วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวคิดของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดเป็นการประเมินแนวใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปตามหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อที่อาจสรุปได้ ดังนี้(บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ ,2545: 21–27)
1. ไม่มีผู้เรียนกลุ่มใดจะใช้เป็นกลุ่มมาตรฐานให้ยึดถือเป็นมาตรฐานได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตน มีความถนัด ความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนและการประเมินจึงต้องสอดคล้องกับแต่ละบุคคลและแตกต่างกันไป
2. การประเมินทางตรงที่อิงการปฏิบัติด้วยเครื่องมือการประเมินที่หลากหลายจะสามารถประเมินความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมบูรณ์กว่า แม่นยำถูกต้องกว่า และได้ภาพพจน์ของความยุติธรรมมากกว่า
3. การให้ผู้เรียนจัดทำและรักษาปรับปรุงแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนซึ่งมีสารสนเทศจากการประเมินและทดสอบที่หลากหลาย จะสะท้อนภาพรวมทั่วไปของผู้เรียนได้ชัดเจน
4. การประเมินเป็นส่วนประกอบที่กลมกลืนกับหลักสูตร ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและตลอดหลักสูตรและการเรียนการสอนประจำวัน
5. การประเมินจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและคนอื่น ดังนั้นการประเมินผู้เรียนจึงต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ พ่อ แม่ เพื่อน ๆ และตัวผู้เรียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญ ทำให้กระบวนการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำ
6. หัวใจหลักของการประเมินคือ การประเมินผลวิธีการเรียนรู้ วิธีการคิดและวิธีการที่จะเป็นผู้มีสติปัญญา เป็นคนดี มีคุณธรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายเท่าที่จะทำได้
7. การประเมินกระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินเนื้อหาสาระหลักสูตร
8. ผู้เรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบและสามารถประเมินตนเองได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมในการวางแผนและการประเมินการเรียนรู้
9. หลักสูตรและเป้าหมายของสถานศึกษาถูกขับเคลื่อนโดยศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
10.การประเมินเพื่อแสดงความเจริญงอกงามของความรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างเชื่อถือได้จะใช้โค้งการแจกแจงคะแนนแบบรูปตัวเจ
11.นักการศึกษาใช้โมเดลพัฒนาการมนุษย์เพื่อความเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียน
12.ผู้เรียนแต่ละคนมีขั้นพัฒนาการที่ต่างกัน ดังนั้นการประเมินและทดสอบต้องเป็นแบบเฉพาะแต่ละบุคคลและมีความเหมาะสมกับพัฒนาการและให้สารสนเทศของวิธีการที่จะนำมาสอนผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีความสำเร็จมากขึ้น
13.การสร้างแบบประเมินและแบบทดสอบนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ประสิทธิภาพของเครื่องมือไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ถ้าการประเมินนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้
14.การประเมินเน้นการใช้เพื่อเพิ่มและเสริมกำลังใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลุ่มลึก และเพื่อขยายความสามารถของผู้เรียนให้ถ่ายโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงนอกระบบโรงเรียน
15.เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุง ดังนั้นงาน/กิจกรรมที่ใช้ประเมินจึงเปิดเผย ไม่เป็นความลับ
16.เป็นการเรียนรู้ที่เน้นที่สติปัญญา ความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของทักษะความคิด และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาหลักสูตรกับชีวิตจริง มีลักษณะเป็นพลวัต
17.ความก้าวหน้าทางวิชาการควรประเมินด้วยการนำการปฏิบัติที่อิงการวิจัยและเป็นปัจจุบันเข้ามาผสมผสานกับองค์ประกอบทางจิตวิทยาและด้านความคิด และความแตกต่าง ความต้องการของแต่ละบุคคล
18.การเรียนรู้เป็นเรื่องของดุลยพินิจของบุคคลที่จะรับรู้เข้าใจตนเองและโลกภายนอกซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ขยาย เจาะลึก และเสริมต่อ
19.การสอนที่ประสบความสำเร็จ คือการตระเตรียมผู้เรียน เพื่อมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นจะเน้นการประเมินเพื่อการเรียนการสอนมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตนอกห้องเรียนเข้าสู่ชีวิตประจำวัน

