนิเทศบุคลากรเป็นการเน้นการช่วยเหลือบุคลากรด้านการปรับตน มีความรู้สึกและมีเจตคติที่ดีต่อองค์การ องค์การจึงต้องปฐมนิเทศบุคลากร การกำหนดการปฐมนิเทศบุคลากร กูลิค ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
1. การชี้แจงการปฏิบัติงานรายวันของบุคลากร
2. ค่าตอบแทน สวัสดิการ และบริการต่าง ๆ ที่บุคลากรพึงได้รับ
3. นโยบายและการปฏิบัติตามนโยบาย
4. ความปลอดภัยต่าง ๆ
5. ความรู้เรื่ององค์การที่ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตามนโยบายขององค์การให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
6. ผลผลิตขององค์การหรือผลงาน
7. ความเป็นมาขององค์การและนโยบายต่าง ๆ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 180 - 182 ) ได้อธิบายถึงความรับผิดชอบในการจัดการปฐมนิเทศว่า โดยปกติแล้วการปฐมนิเทศจะมิใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายการบุคลากรเพียงฝ่ายเดียวแล้วมิใช่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาในฝ่ายปฏิบัติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น หากแต่ว่าทั้งสองกลุ่มจะต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในเรื่องนี้ โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานกิจกรรมทางด้านปฐมนิเทศในองค์การ รวมตลอดทั้งการเตรียมรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับสภาพการทำงาน การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ตลอดจนผลประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเป็นส่วนมากนั้น ผู้บังคับบัญชาในสายงานมักจะเป็นผู้กระทำ ในส่วนหลังนี้บทบาทของผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานปฏิบัติจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแผนการจัดปฐมนิเทศ แผนการจัดการปฐมนิเทศยังเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารงานในสายการปฏิบัติจะต้องเสียสละเวลาตามสมควร เพื่อที่จะได้บอกเล่าหรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับบุคลากรใหม่ในวันแรกของการทำงาน โดยพยายามทำในลักษณะที่เป็นมิตรต่อกัน ซึ่งจะช่วยให้การสื่อความหมายและการเรียนรู้ในการทำปฐมนิเทศนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และการที่ต้องแนะนำบุคลากรเก่าให้รู้จัก
กับบุคลากรใหม่ เพื่อที่จะให้กลุ่มได้มีโอกาสรู้จักสมาชิกที่เข้าใหม่และรับสมาชิกใหม่เข้าในกลุ่มได้อย่างอบอุ่นสรุปได้ว่า เนื้อหาในการปฐมนิเทศนั้นเป็นประเด็นต่อไปนี้
1. เรื่องขององค์การ
2. เรื่องของบุคคล
3. เรื่องกฏและระเบียบการพนักงาน
การวางแผนจัดปฐมนิเทศ
เรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องมีการพิจารณาถึงในการจัดทำปฐมนิเทศ คือ
1. นโยบายการปฐมนิเทศ เพื่อให้การปฐมนิเทศมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อทุกฝ่าย องค์การทุกแห่งควรจะได้พยายามกำหนดนโยบายการปฐมนิเทศให้แน่นอนลงไป โดยการปรึกษา และให้มีส่วนร่วมจากตัวแทนของฝ่ายจัดการและฝ่ายคนงานทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยกันพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ แผนการจัดทำปฐมนิเทศควรประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งนโยบายนี้ควรจะได้มีการทบทวนเป็นครั้งคราวและให้ฝ่ายบริหารระดับสูงเห็นชอบก่อนที่จะได้แจกจ่ายให้ทราบโดยทั่วกัน
2. งบประมาณ มักจะมีมากน้อยต่างกันออกไปแต่ละองค์การ แต่อย่างไรก็ตาม
ที่ถูกที่ควรแล้ว งบประมาณเพื่อการปฐมนิเทศจะต้องมิใช่ถูกจำกัดหรือประหยัดจนกระทั่งได้เฉพาะส่วนน้อยที่ไม่อาจใช้การได้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการปฐมนิเทศต้องขาดหายไป ต้นทุนค่าใช้จ่ายของการปฐมนิเทศควรจะมีขนาดที่พอเหมาะกับผลที่ได้รับการปฐมนิเทศนั้น ๆ
3. ข้อพิจารณาอื่น ๆ แผนการจัดการปฐมนิเทศที่ดีนั้น ควรจะต้องใช้เวลามากพอสมควร เพื่อจะได้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนในหัวข้อเรื่องที่สำคัญต่อไปนี้ที่สมควรพิจารณา คือ
3.1 เป้าหมายของแผนการปฐมนิเทศ
3.2 ขอบเขต(หรือหัวข้อเรื่อง ) เวลาและช่วงระยะเวลาการทำปฐมนิเทศ
3.3 ระยะเวลาที่จะต้องใช้สำหรับการเตรียมการและดำเนินการปฐมนิเทศ
3.4 หัวข้อที่จะบรรจุไว้ในการปฐมนิเทศ วิธีการจัดโครงเรื่องและวิธีการดำเนินการเสนอเรื่องเหล่านี้ที่จะกระทำให้เข้ากับผู้มาใหม่
3.5 จัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ วัสดุ สิ่งอำนวยความสะอาด ตลอดจนบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการและความพร้อมของบุคคลเหล่านั้นที่จะปรึกษาที่จะปลีกตัวมาช่วยงานได้
3.6 คู่มือบุคลากรที่ควรจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและระเบียบที่ควรทราบ
3.7 การปฐมนิเทศทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับงานและสังคมเกี่ยวกับผู้ร่วมงาน
3.8 หัวข้อเรื่องที่จะพูดเกี่ยวกับองค์การและที่เกี่ยวกับแผนกและงาน หรือฝ่ายที่ทำ
3.9 การฝึกอบรมเฉพาะเรื่องที่จะต้องกระทำโดยฝ่ายบริหารงานบุคคลและโดยหัวหน้างาน
3.10 ลำดับหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับการปฐมนิเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกสำหรับที่ฝ่ายการบุคลากรและหัวหน้างานจะได้ใช้ติดตามความเป็นไป
3.11 ความจำเป็นที่จะต้องมีการอบรมหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ด้านบุคคล
ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะทราบถึงเรื่องราวเทคนิคการปฐมนิเทศ
3.12 ทบทวนข้อผิดพลาดและจุดสำเร็จที่องค์การอื่นได้เคยประสบมาเกี่ยวกับการปฐมนิเทศ
3.13 วิธีการกระตุ้นให้บุคลากรเข้าใหม่ ร่วมถกและถามปัญหาแตกต่างทางด้านพื้นฐานการศึกษา ระดับสติปัญญาและประสบการณ์ทำงานที่มีอยู่แตกต่างกัน
วิธีการจัดโครงการปฐมนิเทศ
ธงชัย สันติวงษ์( 2540 : 185 - 187 ) ได้อธิบายถึงวิธีการจัดการปฐมนิเทศว่าการจัดการโครงการปฐมนิเทศนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ในบางกรณีลักษณะการจัดอาจจะกระทำอย่างไม่เป็นทางการ โดยจะกระทำด้วยการบอกกล่าวทางวาจาเท่านั้น แต่ในหลายกรณีที่ถูกต้องกว่านั้น คือ การมีกำหนดเวลาของโครงการปฐมนิเทศที่แน่นอน รวมตลอดทั้งการมีการจัดการอธิบายด้วยลายลักษณ์อักษรหรือแผนภูมิต่าง ๆ
แผนการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการนั้นส่วนใหญ่มักจะมีการจัดนำชมให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของหน่วยงาน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถ้าหากมิได้การนำชมจริง ๆ อย่างน้อยก็จะมีการฉายภาพประกอบให้เห็นถึงจุดต่าง ๆ ตลอดจนมีแผนภูมิและรูปของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแผนการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการนั้น ส่วนใหญ่มักจะครอบคลุมถึงหัวข้อต่อไปนี้ คือ
1. ประวัติขององค์การและนโยบายทั่วไปขององค์การ
2. รายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ
3. ลักษณะการจัดองค์การของหน่วยงาน
4. ระบบการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนกฏ ข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ
5. นโยบายที่เกี่ยวกับบุคคลและวิธีการปฏิบัติทางด้านการบริหารงานบุคคล
6. การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล
7. สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำและระเบียบที่จะต้องปฏิบัติแต่ละวัน
