มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จุดมุ่งหมายในมาตรา 6 ได้กำหนดว่า
1. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
2. มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(essentialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญของลัทธิสารัตถนิยมในด้านของจุดมุ่งหมายของการศึกษามีลักษณะคือ
เพื่อทำนุบำรุงและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนรุ่นหลัง มิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป
เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
เพื่อให้ดารศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
เพื่อฝึกฝนให้ผุ้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้น เพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่ ให้รู้จักใช่เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่ การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด สามารถหาความหมายออกมาจากสิ่งที่ไร้ความหมาย ลัทธินี้ความเชื่อว่า ถ้าต้องการจะให้นักเรียนมีคุณค่า จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ะคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการสร้างให้คนรู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตเลือกและในสิ่งที่ตนทำนั้น หมายถึง การศึกษาต้องสร้างเด็กให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
4. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) แนวคิดหลักของการศึกษาแบบ พิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาการเด็กทุกด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ ในขณะที่นิรัตรนิยมเน้นความสามารถทางเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างไปกว่านั้น โดยมองว่าการศึกษาจะต้องการศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุด สิ่งที่เรียนที่สอนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียนมากที่สุด ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
5. ปรัชญาการศึกษา พุทธปรัชญา (buddhism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
5.1 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความงอกงามในขั้นธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
5.2 มุ่งให้พัฒนาสังคมได้ คือ มีความรู้ ความเข้าใจและใช้ปัญญาเกี่ยวกับเกณฑ์ของสังคม มีความร่วมมือกัน ตลอดจนเคารพนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยสอนให้เข้าใจในสาราณียธรรม 6 อปริหารนิยธรรม 7 และสัปปุริสธรรม 7
5.3 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลเพื่อจะได้นำการรู้จักคิดนี้ไปแก้ปัญหาในชีวิต
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้ตกพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยคำนึงถึง ปรัชญาทางการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปรารถนาของสังคมไทยโดยแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
1. มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
3. รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ
4. ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล
5. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)มีแนวความคิดเกี่ยวกับตัวนักเรียนและกระบวนการเรียนการสอน และตัวครู การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เดควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของเด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้ นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหาต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ยังอาศัยวิธีการของประวิติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุมถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการของปรัชญาการศึกษานี้พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.1. การเรียนการสอนเน้นที่ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
3.2. การเรียนการสอนควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน
3.3. ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.4. เด็กควรได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่ปรึกษา
3.5. เด็กควรได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจ ชักจูงใจ เช่นการใช้ภาพยนตร์ สไลด์ เชิญวิทยากร เป็นต้น
3.6. ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา หาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
3.7. ผู้เรียนควรได้รู้จักวางโครงการ ดำเนินโครงการ วิเคราะห์และประเมินโครงการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.8. ส่งเสริมประชาธิปไตยและความร่วมมือในการเรียนการสอน
3.9. การเรียนการควรเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกี่ยวพันกันตลอดเวลา
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) การฝึกให้เด็กได้รู้จักตนเอง สนใจตนเอง แลฃะเลือกทางเลือกของตนเองนั้นย่อมไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ตนเองเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย สำหรับกระบวนการเรียนการสอนนั้น สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง คือ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกและเลือกโดยอิสระ ซึ่งมีหลักเบื้องต้น 2 ประการ คือ
4.1 ฝึกให้เด็กมีความสามรถในการเลือกและตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
4.2 ฝึกให้เด็กเกิดความโน้มเอียงที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งตามที่ตนได้ตัดสินใจ
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำคัญทั้งสามข้ออาจอธิบายได้ดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ในหลักการข้อนี้หมายถึง รับจะต้องจัดและส่งเสริมให้เอกชนและทุก ๆ ส่วนของสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การกำหนดหลักการในข้อนี้ได้นำเอา มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณา แล้วกำหนดสิทธิของประชาชนในการจัดการศึกษาและให้องค์กรต่าง ๆ ในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยให้บุคคลได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ซึ่งกล่าวถึงหลักการไว้ดังนี้