หลักการพื้นฐานสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้สามารถนำหลักการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นมาใช้ประโยชน์ได้ กล่าวคือ หลักการของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้วัดและประเมินควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินได้ชัดเจน เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสม ใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพ มีข้อมูลที่ดีและครอบคลุม แปลผลได้ถูกต้อง มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และใช้ผลการวัดและประเมินให้คุ้มค่า แต่อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวนี้เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและเครื่องมือของการวัดและประเมินผลมากกว่าตัวบุคคล และกระบวนการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หากพิจารณาถึงการจัดการศึกษาตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว จะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของมาตราที่ 26 ในวรรคหนึ่งระบุว่า ให้สถานศึกษาจัดการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบ การศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินการเรียนรู้จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ในเรื่องนี้ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2543: 27–38) ได้นำเสนอหลักการของการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
1. ต้องการความคิดที่ชัดเจนและสื่อสารเข้าใจ หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนต้องมีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของความสำเร็จทางวิชาการในชั้นเรียน กล่าวคือ การที่จะบอกว่าผู้เรียนคนใดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากน้อยเพียงใดนั้น ผู้สอนไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะแต่เพียงปริมาณของจุดหมายของผลสัมฤทธิ์ที่นิยามการใช้คะแนนบอกผลการประเมินเท่านั้น จำเป็นต้องทราบว่าตัวเลขไม่ใช่วิธีการเพียงวิธีเดียวในการบอกความหมายของผลสัมฤทธิ์ เราสามารถใช้คำ ภาพ การแสดง ตัวอย่างและวิธีการอื่น ๆ ในการสื่อความหมายของผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ตัวผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบได้
2. ต้องเป็นการประเมินในระดับชั้นเรียน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรเป็นการประเมินระดับชั้นเรียนที่สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าเป็นการประเมินมาตรฐานความรู้ระดับกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เนื่องจากการประเมินที่กล่าวมานี้เป็นการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน ผลการดำเนินการของผู้สอนที่ทำการประเมินควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้เรียน ผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบการประเมินเพื่อให้สถานศึกษานั้น ๆ มีประสิทธิภาพ
3. ผู้ใช้ผลการประเมินที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียน หลักการนี้กล่าวว่า สารสนเทศของการประเมินในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นหลักฐานความสำเร็จของผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากผู้สอนได้ทำการประเมินในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นที่เป็นพลังอันสำคัญทำให้ผู้เรียนเห็นความสำเร็จของตนและคาดหวังความสำเร็จที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย
4. จุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมิน หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้สอนจะต้องรู้และเข้าใจจุดหมายของการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับผู้เรียน จึงจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการประเมินนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
5. การประเมินเป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง หลักการนี้กล่าวว่า ผู้สอนจะต้องมีความคิดรวบยอดว่าการประเมินเป็นกระบวนการเดียวกับการเรียนการสอน การประเมินสามารถเป็นเครื่องมือของการสอนที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์งานที่ส่งผลต่อจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะทำการประเมินตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีมาตรฐาน
6. ต้องเข้าใจความรู้สึกส่วนบุคคล หลักการนี้กล่าวว่า เนื่องจากการประเมินเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดในลักษณะของปุถุชนที่สามารถเกิดความลำเอียงเข้าข้างตนเองและบุคคลที่รักได้ แต่ผู้สอนควรจะมีจุดยืนที่ต้องใช้วิธีการประเมินที่เป็นปรนัยให้มากที่สุด ควบคุมความลำเอียงที่เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวให้น้อยกว่าความคิดเห็นเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์การประเมินต้องมีคุณภาพ หลักการนี้กล่าวว่า การประเมินที่มีคุณภาพสูงมีเกณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของการประเมินอยู่ 5 ประการ คือ จุดมุ่งหมายของการประเมินต้องชัดเจน จุดหมายของการเรียนการสอนต้องชัดเจน ใช้วิธีการที่เหมาะสม สุ่มตัวอย่างการปฏิบัติได้ดี และการประเมินต้องแม่นยำปลอดจากความลำเอียงและสิ่งที่บิดเบือน ผลของการประเมินที่เกิดจากการใช้มาตรฐานทั้ง 5 ประการนี้จะทำให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ตรงกับธรรมชาติของสิ่งที่มุ่งประเมินซึ่งถือว่าเป็นผลการประเมินที่มีคุณภาพนั่นเอง

3 ความคิดเห็น:

ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กล่าวว่า...

ฝากความคิดเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ถึงการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การพูดถึงการประเมินจะไม่พูดถึงการจัดการเรียนรู้ไม่ได้เลย จึงเสนอแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญว่า

"เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนยอมรับว่าเป็นบทบาทของตนเอง ครูก็ยอมรับว่าเป็นบทบาทของนักเรียน ส่วนครูมีหน้าที่สนับสนุนให้ผู้เรียน

1. ค้นหาสิ่งที่อยากจะเรียนด้วยตนเอง และครูควรยอมรับและตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นนั้นอย่างเหมาะสม สิ่งที่ได้คือ "สาระที่จะเรียนรู้"
2. ให้ผู้เรียนคิดหาวิธีการหาความรู้(เก็บข้อมูล)ในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้มาด้วยตนเอง หรือร่วมกันคิดเป็นกลุ่ม สิ่งที่ได้ ก็คือ "แผนการเรียนรู้" อาจมีการพิจารณาร่วมกับครูเพื่อปรับแนวทาง หรือแผนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เหมาะสม ปฏิบัติได้มากที่สุด
3. สนับสนุนให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามแนวทางหรือแผนที่ตนเองคิดอย่างเต็มความสามารถ พร้อมกับการสำรวจ สังเกต บันทึกข้อมูลทุกอย่างที่ปฏิบัติ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็น "กิจกรรมการเรียนรู้"

วิเคราะห์ สังเคราห์ ข้อมูลที่ได้เพื่อสร้างองค์ความรู้เล็กๆ ที่น่าจะทำได้ พร้อมกับฝึกสรุปการเรียนรู้ที่ได้ทั้ง ความคิดเบื้องต้นของการอยากเรียนรู้เรื่องนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ วิธีการนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบใด และน่าจะสรุปได้อย่างไร?
4. ฝึกหัดการเขียนสรุปผลและรายงานโดยอาศัยย่อหน้าสุดท้าย ก่อนถึงข้อ 4 นี้ ปรับแก้ร่วมกับครูภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมฯ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ใช่การสอนแบบบูรณาการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลการเรียนรู้ที่แท้จริง ทั้งข้อดี ข้อบกพร่อง มองเห็นชัด หาทางแก้ไขได้ง่าย หรือ สาระที่นักเรียนได้แสดงให้เห็นว่าเรียนรุ้แล้ว หรือสาระที่นักเรียนเรียนรู้แล้วจริง

คราวนี้ ก็น่าจะต้องกล่าวถึงการประเมินผลได้แล้ว

การประเมินผลที่ดีต้องประเมินได้ตรง โดยตรงกับสิ่งที่ประเมิน เช่น อยากรู้ว่านักเรียนอ่านหนังสือได้ไหม ก็ให้นักเรียนอ่านให้ฟัง ที่เราเรียกกันว่า "ประเมินตามสภาพจริง" งัย ไม่ใช่ใช้แบบทดสอบอันเป็นการประเมินโดยอ้อม ว่าคำนี้อย่างอย่างไร ซึ่งนักเรียนนอกจาก อ่านได้เพียงบางคำที่เอามาสอบแล้ว ยังต้องอ่านคำอ่านอีก ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะอ่านได้หรือไม่ และเลือกกาคำตอบเป็นไหม ทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้มาก

ดังนี้น การประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัย มีดังนี้

ก. ประเมินตามที่ตาผู้ประเมินมองเห็น หรือสัมผัสได้โดยตรงหรือแอบดู ที่เรียกกันว่า การสังเกต ซึ่งมักใช้ประเมินเพื่อ ตรวจผลงาน วิธีการทำงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการปฏิบัติต่อผู้อื่นในการทำงาน

ข. ประเมินตามที่ได้ยินจากปากของผู้เรียนเอง โดยตรง หรือแอบฟัง มักเรียก การสัมภาษณ์ ประเด็นสัมภาษณ์ควรเป็นคำถามที่ต้องใช้สติ และปัญญา ระดับสูงกว่า ความจำ การสังเกต การสำรวจ เพื่อดึงศักยภาพทางเหตุ และผล ความสัมพันธ์ของเหตุและผล ผลกระทบที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมจากงานที่ปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติของตนเองและกลุ่ม เป็นต้น