ในการดำเนินการตามข้อต่าง ๆ เหล่านี้ วิธีดำเนินการอาจจะจัดให้แตกต่างออกไปในบางหน่วยงาน ได้มีการจัดทำเป็นคู่มือประกอบ แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลมากนัก ที่ได้มีการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับปฐมนิเทศพบว่า การปฐมนิเทศโดยจัดให้มีการแสดงข้อมูลก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยแจกจ่ายเอกสารตามในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อที่จะให้พนักงานที่เข้ามาใหม่นั้นต้องจมอยู่กับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีมากจนเกินไป วิธีการจัดปฐมนิเทศโดยการกระทำด้วยการบรรยายแล้วจึงค่อยแจกจ่ายเอกสารนั้นจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
สำหรับแนวทางในการดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรนั้น ลำดับของเรื่องราวควรจะดำเนินการ ดังนี้
1. ในขั้นแรกสุด การปฐมนิเทศควรจะได้นำเอาเรื่องที่จำเป็น และที่ถือเป็นเรื่องที่ต้องรู้มาก่อนให้ทราบเป็นอันดับแรก แล้วจึงนำไปสู่การชี้แจงให้เข้าใจถึงนโยบายขององค์การ
2. ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการปฐมนิเทศ คือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับคนที่บุคลากรใหม่พึงรู้นั่นก็คือ หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และอีกเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจในระยะแรกนี้ก็คือ การที่จะบอกกล่าวแก่บุคลากรใหม่ว่าเขาจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการฝึกหัดทำงานจนกระทั่งได้มาตรฐานที่ต้องการ และพยายามส่งเสริมให้บุคลากรใหม่ได้หมั่นศึกษาหรือถามหรือขอความช่วยเหลือ ตลอดจนขอคำแนะนำเสมอถ้าหากมีความต้องการเกิดขึ้น
3. ควรจะจัดให้บุคลากรใหม่อยู่ในความดูแลหรืออยู่ภายใต้การฝึกฝนของบุคลากรที่ชำนาญงานแล้ว หรือหัวหน้างานในจุดนั้น ๆ โดยตรง ซึ่งย่อมจะช่วยให้เกิดประโยชน์ที่จะมีผู้คอยช่วยตอบคำถามและดูแลอย่างใกล้ชิดในระยะแรกของการปฏิบัติ
4. ภายหลังจากการที่ได้ทำงานในระยะหนึ่ง ควรจะต้องมีการติดตามและคอยกำกับบุคลากรใหม่ให้เข้ากันได้ดียิ่งขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน มากกว่าที่จะปล่อยให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นไปโดยการแนะนำในวันแรกเพียงครั้งเดียว เป้าหมายในที่นี้ก็คือ การมุ่งหมายพยายามที่จะให้บุคลากรใหม่เหล่านั้นได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด
5. จะต้องมีความคิดอยู่ในใจเสมอว่า จะต้องให้เวลาและโอกาสแก่บุคลากรใหม่อย่างน้อยระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ก่อนที่จะหวังผลจากบุคลากรอย่างเต็มที่นั้น ต้องระลึกอยู่เสมอว่าอย่างน้อยก็ให้บุคลากรผู้นั้นได้มีโอกาสสัมผัสเข้าไปถึงแก่นแท้ของงาน และของเพื่อนร่วมงานเสียก่อน
การมอบหมายภารกิจ การบรรจุและการติดตามผลการปฐมนิเทศ
ขั้นตอนสุดท้ายของแผนการจัดปฐมนิเทศ คือ การมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับหน้าที่งานให้กับพนักงานใหม่ ณ จุดนี้ผู้บังคับบัญชาของบุคลากรใหม่ย่อมต้องเป็นผู้รับช่วง และดำเนินการตามแผนการปฐมนิเทศต่ออีกระยะหนึ่ง แต่ปัญหาที่ได้จากการค้นพบอย่างหนึ่ง คือ ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานมักจะมีงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีความตั้งใจดีที่จะพยายามช่วยปฐมนิเทศในวันแรก ๆ ของการทำงานก็ตาม แต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องงานมากจนทำให้ต้องละเลยและมิได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานที่บุคลากรใหม่นั้นมักจะต้องการทราบ เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะทำ สิ่งเหล่านี้มักจะปรากฏเป็นปัญหาอยู่เสมอ วิธีการที่จะแน่ใจว่า การปฐมนิเทศได้มีการติดตามกระทำโดยสมบูรณ์ก็คือ การออกแบบหรือการจัดระบบให้มีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องมือที่สามารถติดตามแผนการปฐมนิเทศดังกล่าว ซึ่งลักษณะจะเป็นดังนี้ คือ บุคลากรใหม่จะช่วยดูให้ และหลังจากนั้นก็จะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มในสิ่งที่อาจจะเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรใหม่นั้น การใช้แบบฟอร์มการติดตามผลการปฐมนิเทศ หรือที่เรียกว่า Job Information Form ดังกล่าวนี้ ในที่สุดก็จะให้ผู้บังคับบัญชาและบุคลากรลงนาม
อีกวิธีหนึ่งก็คือ การจัดให้มีการนัดพบระหว่างกลุ่มที่ทำการปฐมนิเทศภายในเดือนแรกเพื่อที่จะได้มีการติดตามผลดูว่า บุคลากรใหม่ได้ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดีเพียงใด และเพื่อที่จะได้ประเมินผลการจัดปฐมนิเทศดังกล่าวนี้ด้วย ในที่นี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องเข้าใจว่ามิได้มีวตถุประสงค์เพื่อการทดสอบความรู้ หากแต่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการหวังผลที่จะให้เป็นเครื่องช่วยให้มีการยกระดับคุณภาพในกระบวนการให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การบรรจุบุคลากรใหม่ โดยปกติมักจะเป็นเรื่องซึ่งได้กระทำอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ บุคคลที่รับเข้าใหม่นั้นจะถูกมอบหมายไปยังตำแหน่งงานที่เป็นตำแหน่งที่ต้องการจะรับเข้าไปทำงาน
ในกรณีการคัดเลือกเป็นขั้นตอนงาน ที่แยกออกจากการมอบหมายภารกิจหน้าที่งานเช่นนี้การมอบหมายภารกิจและหน้าที่งานมักจะกระทำโดยการส่งตัวผู้นั้นไปยังผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานนั้น
แผนการประเมินผลโครงการปฐมนิเทศ
1. ท่านคิดว่าส่วนใดของโครงการปฐมนิเทศสำคัญที่สุดที่จะทำให้ท่านเข้าใจงานได้ดี (เลือก 1 ข้อ )
ก. ประวัติองค์การ
………………………………………………………………………………….
ข. โอกาสก้าวหน้าในงาน
………………………………………………………………………………
ค. มนุษยสัมพันธ์
…………………………………………………………………………………..
ง. ประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ
…………………………………………………………………………………..
จ. ระเบียบปฏิบัติ สำนักงาน
…………………………………………………………………………………..
ฉ. การอบรมเพื่อให้การเรียนรู้
…………………………………………………………………………………..
ช. การอบรมให้เกิดความชำนาญ
…………………………………………………………………………………..
2. ท่านคิดอย่างไร หลังจากที่ได้ทราบประวัติขององค์การ
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
3. หลังจากที่ได้เห็นโอกาสก้าวหน้าในงานแล้ว ท่านคิดว่าท่านอยากจะทำงานอะไรต่อไปในช่วงเวลา
1 ปี จากนี้
…………………………………………………………………………………..…
…………………………………………………………………………………..…
5 ปี จากนี้
…………………………………………………………………………………..…
…………………………………………………………………………………..…
และถ้าหากยังไม่ตัดสินใจเกี่ยวกับงานในอนาคต ขอให้บอกให้ทราบว่า เราจะช่วยท่านได้อย่างไร
…………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..………………………
4. ภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศแล้วท่านรู้สึกดีขึ้นหรือไม่อย่างไรในเรื่องต่อไปนี้
ที่
รายละเอียด
ดีขึ้น
ไม่ดีขึ้น
หมายเหตุ
1.
2.
3.
4.
การับและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
การรับและการแก้ปัญหานอกหน้าที่
เข้าใจปัญหาของหัวหน้างาน
เข้าใจข้อเท็จจริงว่าวิธีการช่วยแก้ปัญหาได้มีอยู่แล้ว
ผลประโยชน์ตอบแทนที่องค์การจัดให้ อะไรสำคัญที่สุดสำหรับท่าน ( ให้ยกมา 5 อย่าง จากลำดับที่ 1 - 5 )
ก. เงินเดือน ช. การลาพักผ่อน
ข. การประกันชีวิต ซ. สหกรณ์ออมทรัพย์
ค. สวัสดิการค่าเช่าบ้าน ฌ. การรักษาพยาบาล
ง. วันหยุด ญ. การอบรม
จ. การลากิจ ลาป่วย ฎ. ความปลอดภัย
ฉ. การศึกษาต่อ
6. การจัดปฐมนิเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานที่ได้มีส่วนช่วยท่านเข้าใจงานของท่านหรือไม่
( ) มีส่วนช่วย ( ) ไม่มีส่วนช่วย
7. แต่ละช่วงของการปฐมนิเทศท่านคิดว่าเวลาที่ใช้เหมาะสมหรือไม่
( ) เหมาะสม ( ) ไม่เหมาะสม
8. ท่านประเมินผู้ทำการปฐมนิเทศอย่างไร (ใส่เครื่องหมาย )
( ) ดีเลิศ ( ) ดี ( ) พอใช้ ( ) แย่
บอกเหตุผลด้วย………………………………………………..
9. ท่านได้สนใจต่อการปฐมนิเทศขนาดไหน ( ใส่เครื่องหมาย )
( ) สนใจอย่างมาก ( ) สนใจ ( ) สนใจอย่างผิวเผิน ( ) ไม่ค่อยสนใจ
จะอธิบายเหตุผลได้ไหม………………………………………………..