1.1 การศึกษาคือชีวิต ทุกชีวิตจะต้องมีการศึกษาเพื่อดำรงชีวิตในสังคมมิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต การศึกษาไม่ได้ทำๆไปในอนาคต
1.2 การเรียนควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจโดยตรงทีเดียว ครูคอยแนะนำเด็กให้สนใจในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้นเท่านั้น เพราะครูมีประสบการณ์มากกว่าโดยเจริญเติบโตมาเต็มที่กว่า อยู่ในขอบข่ายเรียนโดยอาศัยวิธีแก้ปัญหา สำคัญกว่าเรียนจำเนื้อหาสาระต่าง ๆ
ในการบริหารงานตามปรัชญานี้ถือหลักคือ การร่วมมือกัน(participation and shaved authority) โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่ายมาร่วมกันปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงตามมติของคณะกรรมการ
บทบาทของผู้บริหารไม่มีผู้บงการหรือสั่งการแต่เพียงฝ่ายเดียว โรงเรียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน
การเลือกสรรกิจกรรมการเรียนการสอนต้องตามความสนใจของผู้เรียน การเรียนเน้นการประทำมากที่สุด โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดทั้งความคิด รับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหา และปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
3. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการทั้ง 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารงานการจัดการทางการศกึษาตามแนวปฏิรูป
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน นั้นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรปลีกตัวออกมาจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โรงเรียนจะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา ความพร้อม และเข้าใจสังคมอย่างดี พร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
2. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพที่เป็นจริงของชีวิต ได้แก่อริยสัจสี่ อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์และแก้ปัญหา
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคตโดยมีความเชื่อพื้นฐานไว้ 6 ประการ คือ
การกระทำที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความคิด เพราะจิตและกายเป็นของคู่กัน
มนุษย์สามารถสร้างพัฒนาการให้แก่ตัวเองได้ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนแปรไป (ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ Chars Darwin) สิ่งต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลกล้วนแต่อยู่ในวิสัยมนุษย์สามารถกระทำขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยอำนาจลึกลับ
มนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตและโชคชะตาของตนเอง เน้นความสำคัญของคุณค่าของแต่ละบุคคลมากขึ้น
ความเป็นจริงความแน่นอนไม่มีในโลกและไม่มีอะไรที่ตายตัวและสมบูรณ์ในตัวเอง
การค้นคว้าทดลองตามแนวทางวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและวิธีดังกล่าวไม่ยอมรับว่าอะไรถูกต้อง จนกว่าจะได้มีการทดลองเป็นที่แน่ใจแล้ว
เกี่ยวกับด้านคุณค่าหรือค่านิยมถือว่ามิใช่สิ่งตายตัว อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยกาลสมัย ตามสภาพของบุคคลและสังคม และเป็นที่ที่สามารถเปรียบเทียบ ทดสอบ และประเมินได้ด้วย
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ ในที่นี้นิรันตรนิยมเน้นความสามารถด้านเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างกว่านั้นโดยมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ในการจัดหลักสูตร ลัทธิภาวาทนิยมจะเน้นทางศิลปะ จรรยา มารยาท ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่าวิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155)
ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
(4) สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
(5) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านพฤติกรรม จิตใจ มีความคิดอ่านที่ถูกต้อง รู้จักแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อจบแล้วนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนมากขึ้นกระบวนของการศึกษาตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม กระบวนการบริหาร ปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ
3. ลัทธิปรัชยาอัตถิภาวนิยม ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มีความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคนต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้
โรงเรียนต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กผปฏิบัติตามและเด็กจะขาดเสรีภาพในการเลือก ปรัชญาสาขา Existentialism เป็นรากฐานของความเชื่อ และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ถือว่านักเรียนเป็นคนที่มีความสำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตน เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างกว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาแบบนี้มีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิตเป็นสำคัญ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยประสบการณ์ตรง ไม่มีหลักสูตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับครูและนักเรียน หลักสูตรจะควบคุมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ส่งเสริมการปฏิบัติทางด้านสังคม ศีลธรรม สติปัญญา อาชีพ และความสวยงาม จะเป็นเครื่องส่งเสริมประสบการณ์ร่วมของนักเรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่เน้นที่จะฝึกให้นักเรียนเป็นเลิศแต่เพียงด้านสมองหรือวิชาการเท่านั้น เพราะมนุษย์ทุกคนควรมีความเจริญงอกงามทุกด้านจึงจะช่วยให้สังคมส่วนรวมดีไปด้วย Progressivism มีความเชื่อในความแตกต่างระหว่างบุคคลเด็กแต่ละคนแผ่ขยายประสบการณ์ หลักสูตรแบบดั้งเดิม ไม่สนใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเน้นเรื่องเนื้อหาวิชาในการเรียนรู้ ดังนั้น Progressivism จึงต้องการหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด หลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากแนวปรัชญานี้ เช่น หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลและความรับผิดชอบของแต่ละคนที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะให้คนหลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ไม่ว่ากฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของพระเจ้า หรือบนประเพณีดั้งเดิมของสังคมทั้งหลาย