และ โดยเฉพาะความรู้สึกที่แท้จริงต่อทุกสิ่งในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน มักใช้สำหรับค้นหา ความคิด ความเข้าใจ วิธีการทำงานเมื่อเทียบกับที่วางไว้ การจะนำไปใช้ แม้แต่การประเมินผลงานของตนเองตามการรับรู้ของเขาเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่เขาหรือกลุ่มของเขาได้วางไว้

ค. ประเมินตามที่สัมผัสได้จริง ก็เป็น การตรวจผลงาน ที่เขาหรือกลุ่มของเขาปฏิบัติสำเร็จ หรือกระตุ้นให้ประเมินตนเอง หรือประเมินกันเองในกลุ่ม ในสองประเด็น คือ มีอะไรที่ดีแล้ว และมีอะไรที่ยังไม่ดี และจะแก้ไขอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตลอดเวลา ก็จะเป็นประโยขน์ยิ่งขึ้น
ง. สังคมมิติ เพื่อตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรบางประการในการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือผลกระทบที่จะมีต่อผู้เรียนอื่นในการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม

วิธีการประเมินเหล่านี้ ก็ต้องนำไปใช้ในทุกกิจกรรมของกระบวนการปฏิบัติงานของผู้เรียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปออกแบบทดสอบ มาสอบวัด เพราะแบบทดสอบมีกระบวนการมากมาย และตรวจสอบได้ตรงประเด็นค่อนข้างยากมาก

การสัมภาษณ์น่าจะได้ผลดีและตรงกว่าแบบทดสอบ และเป็นกระบวนการที่มุ่งผลอย่างเดียวกัน แต่ต่างกันในการปฏิบัติ ต่างที่ความสะดวก และความพร้อมที่จะนำมาใช้ และการตรวจให้คะแนน เท่านั้น

ดังนี้น การประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงเป็นการประเมินให้ตรงกับสภาพจริง ว่า นักเรียนคิดจะทำอะไร คิดจะทำอย่างไร ทำได้อย่างเหมาะสม มีทักษะหรือไม่? ผลออกมาเป็นอย่างไร ตรงกับที่ต้องการไหม? เขาจะแก้ปัญหาอย่างไร? ผลงานจะดีขึ้นไหม? เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาหรือไม่?

และหากครูประเมินตาม ประเด็นในย่อหน้าก่อนนี้ คะแนนที่ได้ก็จะเป็นการประเมินที่อิงพัฒนาการ(ไม่ใช่การประเมิน จาก 0 เสมอ เช่น การใช้แบบทดสอบ) จึงช่วยให้คะแนนสะท้อนสภาพจริงของนักเรียน เข่น นักเรียนทำได้ถูกต้อง ดี ตามเวลา ก็ต้องใด้ผลสัมฤทธิ์ดี ใครทำถูกต้อง และดี แต่ไม่ตามเวลา ก็อาจจะย่อหย่อนลงไป และยังรู้ว่านักเรียนคนใดทำงานช้า อีกด้วย นี่คือการประเมิน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ที่ให้ "การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้" อย่างยิ่ง

Unknown กล่าวว่า...

In this fashion my partner Wesley Virgin's story begins with this SHOCKING and controversial video.

As a matter of fact, Wesley was in the army-and soon after leaving-he unveiled hidden, "SELF MIND CONTROL" tactics that the CIA and others used to obtain everything they want.

These are the exact same secrets tons of celebrities (especially those who "became famous out of nowhere") and the greatest business people used to become wealthy and successful.

You probably know that you utilize only 10% of your brain.

Mostly, that's because the majority of your BRAINPOWER is UNCONSCIOUS.

Maybe this thought has even taken place INSIDE OF YOUR own mind... as it did in my good friend Wesley Virgin's mind about 7 years ago, while riding an unlicensed, beat-up trash bucket of a car without a driver's license and with $3 on his banking card.

"I'm absolutely frustrated with living payroll to payroll! When will I become successful?"

You took part in those types of questions, right?

Your own success story is going to happen. Go and take a leap of faith in YOURSELF.

CLICK HERE To Find Out How To Become A MILLIONAIRE