10. ท่านมีข้อเสนอแนะประการใดบ้าง ที่ช่วยสำหรับปรับปรุงการจัดปฐมนิเทศในครั้งต่อ ๆ ไป
…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
11. ท่านได้แนะนำเพื่อน ๆ ให้มาทำงานที่นี่ด้วยหรือไม่
( ) แนะนำ ( ) ไม่ได้แนะนำ
ที่เกิดจากการขาดการปฐมนิเทศ
ถ้าหากการปฐมนิเทศขาดหายไปไม่ได้กระทำ หรือกระทำแล้วไม่เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านภาวะจิตใจต่อคนงาน กล่าวคือทั้งความมั่นคง ความอบอุ่นและความพึงพอใจต่าง ๆ ของคนงานขาดหายไป ซึ่งมักจะทำให้หน่วยงานเกิดความกังวล ประหม่า ต่อต้าน ตลอดจนลาออกจากงาน
วิธีแก้ไขในเรื่องนี้จึงอยู่ที่การทำความรู้จัก ทำปฐมนิเทศให้ดี โดยมีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดความกังวลต่างๆ ที่เป็นปัญหาทางจิตใจของพนักงานที่เข้ามาใหม่เป็นสำคัญ
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากร ที่เข้ามาใหม่เหล่านี้จากการสัมภาษณ์คำถามโดยละเอียดกับหัวหน้าแผนกคนหนึ่งในบริษัท Texas Interments ในสหรัฐอเมริกาได้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคลากรใหม่ว่า
v ในวันแรกของการทำงานเป็นวันซึ่งมีแต่ความกระวนกระวายและวางตัวทำตัวไม่ถูก
v ไม่ว่าจะเป็นการทำอะไรก็ตามที่ทำโดยพนักงานใหม่รู้สึกว่าทุกอย่างล้วนแต่จะเป็นการเพิ่มปัญหาความกังวลให้กับเพื่อนร่วมงาน
v ความกังวลนี้จะมีอยู่นานตามสมควรสอดแทรกเข้าไปถึงขั้นตอนของกระบวนการอบรม
v การลาออกของพนักงานทีพึงจะรับเข้าใหม่นั้นปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความกังวลเป็นสาเหตุสำคัญ
v ผู้ทำงานใหม่มักจะลังเลที่จะซักถามปัญหากับหัวหน้างานของตน
v หัวหน้างานเกือบทุกคนต่างก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้และจากการสัมภาษณ์ถามปัญหากับหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางต่อไปอีก ก็ได้พบข้อมูลที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับหัวหน้างานเช่นเดียวกัน
v หัวหน้างานเองก็มีปัญหากังวลใจเช่นเดียวกับลูกน้องที่เข้ามาใหม่
v หัวหน้างานจะรู้สึกอึดอัดกับลูกน้องที่เข้าใหม่โดยเฉพาะกับคนที่เข้าใหม่ที่มีความสามารถและรอบรู้อะไรต่ออะไรมาก ๆ
v หัวหน้างานทั้งหลายมักจะตัดการสื่อความที่กระทำลงไปสู่ลูกน้องให้น้อยลงเพื่อจงใจที่จะหลีกเลี่ยงตัวเองให้ถอยห่างออกไป
v หัวหน้างานมักจะปกป้องและบันทอนมิให้มีการสื่อความหรือถามปัญหาขึ้น
v หัวหน้างานจะรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่งคือหลักการจูงใจที่เรียนมาจากชั้นเรียนนั้นไม่อาจนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนักวิชาการหลายท่านจึงได้ให้ความสนใจเพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ทางหนึ่งของการแก้ไขก็คือ การให้บุคลากรใหม่เข้าร่วมในรายการสัมมนาซึ่งวิธีการได้กำหนดขึ้นเพื่อพยายามให้สามารถลดความกังวลให้มีน้อยลงซึ่งเรื่องนี้นับว่าได้ผลบ้างตามสมควรที่การทำงานจะมีผลดีขึ้น
วิธีการอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดเตรียมองค์การให้พร้อมสำหรับบุคลากรใหม่ซึ่งวิธีการก็คือ
ก. การอธิบายให้ผู้เข้าใหม่ได้เข้าใจถึงบทบาทของตนที่จะต้องปฏิบัติ
ข. ขจัดข้อปัญหาที่อาจให้เกิดข้อเกรงกลัวต่อบุคลากรที่ทำงานอยู่เดิม
ค. จัดผู้คอยให้ความช่วยเหลือที่จะรับผิดชอบคอยช่วยพนักงานใหม่ในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งโดยวิธีนี้ผลผลิตในระยะแรก ๆ จะเป็นไปด้วยดี
วิธีการอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้วิธีการปรับให้กลมกลืนเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่า “ assimilation process “ ซึ่งจะจัดเตรียมโครงการโดยเอาวิธีการต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันและจัดทำเป็นแผนระยะยาว มุ่งให้ทั้งสามกลุ่มคือ หัวหน้างานทั้งหลายพนักงานเก่าทั้งหมดและคนเข้าใหม่ให้ประสานปรับตัวให้เข้ากันได้ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ กันที่จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการแก้ไขให้ปัญหาต่าง ๆ ลุล่วงไป
ลักษณะที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของแผนการปฐมนิเทศ
ข้อที่ปรากฏ 10 ประการต่อไปนี้ จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการปฐมนิเทศ ซึ่งถ้าหากแผนการปฐมนิเทศกระทำได้สำเร็จผลด้วยดี ผลที่ได้ก็ควรจะปรากฏดังนี้
1. บุคลากรใหม่จะรู้สึกมีความมั่นใจ และเกิดความมั่นคงทางใจ
2. บุคลากรเข้าใหม่ได้มีโอกาสพบปะฝ่ายจัดการระดับสูง หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน
3. มีความเข้าใจในเรื่องทั่วไปขององค์การ เช่น ประวัติ ภารกิจ กรอบหน้าที่รับผิดชอบ
4. ความเข้าใจและรู้ถึงจุดที่จะขอคำแนะนำช่วยเหลือเพื่อที่จะให้งานนั้นเสร็จ
5. ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องใช้ไม้สอยอุปกรณ์ที่มีอยู่และวิธีการดูแลรักษา
6. เข้าใจและคุ้ยเคยกับหน้าที่งานพื้นฐานและความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ของงานที่ทำอยู่กับงานอื่น ๆ และมาตรฐานผลงานที่หัวหน้างานกำหนดไว้และความคาดหมายที่หวังจะได้รับของหัวหน้างานนั้น
7. ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับเงื่อนไขการว่าจ้างและสภาพการทำงาน
8. ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ ที่จะได้รับการอบรมในหน้าที่งาน และโอกาสความก้าวหน้าที่จะได้รับ
9. ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแวดล้อมและลูกค้าขององค์การ
10. ความเข้าใจในนโยบายขององค์การ กฏ ระเบียบ ประเพณีและการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
การนำบุคคลเข้าสู่หน่วยงาน
การนำบุคคลเข้าสู่องค์การของราชการจะต้องยึดถือเอาระเบียบกฏหมายที่
เกี่ยวข้องหลายฉบับ ซึ่งมีข้าราชการอยู่สองประเภท คือ ข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือน การเข้าสู่ระบบข้าราชการต้องผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งมีเวลาทดลองเป็นระยะเวลาหกเดือน สำหรับข้าราชการพลเรือน และทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาหนึ่งปีสำหรับข้าราชการครู นับตั้งแต่วันที่บรรจุเข้ารับราชการโดยแยกปฏิบัติ ดังนี้
ข้าราชการครู
การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก.ค. กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู ตามหนังสือสำนัก ก.ค. ที่ ศธ.1304 (สนร) / ว 4 ลงวันที่ 5 กันยายน 2540 ซึ่งยกเลิกความเดิมของหนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ. 0504/ว 3 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2531 โดยกำหนดให้มีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการประเมินผลการทดลอง
ปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู
ด้วย ก.ค. ได้พิจารณาเห็นว่าในการดำเนินการมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ประกอบกับกฏ ก.ค. ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527) ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครูนั้น ควรให้ข้าราชการครูผู้ได้รับการบรรจุตามมาตรา 36 วรรคแรก และมาตรา 40 มีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค. กำหนดเพื่อให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ก.ค. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์
1.1 ให้ผู้ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูตามมาตรา 36 วรรคแรก และ
มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหนึ่งปี นับตั้งแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
1.2 ให้หัวหน้าสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาขั้นต้นมอบหมายให้ข้าราชการครูในสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคน ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแก่ข้าราชการครูซึ่ง
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำ เกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอน สื่อการสอน แบบวัดผล และประเมินผล แฟ้มสะสมงาน การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการปฏิบัติวิชาชีพครู
1.3 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจัดทำแผนการสอน สื่อการสอน แบบวัดผลและประเมินผลและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนที่สอน เพื่อประกอบการสอน และให้มีการบันทึกผลการสอนของวิชาที่สอน
1.4 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจัดเก็บรวบรวมผลการปฏิบัติงานให้เป็นระบบ โดยจัดเป็นแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.5 ให้คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยใช้แบบประเมินตามที่ ก.ค. กำหนด
1.6 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองตามแบบที่ ก.ค. กำหนด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาตนเองและประกอบการประเมินของคณะกรรมการด้วย
2. วิธีการ
2.1 ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 สั่งให้ผู้ซึ่งได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูตามมาตรา 36 วรรคแรก และตามมาตรา 40 ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
2.2 เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้รับทราบคำสั่งบรรจุและรับรายงานตัวข้าราชการครูแล้ว ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งข้าราชการครูในสถานศึกษานั้นจำนวน 1 คน เป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติวิชาชีพครูและให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ประกอบด้วยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นประธาน ข้าราชการครูอาวุโส หรือข้าราชการครู จำนวนหนึ่งคน และข้าราชการครูซึ่งเป็นพี่เลี่ยงอีกหนึ่งคนเป็นกรรมการ เพื่อประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู
2.3 ให้ข้าราชการครูซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ หรือให้ข้อมูลแก่ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประสานงานในการพัฒนาแก่ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2.4 ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ โดยให้ประเมินผลการปฏิบัติงานสี่ระยะ ระยะละสามเดือน
ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คณะกรรมการแต่ละคนประเมินโดยอิสระ และประชุมสรุปผล
ในการตัดสินของคณะกรรมการประเมินให้ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
2.5 ให้ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการประเมินตนเองเป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกับคณะกรรมการ โดยให้ประเมินตนเองแล้วเสนอคณะกรรมการเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
2.6 เมื่อคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งแล้ว ให้แจ้งผลสรุปให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2.7 เมื่อใดที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหนึ่งปี และได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครบที่กำหนดแล้ว ให้คณะกรรมการแจ้งผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบและหากจะต้องให้มีการปรับปรุงหรือพัฒนาประการใดก็ให้แจ้งให้ทราบด้วย เพื่อข้าราชการครูผู้นั้นจะได้ปรับปรุงหรือพัฒนา
เมื่อได้ดำเนินการเกี่ยวกับการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเรียบร้อยแล้ว ให้
หัวหน้าสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 เพื่อรายงาน ก.ค. ตามที่
กำหนดไว้ในกฏ ก.ค. ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527)
2.8 ในกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมหรือมีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงไม่สามารถให้รับราชการต่อไปได้ให้หัวหน้าสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 โดยด่วนเพื่อให้มีการดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการต่อไป
2.9 ให้ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเก็บสำเนาสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและผลการประเมินตนเองไว้ในแฟ้มสะสมงานเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานในโอกาสต่อไป
ข้าราชการพลเรือน
1. การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ 3 ( พ.ศ. 2518 ) ทำการประเมินตลอดระยะเวลา 6 เดือนโดยให้ผู้บังคับ บัญชาจัดพี่เลี้ยงเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาแก่ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2. การประเมินผลให้สรุปผลการประเมิน 3 เดือนต่อครั้ง เมื่อทำการประเมินผลแล้วจะต้องแจ้งผลให้ประเมินแก่ข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบหากมีข้อบกพร่องมีสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ก็ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
3. แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ จะได้ประกอบการพิจารณาจัดทำรายงาน แล้วให้รายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ( ส่งแบบประเมิน ) ให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2 กรณี คือ
1. รายงานว่าควรให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติราชการปฏิบัติราชการในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งต่อไปได้ ( รายงานให้พ้นการทดลอง ) ให้หัวหน้าสถานศึกษารายงานเมื่อข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทดลองครบ 6 เดือนแล้ว
2. รายงานว่าควรให้ข้าราชการผู้ทดลองออกจากราชการ ( ไม่พ้นการทดลอง )
เพราะมีความประพฤติไม่ดี มีความรู้และความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้รายงานทันทีเมื่อมีเหตุไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องรอรายงานเมื่อครบ 6 เดือน และการรายงานได้ออกจากราชการที่จะต้องรายงานก่อน 6 เดือนโดยแสดงข้อมูลรายละเอียดเหตุผล ข้อเท็จจริงของความไม่เหมาะสมของข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ชัดเจนว่าไม่เหมาะสมด้วยเรื่องอะไร อย่างไร
ตามกฎหมาย ข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยรับราชการมาก่อน ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน่าที่และรับเงินเดือนหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการได้รับไปแล้วเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าช่วยเหลือบุตร และผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจะขอบรรจุกลับเข้ารับราชการไม่ได้ การสั่งให้ออกจากราชการตามนัยนี้ ต้องเป็นกรณีที่มีความประพฤติ ความรู้ ความสามารถ ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2531 : 53 ) ได้อธิบายความหมายของการปฐมนิเทศบุคลากรว่า การปฐมนิเทศบุคลากร หมายถึง กิจกรรมการนำบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกแล้วบรรจุเข้าประจำการในองค์การอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่การช่วยให้บุคลากรปรับตนถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังขององค์การ มีความรู้เรื่องงานที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตลอดจนวิธีปฏิบัติงานภายใต้กฎเกณฑ์ที่องค์การกำหนดขึ้น ทั้งทำความเข้าใจนโยบายขององค์การและเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งรู้จักคุ้นเคยกับบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมงานและเกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติต่อกันให้ถูกต้องตลอดเวลาในการทำงาน
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 180 ) ให้ความหมายของการปฐมนิเทศว่า การปฐมนิเทศ หมายถึง กิจกรรมทางด้านการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพยายามแนะนำพนักงานใหม่ให้รู้จักหน่วยงานและให้รู้จักงานในหน้าที่ที่ต้องทำ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน
ความสำคัญของการปฐมนิเทศ
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2539 : 49 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการปฐมนิเทศเนื่องจากบุคลากรหรือสมาชิกใหม่ขององค์การนั้นมีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ความชำนาญ วิธีการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ องค์การ หน่วยงานโรงเรียนจึงต้องให้ความสำคัญของการนำบุคลากรเข้าสู่หน่วยงาน ซึ่งความสำคัญของการนำบุคลากรเข้าสู่หน่วยงานโดยการปฐมนิเทศนั้นสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้บุคลากรปรับตนเข้ากับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วัฒนธรรม ประเพณี รู้เป้าหมายหลัก และนโยบายขององค์การและสภาพท้องถิ่น
2. ช่วยให้บุคลากรปรับตนเข้ากับคนอื่น ๆ ได้ในเวลาที่ไม่ช้า ทำให้มีแนวโน้มในการปฏิบัติงาน ร่วมงาน และปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 181 ) ได้อธิบายความสำคัญของการนิเทศไว้ดังนี้
เหตุที่ถือว่าการปฐมนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นนั้นสาเหตุก็เพราะโดยปกติแล้วองค์การทุกแห่งย่อมเป็นสภาพที่ทำงานแห่งใหม่ของบุคลากร และมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามสภาพเงื่อนไข วิธีการทำงาน นโยบายและระเบียบปฏิบัติ รวมตลอดถึงโครงสร้างและเนื้อหาของงาน สิ่งเหล่านั้นมักจะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในทุกองค์การตามเวลา ดังนั้นเพื่อที่จะไม่เป็นปัญหาหลักในเรื่องความไม่เข้าใจจึงจำเป็นต้องให้บุคลากรได้มีโอกาสติดตามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเรื่องที่จะเห็นว่าหาใช่แต่เฉพาะบุคลากรใหม่เท่านั้น แม้บุคลากรเก่าที่เคยทำงานอยู่ก่อน เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ การปฐมนิเทศก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำใหม่เช่นเดียวกัน ยิ่งในกรณีของบุคลากรใหม่ย่อมมีทัศนคติและมีลักษณะของตัวเองมาก่อน ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ โดยเฉพาะพื้นฐานที่ไม่ตรงกับสภาพที่เป็นอยู่ในหน่วยงานใหม่ของเขา จึงมักจะปรากฏอยู่เสมอว่า บุคลากรใหม่ไม่ได้รับการชี้แจงหรือปฐมนิเทศให้เข้าใจเรื่องที่ควรทราบนั้น เมื่ออยู่ไปอีกระยะหนึ่งในแรก ๆ นั้น ก็จะขัดแย้งทางจิตวิทยาขึ้นจนกลายเป็นการตื่นตระหนก ประหม่าหรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผิดไป การปรับตัวจึงเป็นไปไม่ได้ราบรื่น จึงต้องใช้เวลานานในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องจัดโครงการปฐมนิเทศขึ้นมาเพื่อให้บุคลากรปรับตัวให้เข้ากันได้อย่างดีในระยะแรกนั่นเอง การปฐมนิเทศจึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และถึงแม้จะเป็นกิจกรรมส่วนย่อยขั้นตอนหนึ่งก็ตาม แต่โดยข้อเท็จจริง หากพิจารณาในแง่ของจิตวิทยาหรือความนึกคิดแล้ว ผลกระทบของการมิได้มีการปฐมนิเทศนับได้ว่าเป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายได้มากมายเช่นกัน
ความมุ่งหมายของการปฐมนิเทศ
เนชั่นแนล อินดัสเทรียล คอนเฟอร์เรนท์ บอร์ด ( ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. 2531 : 53 : อ้างอิงมาจาก National Industrial Conference Board . 1953 ) ศึกษากระบวนการและโปรแกรมการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นในองค์การต่าง ๆ และพบว่ากระบวนการ
และกำหนดการปฐมนิเทศกระทำไปภายใต้จุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
1. เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การให้กับบุคคล
2. เพื่อพัฒนาด้านเจตคติที่ดีให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงานในองค์การ และจะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการทำงานได้
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ ( 2531 : 54 ) ได้ให้ความเห็นต่อไปอีกว่า การจัดกระบวนการและการกำหนดการปฐมนิเทศควรกระทำไปตามวัตถุประสงค์หลัก 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในองค์การได้ดี ภายในเวลาที่ไม่ชักช้า การแนะนำให้รู้จักบุคลากรทุกคนและทุกฝ่าย ที่บุคลากรทำงานเกี่ยวข้องด้วย ทั้งด้านส่วนตัวและหน้าที่รับผิดชอบ มีแนวโน้มจะช่วยได้มาก