4. ลัทธิปฏิรูปนิยม เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต
5. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็กรู้จักคอยควบคุมตัวเองให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรได้สำเร็จในบั้นปลายได้ และการสร้างวินัยในตนเองนี้เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องอบรมเคี่ยวเข็ญให้มีขึ้นให้จงได้ ทฤษฎีนี้เน้นความสนใจของผู้เรียนน้อย เพราะถือว่าความสนใจมีลักษณะที่ไม่คงทน เริ่มต้นอาจมีความสนใจแต่เมื่อทำงานหนักเข้าจะเกิดความเฉื่อยชา หรือท้อถอยในที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะทำให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน ความสนใจก็จะเกิดขึ้นเอง
6. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ผู้เรียนโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้วด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
ในมาตรานี้กล่าวถึงนักเรียนเป็นผู้สามรรถเรียนรู้ได้ พัฒนาตนเองได้ และให้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นลัทธิที่มีความเชื่อว่านักเรียนเป็นคนที่สำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตนเอง เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
2. ปรัชญาการศึกษา พิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอน ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตัวเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำมากกว่าความรู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับแต่หรืออยู่เฉย ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม
3. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวว่า การเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้ยึดหลักวิชาที่ว่าด้วยสมรรถภาพ ที่เชื่อว่าสมองของมนุษย์นั้นประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนที่เป็นเหตุผล ส่วนที่เป็นความจำ และส่วนที่เป็นเจตจำนง ทั้งสามส่วนเป็นศูนย์รวมแห่งวุฒิปัญญา ดังนั้นการพัฒนาส่วนประกอบของสมองทั้งสามส่วนนั้นจึงเป็นหลักสำคัญ การเรียนการสอนที่จะพัฒนาวุฒิปัญญาวิธีการที่สำคัญคือการถกเถียงอธิบายการใช้เหตุผลสติปัญญาโต้แย้งกัน(ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2522:57)ผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำในการเสนอความคิด เป็นผู้นำในการอภิปราย ถกเถียง เป็นผู้คอยให้ความคิด และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิดและสติปัญญาของตนเองอย่างเต็มที่ (บรรจง จันทรสา. 2522 : 175) กล่าวถึงหลักการเรียนการสอนที่สำคัญของทฤษฎีการศึกษานี้ไว้สามประการ คือ ประการที่หนึ่งเรียนโดยอาศัยวุฒิปัญญาในการจดจำและหยั่งรู้ ประการที่สองสอนโดยการฝึกฝนท่องจำเพื่อพัฒนาวุฒิปัญญา และประการที่สามฝึกฝนการคิดอย่างมีเหตุผล ฝึกการเรียนหนักและทำงานที่ยาก ๆ เพื่อสร้างเจตจำนงที่แน่วแน่
3. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและประบปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้และทักษะคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในมาตรา 23 นี้ กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของหลักสูตรโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรตามระดับ ประเภท ของการศึกษา และความถนัดของบุคคล
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่าหลักสูตรควรประกอบด้วยเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นหรือการเปลี่ยนแปลง เน้นวิชาด้านศิลปศาสตร์ เพราะวิชาในข่ายของศิลปศาสตร์จะช่วยฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักเหตุผลและฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักใช้เหตุผลและฝึกฝนทางด้านสติปัญญาประกอบกันและโดยทั่วไปวิชาศิลปศาสตร์จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มศิลปทางภาษา ได้แก่ ไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกวิทยา ซึ่งฝึกฝนการใช้เหตุผล และกลุ่มศิลปทางคำนวณ ได้แก่ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี กลุ่มนี้มุ่งฝึกฝนสติปัญญาการจัดทำหลักสูตรกำหนดโดยผู้รู้ ส่วนการจัดลำดดับเนื้อหาวิชาเน้นวิธีการจัดลำดับเนื้อหาก่อนหลังของความถูกต้องทางวิชาการ ความรู้สาขานั้น ๆ ในปัจจุบันหลักสูตรที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มองเห็นเด่นชัด และจัดกันทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษา คือ หลักสูตรวิชาพื้นฐานหรือหลักสูตรการศึกษาทั่วไป และตามแนวคิดของนักการศึกษาแล้วมองเห็นว่า สถาบันอุดมที่ทำหน้าที่ในการผลิตครูจะเน้นหลักสูตรศิลปศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของการจัดการศึกษาเช่นกัน
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า หลักสูตร เนื่องจากปรัชญาสาขานี้ ไม่เน้นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมเหมือนกับสาขาก่อน ๆ แต่เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ในปัจจุบันและอนาคต หรือมาตรฐานความดีงามของสังคมก็จะต้องได้รับการทดสอบและปรับปรุงเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ การศึกษาจึงต้องส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย ประสบการณ์และความสนใจของคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่ได้รับใหม่และวิเคราะห์แล้ว
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า ในการจัดหลักสูตร ลัทธิอัตถิภววาทนิยมจะเน้นทางศิลปะ จรรยา มารยาท ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่าวิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155) ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
5. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หลักสูตรตามปรัชญษสาขานี้เป็นหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้องรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดีพอ มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และแนวทางในการแก้ไข โดยทั่วไปหลักสูตรในสาขานี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ คือ
กลุ่มปฐมนิเทศและสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ใกล้ตัวผู้เรียน ตามด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน และขยายออกไปถึงปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่กว้างออกไปจนถึงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นการขยายทัศนะของผู้เรียนให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านขอบเขตและความเป็นมา
กลุ่มเศรษฐกิจและการเมือง ศึกษาถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจและการเมืองในท้องถิ่นใกล้ตัวของผู้เรียน ทั้งในแง่ของสภาพปัจจุบันและความเป็นมา แล้วจึงขยายให้กว้างออกไปถึงสังคมโลกในจำนวนปีที่สูงขึ้น
กลุ่มทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ความแตกต่างของวิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคม เป็นต้น รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ
กลุ่มศิลปะ ชีวิตมนุษย์จะหนีจากศิลปะไปไม่ได้ เด็กควรจะได้เรียนศิลปะและเข้าใจกับบทบาทในชีวิตประจำวันและแนวทางในอนาคตควบคู่กันไปด้วย
กลุ่มการศึกษา เด็กควรได้เข้าใจ รู้จักบทบาทและกระบวนการต่าง ๆ ของการศึกษา รู้จักและวิเคราะห์สภาพการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ เป็นต้น
กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ วิชานี้ควรให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระหว่างวัฒนธรรมด้วย
กลุ่มเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณค่าและรูปแบบของวิธีการที่ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการและจุดมุ่งหมายควรสอดคล้องกัน
เนื้อหาในแต่ละกลุ่มในสภาพปัจจุบันและความเป็นมาพร้อมกันไป ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา และมองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจน และศึกษาจากสภาพที่ใกล้ตัวขยายออกไปถึงสังคมวงนอก นอกจากนั้นในแต่ละระดับก็จะจัดเนื้อหาให้มีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป ในระดับมหาวิทยาลัยควรจะเน้นการวิจัยเป็นพิเศษ
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์ก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม เป็นผู้มีความรุและทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้
(1) จัดเนื้อหาของสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยากรประเภทต่าง ๆ
(6) การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ลักทธิปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนว่า กระบวนการเรียนการสอน โรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เด็กควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของเด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงวิธีการเรียนของผู้เรียนว่า ผู้เรียนเโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้วด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และในด้านผู้สอนได้กล่าวว่า ผู้สอนตามทฤษฎีนี้จะต้องเป็นผู้รู้และเป็นผู้นำทางสติปัญญาแก่ผู้เรียน ต้องถือว่าผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผลและความดีอยู่ในตัวเอง ดังนั้นผู้สอนจึงต้องสร้างบรรยากาศเพื่อให้นักเรียนได้คิดหาเหตุผลและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยการเสนอความรู้ข้อคิดให้ผู้เรียนถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ผู้สอนยังมีหน้าที่ดูแลรักษาความเป็นระเบียบ วินัย ควบคุมความประพฤติของผู้เรียนไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้นักเรียนได้ใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ให้กับนักเรียนโดยตรง แต่ครูเป็นผู้เสนอความรู้ ความคิด เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาความคิด สติปัญญา บทบาทของผู้สอนตามทฤษฎีการศึกษานี้กล่าวได้ว่า ประการที่หนึ่ง ครูเป็นผู้นำทางสติปัญญา ประการที่สองครูเป็นผู้นำทางวิญญาณ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามและประการสุดท้ายครูเป็นผู้แนะนำควบคุมวินัยทางความคิดและความประพฤติของนักเรียน
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงตัวครู นักเรียนและโรงเรียนไว้ดังนี้ ครูในปรัชญาสาขานี้ ทำหน้าที่คือการเตรียม การแนะนำ และการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้ แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์ให้เด็กทำตามอย่าง หรือควรเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นจริงด้วยตัวเอง ลักษณะครูตามสาขานี้จะต้องมีบุคลิภาพดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก รู้จักดัดแปลงและปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ครูจะต้องเป็นผู้วางแผน ประสานงานให้เด็กสนใจและร่วมมือกันทำงานมากกว่าครูทำเสียเอง อย่างไรก็ตามครูก็ยังมีความรับผิดชอบและจะต้องดูแลความเรียบร้อย นักเรียน ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนมากขึ้น ในด้านกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม ด้าน กระบวนการบริหาร การบริหารปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ ด้านบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน ตามความเชื่อของปรัชญาสาขานี้ การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม แต่จะปรับปรุงหรือปฏิรูปไปในลักษณะไหนอย่างไรนั้น ก่อนอื่นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดีพร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียนไว้ดังนี้ ครู ในปรัชญาสาขานี้ ครูจะต้องเป็นนักบุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหา สนใจและใฝ่รู้ในเรื่องของสังคมและปัญหาสังคม อย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจัง ในขณะเดียวกันก็จะต้องสนใจในวิชาการควบคู่กันไป ครูจะต้องมีทักษะในการรวบรวม สรุป และวิเคราะห์ปัญหา (วิจัย) ให้ผู้เรียนเห็นได้ ในขณะเดียวกันก็แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักที่จะศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของสังคมรอบตัวได้ ลักษณะสำคัญของครูในปรัชญานี้อีกประการหนึ่งก็คือ มีความเป็นประชาธิปไตย ครูไม่ใช่ผู้รู้คนเดียว ไม่ใช่ผู้ชี้ทางแต่เพียงคนเดียว แต่ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และจะต้องเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทัศนะและหลักการ ถ้าพบว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิดหรือเข้าใจ นักเรียนในปรัชญากลุ่มนี้นักเรียนจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำความเข้าใจและ แก้ปัญหาของสังคม แต่จะต้องเป็นการแก้ปัญหาในแนวทางของประชาธิปไตย นักเรียนควรจะได้เรียนรู้และรับทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดและเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ว่าเด็กจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม และควรจะได้หาข้อสรุปอันเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและยุติธรรม
ในด้านกระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้ด้วย
สำหรับกระบวนการบริหาร กระบวนการบริหารก็จะต้องยึดหลักของการบริหารแบบประชาธิปไตยเป็นหลัก การบริหารการศึกษาจะต้องกระจายอำนาจ ไปอย่างแท้จริงให้ ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการปฏิรูปสังคมแต่ละกลุ่มนั้นคนที่อยู่ในสังคมนั้นเขาจะรู้เรื่องดีที่สุด การบริหารโรงเรียนก็จะต้องเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน โดยครู ผู้ปกครอง และนักเรียนจะต้องมีบทบาทในการวางแผนและดำเนินการโรงเรียนให้มากที่สุด เป้าหมายของโรงเรียนนี้ก็คือ โรงเรียนชุมชนที่แท้ที่ชุมชนมีบาบาทอย่างจริงจังสมบูรณ์ ส่วนบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และโรงเรียนไว้ว่า ครูมีหน้าที่เป็นเพียงคอยกระตุ้นหรือเร้าให้นักเรียนรู้จักตนเองให้สามารถหยิบยกความถนัดและความสามารถเฉพาะคนออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด จะต้องให้เสรีภาพแก่นักเรียน ต้องระลึกเสมอว่าผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา จึงต้องให้ความสนใจต่อผู้เรียนอย่างเต็มที่ สอนเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ในด้านผู้เรียน การฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง สนใจตนเอง และเลือกทางเลือกของตนเองนั้น ย่อมจะไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่นด้วย สิ่งที่ตนเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย
ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง คือให้นักเรียนมีโอกาสเลือกโดยอิสระ นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพทางศีลธรรมจรรยาสูญเสียไป ดังนั้น โรงเรียนที่มีความเชื่อตามลัทธินี้ นักเรียนจะทำงานร่วมกับครูเป็นรายบุคคล วิธีสอนเน้นหนักไปในทางกระตุ้นให้นักเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
ส่วนโรงเรียน ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มีความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคน ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้ โรงเรียนต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กผปฏิบัติตามและเด็กจะขาดเสรีภาพในการเลือก
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬานันทนาการ แหล่งข้อมูลแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) โรงเรียนจะไม่มีบทบาทในเชิงนำสังคม แต่จะเป็นเครื่องมือของสังคมเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมให้แก่เด็ก โรงเรียนเป็นเสมือนสถาบันอนุรักษ์วัฒนธรรมและถ่ายทอดวัฒนธรรมอยู่ในตัว โรงเรียนจึงต้องจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างพัฒนาทางความคิด และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี จัดสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ความจริงตามธรรมชาติขณะเดียวกันโรงเรียนจะต้องมีกฎ ระเบียบแบบแผนที่เด็กจะปฏิบัติตามเป็นแนวทางเดียวกัน
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) โรงเรียนมีบทบาทต่อสังคมโดยอ้อม เพราะเป็นทฤษฎีการศึกษาที่เน้นการพัฒนาตัวมนุษย์มากกว่าที่จะพัฒนาสังคม เมือมนุษย์ดีแล้วและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สังคมก็จะดีตามไปด้วยประดุจลูกโซ่ ดังนั้นโรงเรียนตามแนวคิดทฤษฎีนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางที่จะนำเด็กไปสู่สัจจะ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนควรเป็นไปในแนวทางที่จะช่วยให้เด็กล่วงรู้ถึงการมีอยู่ของสัจจะ บรรยากาศในโรงเรียนจึงควรเป็นในลักษณะที่จะให้เด็กตื่นตัว เป็นผู้รักสัจจะและมีสัจจะในตนเอง ด้วยเหตุนี้โรงเรียนจึงต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัยและการประพฤติปฏิบัติ
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม โรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดี
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconsteuctionism) การศึกษาควรช่วยพัฒนาหรือปฏิรูปสังคมหรือช่วยแก้ปัญหาของสังคมท่เป็นอยู่ การศึกษาต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่ไปกับตนเอง หลักสูตรจึงเน้นสังคมเป็นหลัก ครูที่ในทฤษฎีนี้ต้องเป็นผู้บุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจ ใฝ่รู้เรื่องปัญหาสังคมอย่างกว้างขวาง มีความเป็นประชาธิปไตย ส่วนนักเรียนจะต้องรู้จักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว วิธีสอนต้องให้เด็กรู้จักตนเอง ลงมือทำเองนิยมใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ และวิธีการแก้ปัญหามาใช้สอนนักเรียน จะต้องสอนทั้งทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติ หลักสูตรต้องสัมพันธ์วิชา
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