2. เพื่อช่วยให้บุคลากรปรับตัวให้เข้ากับสิ่งอื่น เป็นต้นว่า เงื่อนไข กฏหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่มุ่งให้บุคลากรปฏิบัติงาน รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณี ขององค์การที่เคยปฏิบัติและกำลังปฏิบัติอยู่ การแนะนำให้บุคลากรรู้เป้าหมายหลักและนโยบายขององค์การ การให้บุคลากรได้ศึกษาแฟ้มรวบรวมคำสั่งต่าง ๆ สามารถช่วยให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของคำสั่งและข้อตกลงของที่ประชุมและหาทางนำไปสู่การปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( 2533 : 156 - 157 ) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการปฐมนิเทศไว้ 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและหน้าที่ของหน่วยงานในองค์การที่ตนทำ
2. เพื่อให้บุคลากรใหม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักเบื้องต้นที่เกี่ยวกับระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การ รวมทั้งสิทธิประโยชน์และบริการต่าง ๆ ที่องค์การจัดให้
3. เพื่อสร้างขวัญและสร้างความคุ้นเคยต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานในอันที่
จะทำให้บุคลากรใหม่เกิดความสบายใจเป็นการช่วยให้เขาเริ่มต้นที่ดีในการทำงานตามที่ได้รับ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 182 - 184 ) ได้สรุปวัตถุประสงค์ของการจัด
การปฐมนิเทศไว้ 5 ประการ คือ
1. เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวกับงบประมาณอันเนื่องจากบุคลากรที่เข้าใหม่ กล่าวคือ ถ้าหากบุคลากรใหม่มิได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับงาน ตลอดจนหน่วยงานและสมาชิกเพื่อนร่วมงานแล้วก็ย่อมเป็นปัญหา ทำให้เสียเวลาแก่บุคลากรที่จะต้องค่อย ๆ เรียนรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็ย่อมหมายถึงการเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น สำหรับระยะแรกของบุคลากรใหม่ในช่วงการเริ่มต้นฝึกงาน การจัดการปฐมนิเทศที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดงบประมาณได้ในแง่นี้และช่วยให้บุคลากรใหม่ สามารถทำงานเข้าสู่มาตรฐานเทียบเท่ากับคนอื่น ๆได้รวดเร็วขึ้น
2. ช่วยลดปัญหาความกังวลและขจัดการแซวของบุคลากรเก่า ๆ ถ้าหากบุคลากรใหม่มีความกังวลแล้ว ส่วนใหญ่ผลของการกังวลในสิ่งต่าง ๆ มักจะทำให้การปฏิบัติงานล้มเหลวไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากบุคลากรเก่ามิได้มีความช่วยเหลืออย่างจริงใจ หรือมีมิตรที่ดีแต่กลับคอยแหย่หรือก่อกวนหยอกล้อบุคลากรใหม่แล้ว ก็ยิ่งจะมีผลทำให้เกิดความกลัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลเสียย่อมเกิดสำหรับผู้ที่ต้องไปเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่และเพื่อนร่วมงานใหม่ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาจึงควรถือเป็นหน้าที่นอกจากจะช่วยลดความกังวลเพื่อให้เข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับงานและเพื่อนร่วมงานแล้ว ยังจะต้องคอยดูแลส่งมอบบุคลากรใหม่ ให้มีการรับเพื่อนใหม่เข้าไปในกลุ่มในลักษณะที่ช่วยดูแลระหว่างกันการปฐมนิเทศบุคลากรจึงเท่ากับการช่วยเหลือขจัดปัญหาเหล่านี้ ตลอดจนสามารถช่วยลดความกังวลที่มีอยู่ได้
3. ช่วยลดอัตราบุคลากรลาออก ถ้าบุคลากรมีความเข้าใจว่าตนเองทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก หรือเป็นที่ไม่พึงปรารถนาแก่เพื่อนร่วมงานหรือหน่วยงาน หรือกลายเป็นส่วนเกิน ซึ่งหากมีความรู้สึกขึ้นในทำนองเช่นนี้เมื่อใดแล้ว วิธีการแก้ไขของเขาก็คือ มักจะคิดลาออก จากการวิเคราะห์ ได้พบสถิติที่แจ้งชัดว่าอัตราลาออกมักสูงในระหว่างระยะแรกของการทำงานและได้จัดการแก้ไขโดยมีการปฐมนิเทศที่มีประสิทธิภาพแล้ว การลาออกในส่วนนี้ก็จะสามารถลดลงได้ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการช่วยประหยัดต้นทุนในตัวด้วย ทั้งนี้ เพราะการที่จะรับบุคลากรหนึ่ง ๆ ได้นั้น ทางราชการมักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสรรหาและคัดเลือกมาแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว อีกทั้งยังเสียเวลาเพื่อการนั้นด้วย
4. ช่วยประหยัดเวลาให้กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากบุคลากรที่เข้ามาใหม่และที่ได้รับเข้ามาแล้วจะต้องทำงานที่มอบหมายให้เสร็จสิ้น จึงย่อมเป็นเหตุผลโดยตรงที่การดำเนินการช่วยเหลือเขาเป็นสิ่งที่พึงต้องให้อย่างยิ่ง ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเขาได้อย่างดีคือ เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานซึ่งควรได้ใช้เวลาในการที่จะได้เข้าถึงตัวและช่วยเหลือบุคลากรให้สามารถทำงานได้ตั้งแต่ระยะแรก ในที่นี้การจัดปฐมนิเทศที่ถูกต้องและดีพอ ย่อมจะเท่ากับเป็นส่วนช่วยให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ที่ไม่ต้องไปเสียเวลาระหว่างกันอีกในภายหลัง
5. ช่วยให้บุคลากรใหม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความคาดหมายต่าง ๆ ต่องาน ตลอดจนมีทัศนคติในทางบวกหรือทางที่ดีต่อองค์การหรือหัวหน้างาน และเพื่อให้มีความเข้าใจในงานที่ทำด้วย บุคลากรใหม่มักจะเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ทันที แต่ระยะแรกเริ่มของการทำงานและเวลาไม่สู้จะนานนัก จะครุ่นคิดในสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลาว่างเขาได้ทำให้กับองค์การมากไปหรือน้อยไปอย่างไร บุคลากรแต่ละคนมักจะนำเอาเรื่องต่าง ๆ และงานที่ทำมาเป็นความคิดในทัศนคติของตนเสมอ
จากการวิจัยค้นคว้าที่ทำการศึกษาของ Texas Instrument ได้ชี้ให้เห็นว่า
1. ในไม่กี่วันแรกของการทำงาน ความกังวลและความไม่แน่ใจมักจะปรากฏขึ้นเสมอในระยะดังกล่าว
2. บุคลากรใหม่ส่วนใหญ่มักจะทำงานไปตามขนาดของการชักนำของกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ทำอยู่แล้ว และจะมีความกังวลมากยิ่งขึ้นจากอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนร่วมงาน
3. ความกังวลดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบการฝึกอบรมที่จะดำเนินการต่อไปด้วย
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ย่อมจะเห็นว่า การปฐมนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นและ
สำคัญที่เป็นเครื่องช่วยให้บุคลากรผู้นั้นมีอิสระที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานทั้งใน
แง่ความคาดหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ตลอดจนเพื่อให้มีทัศนคติและมีความพอใจในงานที่ทำด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อิทธิพลของกลุ่มมามีส่วนกำหนดความหมายที่เกี่ยวกับงานอย่างผิด ๆ
สรุปได้ว่า ในการนำบุคลากรเข้าสู่องค์การนั้น องค์การจัดการปฐมนิเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตนใน 3 ลักษณะ คือ ปรับตนเข้ากับระเบียบ กฏ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่มี ปรับตนให้เข้ากับคนหรือสมาชิกอื่น ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตน และให้ปรับตนเข้ากับท้องถิ่น
ความรับผิดชอบในการจัดปฐมนิเทศ
การปฐมนิเทศบุคลากรเป็นการเน้นการช่วยเหลือบุคลากรด้านการปรับตน มีความรู้สึกและมีเจตคติที่ดีต่อองค์การ องค์การจึงต้องปฐมนิเทศบุคลากร การกำหนดการปฐมนิเทศบุคลากร กูลิค ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
1. การชี้แจงการปฏิบัติงานรายวันของบุคลากร
2. ค่าตอบแทน สวัสดิการ และบริการต่าง ๆ ที่บุคลากรพึงได้รับ
3. นโยบายและการปฏิบัติตามนโยบาย
4. ความปลอดภัยต่าง ๆ
5. ความรู้เรื่ององค์การที่ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตามนโยบายขององค์การให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
6. ผลผลิตขององค์การหรือผลงาน
7. ความเป็นมาขององค์การและนโยบายต่าง ๆ
ธงชัย สันติวงษ์ ( 2540 : 180 - 182 ) ได้อธิบายถึงความรับผิดชอบในการจัดการปฐมนิเทศว่า โดยปกติแล้วการปฐมนิเทศจะมิใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายการบุคลากรเพียงฝ่ายเดียวแล้วมิใช่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาในฝ่ายปฏิบัติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น หากแต่ว่าทั้งสองกลุ่มจะต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในเรื่องนี้ โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานกิจกรรมทางด้านปฐมนิเทศในองค์การ รวมตลอดทั้งการเตรียมรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับสภาพการทำงาน การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ตลอดจนผลประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเป็นส่วนมากนั้น ผู้บังคับบัญชาในสายงานมักจะเป็นผู้กระทำ ในส่วนหลังนี้บทบาทของผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานปฏิบัติจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแผนการจัดปฐมนิเทศ แผนการจัดการปฐมนิเทศยังเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารงานในสายการปฏิบัติจะต้องเสียสละเวลาตามสมควร เพื่อที่จะได้บอกเล่าหรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับบุคลากรใหม่ในวันแรกของการทำงาน โดยพยายามทำในลักษณะที่เป็นมิตรต่อกัน ซึ่งจะช่วยให้การสื่อความหมายและการเรียนรู้ในการทำปฐมนิเทศนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และการที่ต้องแนะนำบุคลากรเก่าให้รู้จัก
กับบุคลากรใหม่ เพื่อที่จะให้กลุ่มได้มีโอกาสรู้จักสมาชิกที่เข้าใหม่และรับสมาชิกใหม่เข้าในกลุ่มได้อย่างอบอุ่นสรุปได้ว่า เนื้อหาในการปฐมนิเทศนั้นเป็นประเด็นต่อไปนี้
1. เรื่องขององค์การ
2. เรื่องของบุคคล
3. เรื่องกฏและระเบียบการพนักงาน
การวางแผนจัดปฐมนิเทศ
เรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องมีการพิจารณาถึงในการจัดทำปฐมนิเทศ คือ
1. นโยบายการปฐมนิเทศ เพื่อให้การปฐมนิเทศมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อทุกฝ่าย องค์การทุกแห่งควรจะได้พยายามกำหนดนโยบายการปฐมนิเทศให้แน่นอนลงไป โดยการปรึกษา และให้มีส่วนร่วมจากตัวแทนของฝ่ายจัดการและฝ่ายคนงานทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยกันพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ แผนการจัดทำปฐมนิเทศควรประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งนโยบายนี้ควรจะได้มีการทบทวนเป็นครั้งคราวและให้ฝ่ายบริหารระดับสูงเห็นชอบก่อนที่จะได้แจกจ่ายให้ทราบโดยทั่วกัน
2. งบประมาณ มักจะมีมากน้อยต่างกันออกไปแต่ละองค์การ แต่อย่างไรก็ตาม
ที่ถูกที่ควรแล้ว งบประมาณเพื่อการปฐมนิเทศจะต้องมิใช่ถูกจำกัดหรือประหยัดจนกระทั่งได้เฉพาะส่วนน้อยที่ไม่อาจใช้การได้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการปฐมนิเทศต้องขาดหายไป ต้นทุนค่าใช้จ่ายของการปฐมนิเทศควรจะมีขนาดที่พอเหมาะกับผลที่ได้รับการปฐมนิเทศนั้น ๆ
3. ข้อพิจารณาอื่น ๆ แผนการจัดการปฐมนิเทศที่ดีนั้น ควรจะต้องใช้เวลามากพอสมควร เพื่อจะได้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนในหัวข้อเรื่องที่สำคัญต่อไปนี้ที่สมควรพิจารณา คือ
3.1 เป้าหมายของแผนการปฐมนิเทศ
3.2 ขอบเขต(หรือหัวข้อเรื่อง ) เวลาและช่วงระยะเวลาการทำปฐมนิเทศ
3.3 ระยะเวลาที่จะต้องใช้สำหรับการเตรียมการและดำเนินการปฐมนิเทศ
3.4 หัวข้อที่จะบรรจุไว้ในการปฐมนิเทศ วิธีการจัดโครงเรื่องและวิธีการดำเนินการเสนอเรื่องเหล่านี้ที่จะกระทำให้เข้ากับผู้มาใหม่
3.5 จัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ วัสดุ สิ่งอำนวยความสะอาด ตลอดจนบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการและความพร้อมของบุคคลเหล่านั้นที่จะปรึกษาที่จะปลีกตัวมาช่วยงานได้
3.6 คู่มือบุคลากรที่ควรจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและระเบียบที่ควรทราบ
3.7 การปฐมนิเทศทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับงานและสังคมเกี่ยวกับผู้ร่วมงาน
3.8 หัวข้อเรื่องที่จะพูดเกี่ยวกับองค์การและที่เกี่ยวกับแผนกและงาน หรือฝ่ายที่ทำ
3.9 การฝึกอบรมเฉพาะเรื่องที่จะต้องกระทำโดยฝ่ายบริหารงานบุคคลและโดยหัวหน้างาน
3.10 ลำดับหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับการปฐมนิเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกสำหรับที่ฝ่ายการบุคลากรและหัวหน้างานจะได้ใช้ติดตามความเป็นไป
3.11 ความจำเป็นที่จะต้องมีการอบรมหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ด้านบุคคล
ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะทราบถึงเรื่องราวเทคนิคการปฐมนิเทศ
3.12 ทบทวนข้อผิดพลาดและจุดสำเร็จที่องค์การอื่นได้เคยประสบมาเกี่ยวกับการปฐมนิเทศ
3.13 วิธีการกระตุ้นให้บุคลากรเข้าใหม่ ร่วมถกและถามปัญหาแตกต่างทางด้านพื้นฐานการศึกษา ระดับสติปัญญาและประสบการณ์ทำงานที่มีอยู่แตกต่างกัน
วิธีการจัดโครงการปฐมนิเทศ
ธงชัย สันติวงษ์( 2540 : 185 - 187 ) ได้อธิบายถึงวิธีการจัดการปฐมนิเทศว่าการจัดการโครงการปฐมนิเทศนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ในบางกรณีลักษณะการจัดอาจจะกระทำอย่างไม่เป็นทางการ โดยจะกระทำด้วยการบอกกล่าวทางวาจาเท่านั้น แต่ในหลายกรณีที่ถูกต้องกว่านั้น คือ การมีกำหนดเวลาของโครงการปฐมนิเทศที่แน่นอน รวมตลอดทั้งการมีการจัดการอธิบายด้วยลายลักษณ์อักษรหรือแผนภูมิต่าง ๆ
แผนการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการนั้นส่วนใหญ่มักจะมีการจัดนำชมให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของหน่วยงาน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถ้าหากมิได้การนำชมจริง ๆ อย่างน้อยก็จะมีการฉายภาพประกอบให้เห็นถึงจุดต่าง ๆ ตลอดจนมีแผนภูมิและรูปของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแผนการปฐมนิเทศที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการนั้น ส่วนใหญ่มักจะครอบคลุมถึงหัวข้อต่อไปนี้ คือ
1. ประวัติขององค์การและนโยบายทั่วไปขององค์การ
2. รายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ
3. ลักษณะการจัดองค์การของหน่วยงาน
4. ระบบการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนกฏ ข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ
5. นโยบายที่เกี่ยวกับบุคคลและวิธีการปฏิบัติทางด้านการบริหารงานบุคคล
6. การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล
7. สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำและระเบียบที่จะต้องปฏิบัติแต่ละวัน
ในการดำเนินการตามข้อต่าง ๆ เหล่านี้ วิธีดำเนินการอาจจะจัดให้แตกต่างออกไปในบางหน่วยงาน ได้มีการจัดทำเป็นคู่มือประกอบ แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลมากนัก ที่ได้มีการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับปฐมนิเทศพบว่า การปฐมนิเทศโดยจัดให้มีการแสดงข้อมูลก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยแจกจ่ายเอกสารตามในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อที่จะให้พนักงานที่เข้ามาใหม่นั้นต้องจมอยู่กับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีมากจนเกินไป วิธีการจัดปฐมนิเทศโดยการกระทำด้วยการบรรยายแล้วจึงค่อยแจกจ่ายเอกสารนั้นจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
สำหรับแนวทางในการดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรนั้น ลำดับของเรื่องราวควรจะดำเนินการ ดังนี้
1. ในขั้นแรกสุด การปฐมนิเทศควรจะได้นำเอาเรื่องที่จำเป็น และที่ถือเป็นเรื่องที่ต้องรู้มาก่อนให้ทราบเป็นอันดับแรก แล้วจึงนำไปสู่การชี้แจงให้เข้าใจถึงนโยบายขององค์การ
2. ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการปฐมนิเทศ คือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับคนที่บุคลากรใหม่พึงรู้นั่นก็คือ หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และอีกเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจในระยะแรกนี้ก็คือ การที่จะบอกกล่าวแก่บุคลากรใหม่ว่าเขาจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการฝึกหัดทำงานจนกระทั่งได้มาตรฐานที่ต้องการ และพยายามส่งเสริมให้บุคลากรใหม่ได้หมั่นศึกษาหรือถามหรือขอความช่วยเหลือ ตลอดจนขอคำแนะนำเสมอถ้าหากมีความต้องการเกิดขึ้น
3. ควรจะจัดให้บุคลากรใหม่อยู่ในความดูแลหรืออยู่ภายใต้การฝึกฝนของบุคลากรที่ชำนาญงานแล้ว หรือหัวหน้างานในจุดนั้น ๆ โดยตรง ซึ่งย่อมจะช่วยให้เกิดประโยชน์ที่จะมีผู้คอยช่วยตอบคำถามและดูแลอย่างใกล้ชิดในระยะแรกของการปฏิบัติ
4. ภายหลังจากการที่ได้ทำงานในระยะหนึ่ง ควรจะต้องมีการติดตามและคอยกำกับบุคลากรใหม่ให้เข้ากันได้ดียิ่งขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน มากกว่าที่จะปล่อยให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นไปโดยการแนะนำในวันแรกเพียงครั้งเดียว เป้าหมายในที่นี้ก็คือ การมุ่งหมายพยายามที่จะให้บุคลากรใหม่เหล่านั้นได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด
5. จะต้องมีความคิดอยู่ในใจเสมอว่า จะต้องให้เวลาและโอกาสแก่บุคลากรใหม่อย่างน้อยระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ก่อนที่จะหวังผลจากบุคลากรอย่างเต็มที่นั้น ต้องระลึกอยู่เสมอว่าอย่างน้อยก็ให้บุคลากรผู้นั้นได้มีโอกาสสัมผัสเข้าไปถึงแก่นแท้ของงาน และของเพื่อนร่วมงานเสียก่อน
การมอบหมายภารกิจ การบรรจุและการติดตามผลการปฐมนิเทศ
ขั้นตอนสุดท้ายของแผนการจัดปฐมนิเทศ คือ การมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับหน้าที่งานให้กับพนักงานใหม่ ณ จุดนี้ผู้บังคับบัญชาของบุคลากรใหม่ย่อมต้องเป็นผู้รับช่วง และดำเนินการตามแผนการปฐมนิเทศต่ออีกระยะหนึ่ง แต่ปัญหาที่ได้จากการค้นพบอย่างหนึ่ง คือ ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานมักจะมีงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีความตั้งใจดีที่จะพยายามช่วยปฐมนิเทศในวันแรก ๆ ของการทำงานก็ตาม แต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องงานมากจนทำให้ต้องละเลยและมิได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานที่บุคลากรใหม่นั้นมักจะต้องการทราบ เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะทำ สิ่งเหล่านี้มักจะปรากฏเป็นปัญหาอยู่เสมอ วิธีการที่จะแน่ใจว่า การปฐมนิเทศได้มีการติดตามกระทำโดยสมบูรณ์ก็คือ การออกแบบหรือการจัดระบบให้มีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องมือที่สามารถติดตามแผนการปฐมนิเทศดังกล่าว ซึ่งลักษณะจะเป็นดังนี้ คือ บุคลากรใหม่จะช่วยดูให้ และหลังจากนั้นก็จะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มในสิ่งที่อาจจะเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรใหม่นั้น การใช้แบบฟอร์มการติดตามผลการปฐมนิเทศ หรือที่เรียกว่า Job Information Form ดังกล่าวนี้ ในที่สุดก็จะให้ผู้บังคับบัญชาและบุคลากรลงนาม
อีกวิธีหนึ่งก็คือ การจัดให้มีการนัดพบระหว่างกลุ่มที่ทำการปฐมนิเทศภายในเดือนแรกเพื่อที่จะได้มีการติดตามผลดูว่า บุคลากรใหม่ได้ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดีเพียงใด และเพื่อที่จะได้ประเมินผลการจัดปฐมนิเทศดังกล่าวนี้ด้วย ในที่นี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องเข้าใจว่ามิได้มีวตถุประสงค์เพื่อการทดสอบความรู้ หากแต่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการหวังผลที่จะให้เป็นเครื่องช่วยให้มีการยกระดับคุณภาพในกระบวนการให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การบรรจุบุคลากรใหม่ โดยปกติมักจะเป็นเรื่องซึ่งได้กระทำอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ บุคคลที่รับเข้าใหม่นั้นจะถูกมอบหมายไปยังตำแหน่งงานที่เป็นตำแหน่งที่ต้องการจะรับเข้าไปทำงาน
ในกรณีการคัดเลือกเป็นขั้นตอนงาน ที่แยกออกจากการมอบหมายภารกิจหน้าที่งานเช่นนี้การมอบหมายภารกิจและหน้าที่งานมักจะกระทำโดยการส่งตัวผู้นั้นไปยังผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานนั้น
แผนการประเมินผลโครงการปฐมนิเทศ
1. ท่านคิดว่าส่วนใดของโครงการปฐมนิเทศสำคัญที่สุดที่จะทำให้ท่านเข้าใจงานได้ดี (เลือก 1 ข้อ )
ก. ประวัติองค์การ
………………………………………………………………………………….