ให้สถานศึกษาใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม การศึกษาตามลัทธินี้มีลักษณะกระตุ้น เร้า และมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการสนใจของผู้เรียน เป็นการสนับสนุนการเจริญเติบโตของผู้เรียน เพื่อจะได้ดำรงชีพอย่างสมบูรณ์และสามารถปรับปรุงความประพฤติให้เข้ากับสภาพรอบตัวได้ และเป็นลัทธิที่กำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา การสอนแบบท่องจำ แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ การศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุกด้านไม่เฉพาะแต่สติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนสำคัญเท่ากับเนื้อหา ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์จะพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ถือว่าการศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต หลักสูตรจึงเน้นประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่ดีและเหมาะสมให้แก่เด็ก คอยดูแล แนะนำให้เด็กแสวงหาประสบการณ์ด้วยตนเอง มีอิสระที่จะคิด จะทำ การจัดหลักสูตรจะจัดเป็นโครงการต่าง ๆ ในรูปของปัญหา และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหา โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ การประเมินผลจะต้องนำเอาพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กเข้าร่วมด้วย ไม่เน้นที่จะวัดความเป็นเลิศทางวิชาการ
2. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระของหลักสูตรและบทบาทของครูผู้สอนไว้ดังนี้ หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
ในด้านผู้เรียน นั้นเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็กรู้จักคอยควบคุมตัวเองให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรได้สำเร็จในบั้นปลายได้ และการสร้างวินัยในตนเองนี้เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องอบรมเคี่ยวเข็ญให้มีขึ้นให้จงได้ ทฤษฎีนี้เน้นความสนใจของผู้เรียนน้อย เพราะถือว่าความสนใจมีลักษณะที่ไม่คงทน เริ่มต้นอาจมีความสนใจแต่เมื่อทำงานหนักเข้าจะเกิดความเฉื่อยชา หรือท้อถอยในที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะทำให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน ความสนใจก็จะเกิดขึ้นเอง (กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 74)
ส่วนผู้สอน ครูเป็นผู้ริเริ่มในด้านการเรียนการสอนและการศึกษาทั้งหมด เพราะครูเป็นผู้มีประสบการณ์มาก เป็นผู้รู้ดีกว่า และเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรกลั่นกรอง ได้รับการเตรียมและฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี บทบาทในด้านการเรียนการสอนจึงขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญครูที่เป็นนักสารัตถนิยม จะต้องสนใจในหลักความก้าวหน้า ว่าการเรียนรู้ไม่อาจจะสำเร็จได้จนกว่าการเรียนรู้นั้นจะประกอบขึ้นด้วยความสามารถ ความสนใจ และความมุ่งประสงค์ของผู้เรียน แต่ครูเชื่อว่าความสนใจและความมุ่งประสงค์เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับทักษะของครูผู้ซึ่งเป็นนายกองค์การ ที่จะต้องทำให้บุคคลในกองค์การของตนได้เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาการศึกษา (เมธี ปิลันธนานนท์ 2523 : 94) ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ( 2529: 66 )ได้สรุปบทบาทของครูตามแนวทฤษฎีนี้ไว้ดังนี้
ครูเป็นผู้รู้เนื้อหาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในห้องเรียน
ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนได้ดีที่สุด
ครูเป็นผู้ตัดสินว่านักเรียนคนใดรู้มากรู้น้อย
ครูเป็นผู้นำของห้องเรียนที่ฉลาดและรอบรู้
ครูเป็นผู้กำหนดมาตรฐานว่าการเรียนรู้จะมากน้อยเพียงไร
ครูเป็นแบบแผนและแม่พิมพ์ทางการศึกษา
ตามปรัชญานี้ ครูจึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างมาก ถ้าได้ครูดี การศึกษาจะดำเนินไปด้วยดี การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงเริ่มที่ครูก่อน
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง เป็นผู้ที่เข้มแข็ง มั่นใจในตัวเอง และเป็นตัวของตัวเองทั้ง ในความคิดและการปฏิบัติ ยึดถืออุดมการณ์ และปฏิบัติการภายหลังที่ได้ตรึกตรองจนเกิดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ อย่างไร้เหตุผล และเมื่อมั่นใจในการตัดสินใจแล้วก็มุมานะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม นักเรียนเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนให้ รู้จักเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำความเข้าใจและแก้ปัญหาของสังคม แต่จะต้องเป็นการแก้ปัญหาในแนวทางของประชาธิปไตยนักเรียนควรจะได้เรียนรู้และรับทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดและเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ว่าเด็กจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม และควรจะได้หาข้อสรุปอันเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและยุติธรรม
5. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์ให้เกิดสันติสุขในสังคม
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ในมาตรา 27 นี้ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบเป็นสองระดับ คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กำหนดวิชาแกนกลาง และสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตร ไว้ดังนี้ เนื่องจากปรัชญาสาขานี้ ไม่เน้นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคม แต่เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ในปัจจุบันและอนาคต หรือมาตรฐานความดีงามของสังคมก็จะต้องได้รับการทดสอบและปรับปรุงเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ การศึกษาจึงต้องส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย ประสบการณ์และความสนใจของคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่ได้รับใหม่และวิเคราะห์แล้ว ปรัชญาการศึกษาแบบนี้มีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิตเป็นสำคัญ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยประสบการณ์ตรง ไม่มีหลักสูตรที่สบบูรณ์แบบสำหรับครูและนักเรียน หลักสูตรจะควบคุมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ส่งเสริมการปฏิบัติทางด้านสังคม ศีลธรรม สติปัญญา อาชีพ และความสวยงาม จะเป็นเครื่องส่งเสริมประสบการณ์ร่วมของนักเรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่เน้นที่จะฝึกให้นักเรียนเป็นเลิศแต่เพียงด้านสมองหรือวิชาการเท่านั้น เพราะมนุษย์ทุกคนควรมีความเจริญงอกงามทุกด้านจึงจะช่วยให้สังคมส่วนรวมดีไปด้วย Progressivism มีความเชื่อในความแตกต่างระหว่างบุคคลเด็กแต่ละคนแผ่ขยายประสบการณ์ หลักสูตรแบบดั้งเดิม ไม่สนใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเน้นเรื่องเนื้อหาวิชาในการเรียนรู้ ดังนั้น Progressivism จึงต้องการหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด หลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากแนวปรัชญานี้ เช่น หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรควรประกอบด้วยเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นหรือการเปลี่ยนแปลง เน้นวิชาด้านศิลปศาสตร์ เพราะวิชาในข่ายของศิลปศาสตร์จะช่วยฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักเหตุผลและฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักใช้เหตุผลและฝึกฝนทางด้านสติปัญญาประกอบกันและโดยทั่วไปวิชาศิลปศาสตร์จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มศิลปทางภาษา ได้แก่ ไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกวิทยา ซึ่งฝึกฝนการใช้เหตุผล และกลุ่มศิลปทางคำนวณ ได้แก่ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี กลุ่มนี้มุ่งฝึกฝนสติปัญญาการจัดทำหลักสูตรกำหนดโดยผู้รู้ ส่วนการจัดลำดดับเนื้อหาวิชาเน้นวิธีการจัดลำดับเนื้อหาก่อนหลังของความถูกต้องทางวิชาการ ความรู้สาขานั้น ๆ ในปัจจุบันหลักสูตรที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มองเห็นเด่นชัด และจัดกันทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษา คือ หลักสูตรวิชาพื้นฐานหรือหลักสูตรการศึกษาทั่วไป และตามแนวคิดของนักการศึกษาแล้วมองเห็นว่า สถาบันอุดมที่ทำหน้าที่ในการผลิตครูจะเน้นหลักสูตรศิลปศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของการจัดการศึกษาเช่นกัน
3. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร ตามปรัชญาสาขานี้เป็นหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้องรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดีพอ มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และแนวทางในการแก้ไข โดยทั่วไปหลักสูตรในสาขานี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ คือ
3.1 กลุ่มปฐมนิเทศและสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ใกล้ตัวผู้เรียน ตามด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน และขยายออกไปถึงปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่กว้างออกไปจนถึงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นการขยายทัศนะของผู้เรียนให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านขอบเขตและความเป็นมา
3.2 กลุ่มเศรษฐกิจและการเมือง ศึกษาถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจและการเมืองในท้องถิ่นใกล้ตัวของผู้เรียน ทั้งในแง่ของสภาพปัจจุบันและความเป็นมา แล้วจึงขยายให้กว้างออกไปถึงสังคมโลกในจำนวนปีที่สูงขึ้น
3.3 กลุ่มทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ความแตกต่างของวิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคม เป็นต้น รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ
3.4 กลุ่มศิลปะ ชีวิตมนุษย์จะหนีจากศิลปะไปไม่ได้ เด็กควรจะได้เรียนศิลปะและเข้าใจกับบทบาทในชีวิตประจำวันและแนวทางในอนาคตควบคู่กันไปด้วย
3.5 กลุ่มการศึกษา เด็กควรได้เข้าใจ รู้จักบทบาทและกระบวนการต่าง ๆ ของการศึกษา รู้จักและวิเคราะห์สภาพการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ เป็นต้น
3.6 กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ วิชานี้ควรให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระหว่างวัฒนธรรมด้วย
3.7 กลุ่มเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณค่าและรูปแบบของวิธีการที่ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการและจุดมุ่งหมายควรสอดคล้องกัน
เนื้อหาในแต่ละกลุ่มในสภาพปัจจุบันและความเป็นมาพร้อมกันไป ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา และมองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจน และศึกษาจากสภาพที่ใกล้ตัวขยายออกไปถึงสังคมวงนอก นอกจากนั้นในแต่ละระดับก็จะจัดเนื้อหาให้มีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป ในระดับมหาวิทยาลัยควรจะเน้นการวิจัยเป็นพิเศษ
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมได้กล่าวถึงหลักสูตรว่า หลักสูตรที่ดีจึงต้องไม่เป็นสิ่งที่ตายแล้วหรือถูกกำหนดมาโดยผู้มีอำนาจแต่เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเองได้ดีขึ้นและมีขึ้นเพราะผุ้เรียนต้องการ
วิชาที่สอนในโรงเรียนจะต้องเป็นวิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากการเป็นหุ่นยนต์เช่น ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาวรรณกรรมทำให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ที่จำกัด งานร้อยแก้วร้อยกรองช่วยให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิต
สถานศึกษาควรมีเพียงห้องสมุด ห้องประชุม โรงพลศึกษา และสนามวิ่งเล่นในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำกิจกรรมผู้ที่พร้อมจะเรียนไปหาครูที่บ้าน หรือนัดพบที่ใดที่หนึ่ง จะมาคนเดียวหรือกับเพื่อน ไม่มีระเบียบของสถาบันมาครอบงำ
เนื้อหาจะมุ่งทางด้านศิลปศาสตร์ (Liberal Education) เป็นสำคัญ วิชาที่นักปรัชญาในกลุ่มนี้สนใจคือ มานุษยวิทยา (Humanities) เช่น กรีกในสมัยโบราณ วัฒนธรรมลาติน และวิชาทางด้านศิลปะ ซึ่งได้แก่ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เพราะนักปรัชญาเชื่อว่าวิชาเหล่านี้จะช่วยฝึกฝนมนุษย์ในด้านสุนทรียศาสตร์ อารมณ์ และฝึกศีลธรรมจรรยา ส่วนการให้ความสำคัญไม่ถือว่าวิชาใดสำคัญเป็นพิเศษกว่าวิชาใด ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองได้มาก ให้เกิดความพึงพอใจได้มาก และเข้าใจโลกได้มาก สาขาวิชานั้นย่อมเหมาะสม เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับจริยธรรม จะต้องไม่แตกต่างไปจากสิ่งที่นักเรียนจะถือประพฤติปฏิบัติอยู่ในห้องเรียนและชีวิตประจำวัน การจะให้นักเรียนปฏิบัติตามเนื้อหาของวิชาจริยธรรมได้นั้นการสร้างวินัยเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ
5. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม กล่าวว่า หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์ให้เกิดสันติสุขในสังคม
มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สารุสำคัญของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนในมีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
ในมาตรานี้ กล่าวถึงความหลากหลายและความสมดุลของวิชาชีพและวิชาการและลักษณะของวิชาชีพ วิชาการและการวิจัย
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงลักษณะของการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ได้พัฒนาทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญาและจิตใจ ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการเรียนอยู่บนรากฐานของความสนใจ ความต้องการอย่างแท้จริง ใช้วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ครูไม่ต้องบอก แต่เป็นเพียงผู้ช่วยให้นักเรียนหาสาเหตุ หาทางพิจารณาทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มี ตนเองและสังคม ดังนั้นกิจกรรมที่ใช้ในการสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต การอภิปราย ค้นคว้า การายงาน การเข้าร่วมอภิปราย การประชุม การวางแผน และการศึกษานอกสถานที่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความสามารถอย่างแท้จริง และได้รับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง
2. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์ให้เกิดสันติสุขในสังคม
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตัวเองอย่างเต็มที่ให้รู้จักใช้เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่
การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆได้อย่างชาญฉลาด สามารถ
สามารถหาความหมายออกจากสิ่งที่ไร้ความหมาย ลัทธินี้มีความเชื่อว่าถ้าต้องการจะให้นักเรียนมีคุณค่า จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการสร้างให้คนรู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือกและในสิ่งที่ตนทำนั้น หมายถึง การศึกษาต้องสร้างเด็กให้เป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
4. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ 5 ประการคือ
เพื่อทะนุบำรุง และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา(Buddhism) ให้เกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความ รับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) หลักสูตรจะควบคุมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ส่งเสริมการปฏิบัติทางด้านสังคม ศีลธรรม สติปัญญา อาชีพ และความสวยงาม จะเป็นเครื่องส่งเสริมประสบการณ์ร่วมของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(Existentialism) เป็นปรัชญาที่เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลและความรับผิดชอบของแต่ละคนที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะให้คนหลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ไม่ว่ากฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของพระเจ้า หรือบนประเพณีดั้งเดิมของสังคมทั้งหลาย
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต
5. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(Essentialism) ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า
6. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม(Perennialism) ผู้เรียนโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้วด้วยตนเอง
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) ได้กล่าวถึงลักษณะของการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ได้พัฒนาทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญาและจิตใจ ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการเรียนอยู่บนรากฐานของความสนใจ ความต้องการอย่างแท้จริง ใช้วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ครูไม่ต้องบอก แต่เป็นเพียงผู้ช่วยให้นักเรียนหาสาเหตุ หาทางพิจารณาทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มี ตนเองและสังคม ดังนั้นกิจกรรมที่ใช้ในการสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต การอภิปราย ค้นคว้า การายงาน การเข้าร่วมอภิปราย การประชุม การวางแผน และการศึกษานอกสถานที่
2. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(Existentialism) ให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตัวเองอย่างเต็มที่ให้รู้จักใช้เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่ การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆได้อย่างชาญฉลาด สามารถหาความหมายออกจากสิ่งที่ไร้ความหมาย จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น
3. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(Essentialism) มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ 5 ประการคือ
3.1 เพื่อทะนุบำรุง และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
3.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
3.3 เพื่อให้การศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
3.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
3.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
3.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
4 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมาก สรุปได้ละเอียด อ่านแล้วเข้าใจสุด สุด
เปรียบเทียบได้ดีมากครับ ขอบคุณวิทยาทาน
อยากทราบว่า ปรัชญาการศึกษาในพรบ.การศึกษา 2542 เน้นปรัชญาเรื่องใดมากที่สุดคะ
ขอบคุณมากที่ให้ความรู้ แล้วแหล่งที่มาของความรู้ล่ะ
แสดงความคิดเห็น