ข. โอกาสก้าวหน้าในงาน
………………………………………………………………………………
ค. มนุษยสัมพันธ์
…………………………………………………………………………………..
ง. ประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ
…………………………………………………………………………………..
จ. ระเบียบปฏิบัติ สำนักงาน
…………………………………………………………………………………..
ฉ. การอบรมเพื่อให้การเรียนรู้
…………………………………………………………………………………..
ช. การอบรมให้เกิดความชำนาญ
…………………………………………………………………………………..
2. ท่านคิดอย่างไร หลังจากที่ได้ทราบประวัติขององค์การ
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
3. หลังจากที่ได้เห็นโอกาสก้าวหน้าในงานแล้ว ท่านคิดว่าท่านอยากจะทำงานอะไรต่อไปในช่วงเวลา
1 ปี จากนี้
…………………………………………………………………………………..…
…………………………………………………………………………………..…
5 ปี จากนี้
…………………………………………………………………………………..…
…………………………………………………………………………………..…
และถ้าหากยังไม่ตัดสินใจเกี่ยวกับงานในอนาคต ขอให้บอกให้ทราบว่า เราจะช่วยท่านได้อย่างไร
…………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..………………………
4. ภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศแล้วท่านรู้สึกดีขึ้นหรือไม่อย่างไรในเรื่องต่อไปนี้
ที่
รายละเอียด
ดีขึ้น
ไม่ดีขึ้น
หมายเหตุ
1.
2.
3.
4.
การับและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
การรับและการแก้ปัญหานอกหน้าที่
เข้าใจปัญหาของหัวหน้างาน
เข้าใจข้อเท็จจริงว่าวิธีการช่วยแก้ปัญหาได้มีอยู่แล้ว
ผลประโยชน์ตอบแทนที่องค์การจัดให้ อะไรสำคัญที่สุดสำหรับท่าน ( ให้ยกมา 5 อย่าง จากลำดับที่ 1 - 5 )
ก. เงินเดือน ช. การลาพักผ่อน
ข. การประกันชีวิต ซ. สหกรณ์ออมทรัพย์
ค. สวัสดิการค่าเช่าบ้าน ฌ. การรักษาพยาบาล
ง. วันหยุด ญ. การอบรม
จ. การลากิจ ลาป่วย ฎ. ความปลอดภัย
ฉ. การศึกษาต่อ
6. การจัดปฐมนิเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานที่ได้มีส่วนช่วยท่านเข้าใจงานของท่านหรือไม่
( ) มีส่วนช่วย ( ) ไม่มีส่วนช่วย
7. แต่ละช่วงของการปฐมนิเทศท่านคิดว่าเวลาที่ใช้เหมาะสมหรือไม่
( ) เหมาะสม ( ) ไม่เหมาะสม
8. ท่านประเมินผู้ทำการปฐมนิเทศอย่างไร (ใส่เครื่องหมาย )
( ) ดีเลิศ ( ) ดี ( ) พอใช้ ( ) แย่
บอกเหตุผลด้วย………………………………………………..
9. ท่านได้สนใจต่อการปฐมนิเทศขนาดไหน ( ใส่เครื่องหมาย )
( ) สนใจอย่างมาก ( ) สนใจ ( ) สนใจอย่างผิวเผิน ( ) ไม่ค่อยสนใจ
จะอธิบายเหตุผลได้ไหม………………………………………………..
10. ท่านมีข้อเสนอแนะประการใดบ้าง ที่ช่วยสำหรับปรับปรุงการจัดปฐมนิเทศในครั้งต่อ ๆ ไป
…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
11. ท่านได้แนะนำเพื่อน ๆ ให้มาทำงานที่นี่ด้วยหรือไม่
( ) แนะนำ ( ) ไม่ได้แนะนำ
ที่เกิดจากการขาดการปฐมนิเทศ
ถ้าหากการปฐมนิเทศขาดหายไปไม่ได้กระทำ หรือกระทำแล้วไม่เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านภาวะจิตใจต่อคนงาน กล่าวคือทั้งความมั่นคง ความอบอุ่นและความพึงพอใจต่าง ๆ ของคนงานขาดหายไป ซึ่งมักจะทำให้หน่วยงานเกิดความกังวล ประหม่า ต่อต้าน ตลอดจนลาออกจากงาน
วิธีแก้ไขในเรื่องนี้จึงอยู่ที่การทำความรู้จัก ทำปฐมนิเทศให้ดี โดยมีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดความกังวลต่างๆ ที่เป็นปัญหาทางจิตใจของพนักงานที่เข้ามาใหม่เป็นสำคัญ
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากร ที่เข้ามาใหม่เหล่านี้จากการสัมภาษณ์คำถามโดยละเอียดกับหัวหน้าแผนกคนหนึ่งในบริษัท Texas Interments ในสหรัฐอเมริกาได้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคลากรใหม่ว่า
v ในวันแรกของการทำงานเป็นวันซึ่งมีแต่ความกระวนกระวายและวางตัวทำตัวไม่ถูก
v ไม่ว่าจะเป็นการทำอะไรก็ตามที่ทำโดยพนักงานใหม่รู้สึกว่าทุกอย่างล้วนแต่จะเป็นการเพิ่มปัญหาความกังวลให้กับเพื่อนร่วมงาน
v ความกังวลนี้จะมีอยู่นานตามสมควรสอดแทรกเข้าไปถึงขั้นตอนของกระบวนการอบรม
v การลาออกของพนักงานทีพึงจะรับเข้าใหม่นั้นปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความกังวลเป็นสาเหตุสำคัญ
v ผู้ทำงานใหม่มักจะลังเลที่จะซักถามปัญหากับหัวหน้างานของตน
v หัวหน้างานเกือบทุกคนต่างก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้และจากการสัมภาษณ์ถามปัญหากับหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางต่อไปอีก ก็ได้พบข้อมูลที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับหัวหน้างานเช่นเดียวกัน
v หัวหน้างานเองก็มีปัญหากังวลใจเช่นเดียวกับลูกน้องที่เข้ามาใหม่
v หัวหน้างานจะรู้สึกอึดอัดกับลูกน้องที่เข้าใหม่โดยเฉพาะกับคนที่เข้าใหม่ที่มีความสามารถและรอบรู้อะไรต่ออะไรมาก ๆ
v หัวหน้างานทั้งหลายมักจะตัดการสื่อความที่กระทำลงไปสู่ลูกน้องให้น้อยลงเพื่อจงใจที่จะหลีกเลี่ยงตัวเองให้ถอยห่างออกไป
v หัวหน้างานมักจะปกป้องและบันทอนมิให้มีการสื่อความหรือถามปัญหาขึ้น
v หัวหน้างานจะรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่งคือหลักการจูงใจที่เรียนมาจากชั้นเรียนนั้นไม่อาจนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนักวิชาการหลายท่านจึงได้ให้ความสนใจเพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ทางหนึ่งของการแก้ไขก็คือ การให้บุคลากรใหม่เข้าร่วมในรายการสัมมนาซึ่งวิธีการได้กำหนดขึ้นเพื่อพยายามให้สามารถลดความกังวลให้มีน้อยลงซึ่งเรื่องนี้นับว่าได้ผลบ้างตามสมควรที่การทำงานจะมีผลดีขึ้น
วิธีการอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดเตรียมองค์การให้พร้อมสำหรับบุคลากรใหม่ซึ่งวิธีการก็คือ
ก. การอธิบายให้ผู้เข้าใหม่ได้เข้าใจถึงบทบาทของตนที่จะต้องปฏิบัติ
ข. ขจัดข้อปัญหาที่อาจให้เกิดข้อเกรงกลัวต่อบุคลากรที่ทำงานอยู่เดิม
ค. จัดผู้คอยให้ความช่วยเหลือที่จะรับผิดชอบคอยช่วยพนักงานใหม่ในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งโดยวิธีนี้ผลผลิตในระยะแรก ๆ จะเป็นไปด้วยดี
วิธีการอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้วิธีการปรับให้กลมกลืนเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่า “ assimilation process “ ซึ่งจะจัดเตรียมโครงการโดยเอาวิธีการต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันและจัดทำเป็นแผนระยะยาว มุ่งให้ทั้งสามกลุ่มคือ หัวหน้างานทั้งหลายพนักงานเก่าทั้งหมดและคนเข้าใหม่ให้ประสานปรับตัวให้เข้ากันได้ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ กันที่จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการแก้ไขให้ปัญหาต่าง ๆ ลุล่วงไป
ลักษณะที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของแผนการปฐมนิเทศ
ข้อที่ปรากฏ 10 ประการต่อไปนี้ จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการปฐมนิเทศ ซึ่งถ้าหากแผนการปฐมนิเทศกระทำได้สำเร็จผลด้วยดี ผลที่ได้ก็ควรจะปรากฏดังนี้
1. บุคลากรใหม่จะรู้สึกมีความมั่นใจ และเกิดความมั่นคงทางใจ
2. บุคลากรเข้าใหม่ได้มีโอกาสพบปะฝ่ายจัดการระดับสูง หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน
3. มีความเข้าใจในเรื่องทั่วไปขององค์การ เช่น ประวัติ ภารกิจ กรอบหน้าที่รับผิดชอบ
4. ความเข้าใจและรู้ถึงจุดที่จะขอคำแนะนำช่วยเหลือเพื่อที่จะให้งานนั้นเสร็จ
5. ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องใช้ไม้สอยอุปกรณ์ที่มีอยู่และวิธีการดูแลรักษา
6. เข้าใจและคุ้ยเคยกับหน้าที่งานพื้นฐานและความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ของงานที่ทำอยู่กับงานอื่น ๆ และมาตรฐานผลงานที่หัวหน้างานกำหนดไว้และความคาดหมายที่หวังจะได้รับของหัวหน้างานนั้น
7. ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับเงื่อนไขการว่าจ้างและสภาพการทำงาน
8. ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ ที่จะได้รับการอบรมในหน้าที่งาน และโอกาสความก้าวหน้าที่จะได้รับ
9. ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแวดล้อมและลูกค้าขององค์การ
10. ความเข้าใจในนโยบายขององค์การ กฏ ระเบียบ ประเพณีและการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
การนำบุคคลเข้าสู่หน่วยงาน
การนำบุคคลเข้าสู่องค์การของราชการจะต้องยึดถือเอาระเบียบกฏหมายที่
เกี่ยวข้องหลายฉบับ ซึ่งมีข้าราชการอยู่สองประเภท คือ ข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือน การเข้าสู่ระบบข้าราชการต้องผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งมีเวลาทดลองเป็นระยะเวลาหกเดือน สำหรับข้าราชการพลเรือน และทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาหนึ่งปีสำหรับข้าราชการครู นับตั้งแต่วันที่บรรจุเข้ารับราชการโดยแยกปฏิบัติ ดังนี้
ข้าราชการครู
การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก.ค. กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู ตามหนังสือสำนัก ก.ค. ที่ ศธ.1304 (สนร) / ว 4 ลงวันที่ 5 กันยายน 2540 ซึ่งยกเลิกความเดิมของหนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ. 0504/ว 3 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2531 โดยกำหนดให้มีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการประเมินผลการทดลอง
ปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู
ด้วย ก.ค. ได้พิจารณาเห็นว่าในการดำเนินการมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ประกอบกับกฏ ก.ค. ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527) ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครูนั้น ควรให้ข้าราชการครูผู้ได้รับการบรรจุตามมาตรา 36 วรรคแรก และมาตรา 40 มีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค. กำหนดเพื่อให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ก.ค. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์
1.1 ให้ผู้ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูตามมาตรา 36 วรรคแรก และ
มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหนึ่งปี นับตั้งแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
1.2 ให้หัวหน้าสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาขั้นต้นมอบหมายให้ข้าราชการครูในสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคน ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแก่ข้าราชการครูซึ่ง
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำ เกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอน สื่อการสอน แบบวัดผล และประเมินผล แฟ้มสะสมงาน การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการปฏิบัติวิชาชีพครู
1.3 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจัดทำแผนการสอน สื่อการสอน แบบวัดผลและประเมินผลและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนที่สอน เพื่อประกอบการสอน และให้มีการบันทึกผลการสอนของวิชาที่สอน
1.4 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจัดเก็บรวบรวมผลการปฏิบัติงานให้เป็นระบบ โดยจัดเป็นแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.5 ให้คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยใช้แบบประเมินตามที่ ก.ค. กำหนด
1.6 ให้ข้าราชการครูซึ่งทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองตามแบบที่ ก.ค. กำหนด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาตนเองและประกอบการประเมินของคณะกรรมการด้วย
2. วิธีการ
2.1 ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 สั่งให้ผู้ซึ่งได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูตามมาตรา 36 วรรคแรก และตามมาตรา 40 ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
2.2 เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้รับทราบคำสั่งบรรจุและรับรายงานตัวข้าราชการครูแล้ว ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งข้าราชการครูในสถานศึกษานั้นจำนวน 1 คน เป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติวิชาชีพครูและให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ประกอบด้วยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นประธาน ข้าราชการครูอาวุโส หรือข้าราชการครู จำนวนหนึ่งคน และข้าราชการครูซึ่งเป็นพี่เลี่ยงอีกหนึ่งคนเป็นกรรมการ เพื่อประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการครู
2.3 ให้ข้าราชการครูซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ หรือให้ข้อมูลแก่ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประสานงานในการพัฒนาแก่ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2.4 ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ โดยให้ประเมินผลการปฏิบัติงานสี่ระยะ ระยะละสามเดือน
ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คณะกรรมการแต่ละคนประเมินโดยอิสระ และประชุมสรุปผล
ในการตัดสินของคณะกรรมการประเมินให้ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
2.5 ให้ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการประเมินตนเองเป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกับคณะกรรมการ โดยให้ประเมินตนเองแล้วเสนอคณะกรรมการเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
2.6 เมื่อคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งแล้ว ให้แจ้งผลสรุปให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2.7 เมื่อใดที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหนึ่งปี และได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครบที่กำหนดแล้ว ให้คณะกรรมการแจ้งผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบและหากจะต้องให้มีการปรับปรุงหรือพัฒนาประการใดก็ให้แจ้งให้ทราบด้วย เพื่อข้าราชการครูผู้นั้นจะได้ปรับปรุงหรือพัฒนา
เมื่อได้ดำเนินการเกี่ยวกับการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเรียบร้อยแล้ว ให้
หัวหน้าสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 เพื่อรายงาน ก.ค. ตามที่
กำหนดไว้ในกฏ ก.ค. ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527)
2.8 ในกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมหรือมีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงไม่สามารถให้รับราชการต่อไปได้ให้หัวหน้าสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 42 โดยด่วนเพื่อให้มีการดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการต่อไป
2.9 ให้ข้าราชการครูผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเก็บสำเนาสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและผลการประเมินตนเองไว้ในแฟ้มสะสมงานเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานในโอกาสต่อไป
ข้าราชการพลเรือน
1. การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ 3 ( พ.ศ. 2518 ) ทำการประเมินตลอดระยะเวลา 6 เดือนโดยให้ผู้บังคับ บัญชาจัดพี่เลี้ยงเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาแก่ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2. การประเมินผลให้สรุปผลการประเมิน 3 เดือนต่อครั้ง เมื่อทำการประเมินผลแล้วจะต้องแจ้งผลให้ประเมินแก่ข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบหากมีข้อบกพร่องมีสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ก็ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
3. แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ จะได้ประกอบการพิจารณาจัดทำรายงาน แล้วให้รายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ( ส่งแบบประเมิน ) ให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2 กรณี คือ
1. รายงานว่าควรให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติราชการปฏิบัติราชการในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งต่อไปได้ ( รายงานให้พ้นการทดลอง ) ให้หัวหน้าสถานศึกษารายงานเมื่อข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทดลองครบ 6 เดือนแล้ว
2. รายงานว่าควรให้ข้าราชการผู้ทดลองออกจากราชการ ( ไม่พ้นการทดลอง )
เพราะมีความประพฤติไม่ดี มีความรู้และความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้รายงานทันทีเมื่อมีเหตุไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องรอรายงานเมื่อครบ 6 เดือน และการรายงานได้ออกจากราชการที่จะต้องรายงานก่อน 6 เดือนโดยแสดงข้อมูลรายละเอียดเหตุผล ข้อเท็จจริงของความไม่เหมาะสมของข้าราชการผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ชัดเจนว่าไม่เหมาะสมด้วยเรื่องอะไร อย่างไร
ตามกฎหมาย ข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยรับราชการมาก่อน ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน่าที่และรับเงินเดือนหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการได้รับไปแล้วเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าช่วยเหลือบุตร และผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจะขอบรรจุกลับเข้ารับราชการไม่ได้ การสั่งให้ออกจากราชการตามนัยนี้ ต้องเป็นกรณีที่มีความประพฤติ ความรู้ ความสามารถ ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)